ร่วมรณรงค์ ‘หยุดซื้อ-หยุดขายมือถือปลอม’

ร่วมรณรงค์ ‘หยุดซื้อ-หยุดขายมือถือปลอม’
โนเกียเดินหน้ารณรงค์ให้ผู้ซื้อหลีกเลี่ยงมือถือปลอม รวมทั้งผู้ขายให้หยุดขายโทรศัพท์มือถือปลอม จัดสัมมนาสื่อมวลชน พร้อมเผยมาตรการทางกฎหมาย เพื่อรับมือกับสถานการณ์มือถือปลอมที่ยังคงระบาดในเมืองไทยอย่างหนักหน่วง
อะไรบ้างที่เข้าข่าย ‘มือถือปลอม’?
- โทรศัพท์มือถือที่ใช้ตราสินค้า Nokia โดยใช้ชื่อรุ่นที่มีอยู่จริงในตลาด และสร้างรุ่นขึ้นมาเอง เช่น Nokia N99
- โทรศัพท์มือถือที่ใช้ตราสินค้าใกล้เคียงคำว่า Nokia โดยเจตนาสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค เช่น Nckia Nokla Nokai
- โทรศัพท์มือถือที่ใช้ตราสินค้าอื่นๆ แต่มีรูปลักษณ์ที่ลอกเลียนจากโนเกีย โดยเจตนาสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค
ช่องทางและวิธีการจำหน่ายแบบ ‘ลับ-ลวง-พราง’
- ใช้ช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของตนเอง โดยรับโอนเงินจากผู้ซื้อ แล้วจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
- ใช้ช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของผู้อื่น รวมทั้งเว็บศูนย์กลางการซื้อขายต่างๆ
- จำหน่ายในตู้ขายสินค้าขนาดเล็ก ปะปนกันทางของจริงและของปลอม
- จำหน่ายในร้านขายโทรศัพท์มือถือทั่วไป
ระวัง...คำกล่าวอ้างยอดฮิต!
- ผู้ค้าหลายคนอ้างว่าเป็นสินค้าราคาขายส่ง จึงมีราคาถูก
- ผู้ค้าหลายคนอ้างว่าเป็นสินค้านำเข้า จึงมีรุ่นใหม่ที่เมืองไทยยังไม่ขาย เช่น Nokia N99
- แอบอ้างว่าสามารถใช้บริการศูนย์โนเกียได้ แม้จะเป็นของปลอม
เคล็ดลับจับผิดมือถือปลอม
- สงสัยไว้ก่อน หากพบความผิดปกติดังนี้ และอย่าหลงเป็นเหยื่อคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จ
- ไม่มีโลโก้โนเกีย
- เป็นรุ่นที่โนเกียไม่เคยประกาศ
- ไม่มีสติ๊กเกอร์โฮโลแกรมบนแบตเตอรี่
- ไม่มีใบรับประกันสินค้า
- ราคาแตกต่างจากที่ร้านโนเกียช้อปมาก
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้มือถือปลอม
- แบตเตอรี่ระเบิด แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญของโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ที่มีคุณภาพจะมีการติดตั้งวงจรป้องกันการลัดวงจร ส่วนแบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตรฐานจะใช้วัสดุคุณภาพต่ำเพื่อลดต้นทุนในการผลิต อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ระเบิด ไฟลุกไหม้ขณะชาร์จ ความร้อนอาจทำให้แบตเตอรี่บวม เสื่อมเร็ว แม้กระทั่งการจ่ายไฟที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้โทรศัพท์เสื่อมเร็ว หรือระบบทำงานไม่ปกติ เป็นต้น
- กระแสไฟฟ้ารั่ว เพราะไม่มีระบบป้องกันที่ได้มาตรฐาน
- ค่า SAR สัญญาณวิทยุจากโทรศัพท์มือถือ ที่อาจมีระดับสูงเกินความปลอดภัย และเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์