ผลจากสงครามสหรัฐ-อิรักจะมีผลอย่างไรต่อธุรกิจไอที

ผลจากสงครามสหรัฐ-อิรักจะมีผลอย่างไรต่อธุรกิจไอที

ผลจากสงครามสหรัฐ-อิรักจะมีผลอย่างไรต่อธุรกิจไอที
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฐานเศรษฐกิจ : หยั่งท่าทีบิ๊กวงการไอทีหลังมะกันเปิดฉากถล่มอิรัก "อินเทล"เชื่อความรุนแรงแห่งไฟสงครามกระทบภาคธุรกิจโดยตรง แต่ย้ำปฏิบัติการที่จบสั้นไม่ระคายผิวธุรกิจด้านนี้ เผยยังต้องทำการค้าต่อ หวังยอดโตแบบทรงตัว 30% ขณะที่ยักษ์สีฟ้า "ไอบีเอ็ม" ถูกบริษัทแม่สั่งห้ามให้ข่าว ยันเดินหน้ากลยุทธ์สร้างสินค้าใหม่ต่อเนื่อง "เอชพี" ระบุไม่เล่นตามกระแสและไม่ปรับแผนธุรกิจเด็ดขาด ด้าน "ซัน" ประกาศชัดรักษาอัตราการเติบโต 20-30% พร้อมคงแผน ธุรกิจเดิมไม่เปลี่ยนแปลง การบุกโจมตีกรุงแบกแดดชนิดเฉียบพลันและเหนือความคาดหมาย ตามที่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประกาศไว้ก่อนหน้า แม้ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ผิดไปจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จากสถาบันต่างๆ แต่ก็สร้างเซอร์ไพรส์ได้ไม่น้อยกับปฏิบัติการยามรุ่งสางเช่นนี้ และเมื่อสงครามก่อตัวขึ้นมาแล้ว ก็ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าผลกระทบข้างเคียงจะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราลองมาดูความคิดเห็นของผู้บริหารในธุรกิจไอทีเพื่อหยั่งท่าทีและปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ "อินเทล" ยันไม่หวั่นสงคราม เชื่อธุรกิจยังโตแบบทรงตัว นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของตนเองจากภาวะสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ แต่ก็ยอมรับว่าสงครามระหว่างสหรัฐกับอิรักจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างแน่นอน เนื่องจากสงครามเป็นเรื่องที่นอกเหนือการควบคุมของภาคธุรกิจ และผลกระทบจากสงครามจะมากหรือน้อยนั้นคงขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการปฏิบัติการของทั้งสองฝ่าย "ผมขออนุญาตที่จะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเซนซิทีฟ แต่เชื่อว่าผลจากสงครามจะกระทบต่อภาคธุรกิจในวงกว้างอย่างแน่นอน ซึ่งเราเองก็ได้ติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด" นายเอกรัศมิ์กล่าวพร้อมย้ำว่า เนื่องจากหลายฝ่ายประเมินกันว่าภาวะของสงครามครั้งนี้จะมีระยะเวลาที่สั้น ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อแผนธุรกิจของบริษัท และเชื่อว่าผลประกอบการของบริษัทจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากยอดขายสินค้าของบริษัทคงไม่ลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน นายเอกรัศมิ์สำทับว่า อัตราการเติบโตของบริษัทอินเทลประเทศไทยในปี 2546 นี้จะทรงตัวอยู่ที่ 30% เมื่อเทียบกับผลประกอบการของบริษัทในช่วงปี 2545 ที่เติบโตประมาณ 30% เทียบกับปี 2544 ทั้งนี้เพราะปีนี้บริษัทได้ดำเนินแผนธุรกิจเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเปิดตัวอินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยี ซึ่งรวมเอาโมบายโพรเซสเซอร์ตัวใหม่ ชิป เซตที่เกี่ยวข้อง และระบบเครือข่ายไร้สาย 802.11 มาใช้งานร่วมกับโน้ตบุ๊กทำให้มีประสิทธิภาพการใช้งานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพด้านการติดต่อสื่อสารและความบันเทิง ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้จะทำให้โน้ตบุ๊กมีขนาดเล็กลงและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ "ไอบีเอ็ม" เดินหน้าคลอดสินค้าใหม่ เช่นเดียวกับนายทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอบีเอ็มประเทศไทย จำกัด ที่กล่าวปฏิเสธให้ความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้นได้ โดยให้เหตุผลว่า เป็นนโยบายของบริษัทแม่ที่งดให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องสงคราม อย่างไรก็ตามในแง่การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด สำหรับนโยบายของไอบีเอ็มประเทศ ไทยที่จะมุ่งไปในปี 2546 นั้นจะประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1. การที่ทำให้ไอบีเอ็มครองความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมไอทีต่อไปในตลาด โดยอาศัยความได้เปรียบในธุรกิจ ทั้งการเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ออกสู่ตลาด การมีศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. การให้ทีมงานภายในบริษัทมุ่งสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ไอบีเอ็มมีโปรแกรมที่จะกระตุ้นให้พนักงานสร้างศักยภาพการทำงานกับลูกค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และ 3. การสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร เพื่อให้พนักงานภายในองค์กรทุกคนเกิดแรงผลักดันที่สร้างสรรค์งานออกมาให้ดีที่สุด จากการปรับเปลี่ยนเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับการทำงานให้เพิ่มสูงขึ้น "เอชพี" เผยไม่คิดปรับเป้ายอดขายลง ขณะที่นายอโนทัย เวทยากรผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันว่า แม้ว่าขณะนี้จะเกิดภาวะสงครามแต่บริษัทไม่มีนโยบายปรับแผนธุรกิจ และปรับยอดขายลงมาแต่อย่างใด เนื่องจากได้วางแผนธุรกิจและตั้งยอดขายในครึ่งปีแรกไว้ตั้งแต่ต้นปี ส่วนในครึ่งปีหลังนั้นจะมีการปรับแผนหรือปรับลดเป้าตัวเลขยอดขายลงมาหรือไม่นั้น คิดว่าขณะนี้ผู้บริหารระดับสูงกำลังติดตามสถานการณ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสงครามอยู่สำหรับเรื่องมาตรการป้องกันการก่อการร้ายภายหลังภาวะสงครามนั้นขณะนี้ไม่มีมาตรการอะไรออกมาเป็นพิเศษ เนื่องจากเอชพีไม่ใช่บริษัทอเมริกันเพียงแห่งเดียว โดยยังมีบริษัทอเมริกันอีกเป็นจำนวนมากในประเทศไทย และมองว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ขณะเดียวกันที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายขึ้นบริษัทก็มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศมาตลอดเพื่อวางมาตรการป้องกัน "ซัน" เชื่อบริษัทโตต่อ 30% นายสรรพัชญ โสภณ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวให้ความเห็นว่า ขณะนี้บริษัทแม่ได้มีการส่งข้อความให้บุคลากรที่มีอยู่ทั่วโลก ให้ความระมัดระวังในการเดินทางเท่านั้น ส่วนการป้องกันการก่อการร้ายที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากสงครามยังไม่ได้รับคำสั่ง หรือมาตรการป้องกันจากบริษัทแม่แต่อย่างใด โดยมองว่าเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือบริษัทของอเมริกันที่มีอยู่ทั่วโลกแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมองว่าภาวะสงครามที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบกับธุรกิจไอทีไม่มากนัก เนื่องจากหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ส่วนในแง่ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนั้นบริษัทยังไม่จำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจแต่อย่างใด และมั่นใจว่าในปีนี้จะรักษาอัตราการเติบโต 20-30% เอาไว้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลักที่มุ่งเน้นเป็นกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินและโทรคมนาคมที่มีแนวโน้มการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบงานรองรับกับการแข่งขัน อย่างไรก็ตามในกลุ่มฐานลูกค้าที่เป็นธุรกิจส่งออกนั้นอาจจะมีการชะลอการลงทุนไปบ้าง แต่คิดว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนัก

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ ผลจากสงครามสหรัฐ-อิรักจะมีผลอย่างไรต่อธุรกิจไอที

ผลจากสงครามสหรัฐ-อิรักจะมีผลอย่างไรต่อธุรกิจไอที
ผลจากสงครามสหรัฐ-อิรักจะมีผลอย่างไรต่อธุรกิจไอที
ผลจากสงครามสหรัฐ-อิรักจะมีผลอย่างไรต่อธุรกิจไอที
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook