'ก็อปปี้' แท็คติคการทำชิปของ AMD และ Intel

'ก็อปปี้' แท็คติคการทำชิปของ AMD และ Intel

'ก็อปปี้' แท็คติคการทำชิปของ AMD และ Intel
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เทคโนโลยี 64 บิตเอ็กซ์เทนชั่นของบริษัทเอเอ็มดี (Advanced Micro Devices; AMD) และบริษัทอินเทล (Intel Corp) นั้น กล่าวได้ว่าเหมือนกันแทบทุกกระเบียดนิ้ว และเชื่อได้เลยว่าไม่เกิดปัญหาความไม่คอมแพ็ต (Incompatibility) ขึ้นอย่างแน่นอน ตามรายงานจากบริษัทอินสแต็ท/เอ็มดีอาร์ (In-Stat/MDR) คำถามคือ พวกเขาทำได้อย่างไร??? พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ออกมาคอมแพ็ตกัน สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ทั้งๆที่ต่างคนต่างพัฒนาและไม่เคยร่วมมือกันเลยแม้แต่ครั้งเดียว เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อนักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องการความมั่นใจ ว่าซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ X86 อินสตรักชั่นเซ็ตนั้น จะสามารถรันได้กับชิปทั้งของเอเอ็มดีและอินเทล ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาและทดสอบกันอย่างละเอียดในเชิงวิศวกรรม รวมถึงการทำบันทึกข้อมูลด้านเทคนิคและทดสอบ การพลิกบทบาทจากศัตรูคู่อาฆาตมาเป็นมิตรที่รักกันนักหนาระหว่างซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems) กับไมโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งซึ่งเกิดขึ้นในอดีตนั้น บางครั้งไม่อาจนำมาใช้ชี้วัดสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ในทางกลับกัน การที่อินเทลตัดสินใจคลอดชิป X86 64-Bit หลังจากที่เอเอ็มดีทำตลาดชิปดังกล่าวมาแล้วกว่า 1 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตทั้งคู่จะหันมาจูบปากกันและร่วมมือกันพัฒนาคอมพิวเตอร์โปรเซสเซอร์ออกสู่ตลาด ตามการรายงานของสำนักข่าวไอดีจี (IDG) หลังทำการทดสอบอย่างละเอียดพบว่า สถาปัตยกรรม AMD64 รุ่นใหม่นั้น มีเพียง 2 อินสตรักชั่นเท่านั้นที่ไม่มีในสถาปัตยกรรม Extended Memory 64 Technology (EM64T) ของอินเทล ตามการเปิดเผยของ ทอม ฮาล์ฟฮิลล์ (Tom Halfhill) บรรณาธิการอาวุโส ไมโครคอมพิวเตอร์รีพอร์ต (Microprocessor Report) AMD64 ใช้ 2 อินสตรักชั่นดังกล่าวเพื่อเร่งความเร็วการทำสวิตชิ่ง หรือมัลติทาสกิ้ง ระหว่างแอพพลิเคชั่น ฮาล์ฟฮิลล์กล่าว เวลาที่ผู้ใช้สวิตช์การทำงานระหว่าง 2 แอพพลิเคชั่นนั้น ระบบปฏิบัติการจะทำการเก็บข้อมูลชั่วคราวเอาไว้ในพื้นที่ถูกจัดเตรียมไว้บนตัวโปรเซสเซอร์ ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกรีโหลดขึ้นมาอีกครั้งเมื่อผู้ใช้สวิตช์กลับไปยังแอพพลิเคชั่นรสวิตชิ่งนี้จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนหลายสิบรอบต่อวินาที โดยที่ผู้ใช้ไม่ทันรู้สึกเลยว่าระบบกำลังทำงานอยู่ ฮาล์ฟฮิลล์กล่าว อินสตรักชั่นเหล่านี้จะยังไม่มีปรากฏในชิป AMD64 รุ่นปัจจุบัน แต่จะเริ่มมีให้เห็นในชิปรุ่นถัดไป ตามการเปิดเผยของ เควิน แม็คกราธ (Kevin McGrath) บริษัทเอเอ็มดี ขณะที่ประชาสัมพันธ์ของอินเทลปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆเกี่ยวกับอินสตรักชั่นใน EM64T เนื่องจากเป็นนโยบายของบริษัทที่จะไม่พูดถึงสิ่งใดก็ตามที่ยังไม่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ตามการรายงานของไอดีจี การขาดเพียง 2 อินสตรักชั่นในสถาปัตยกรรมของอินเทลนั้น เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า ทั้งคู่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนออกมาและคอมแพ็ตกันโดยที่ไม่เคยประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการกันเลยแม้แต่ครั้งเดียวได้อย่างไร ไอดีจีรายงานว่า เอเอ็มดีและอินเทลต่างก็มีครอสไลเซนส์เหมือนกัน ซึ่งเปิดช่องให้เอเอ็มดีสามารถเข้าถึงสิทธิบัตรเทคโนโลยี เช่น X86 อินสตรักชั่นเซ็ตที่เป็นสิทธิบัตรของอินเทลมานานกว่า 20 ปีและถูกใช้ในโปรเซสเซอร์ของทั้งคู่ได้ ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นตั้งแต่ปี 1976 แม้จะมีการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างอินเทลและเอเอ็มดีก็ตาม เปรียบได้กับสงครามเย็นระหว่างเอเอ็มดีกับอินเทล เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ฮาล์ฟฮิลล์กล่าว ทั้งคู่มีความคิดเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของตนคอมแพ็ตกับของคู่แข่ง นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ รวมถึงแหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกับทั้งสองบริษัท เห็นตรงกันว่า ไมโครซอฟท์ไม่ได้ใส่ใจจะพัฒนา Windows 64-bit ให้ออกมาเป็น 2 เวอร์ชั่นสักเท่าไหร่ เพราะไมโครซอฟท์ได้ประกาศต่อหน้าสาธารณชนไปก่อนหน้านี้แล้วว่า จะซัพพอร์ตเทคโนโลยีของเอเอ็มดี ดังนั้นอินเทลจึงจำเป็นต้องปรับตาม เอเอ็มดีได้จัดทำเอกสารซึ่งเป็นข้อมูลเชิงเทคนิคขึ้นจำนวนหนึ่งเมื่อหลายปีก่อนหลังจากเปิดตัวแผนสถาปัตยกรรม AMD64 ออกมา เพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นซึ่งคอมแพ็ตกับเทคโนโลยีดังกล่าวอตลาด บางทีอินเทลอาจสร้างเทคโนโลยี 64 บิตของพวกเขาขึ้นจากการศึกษาคู่มือของเอเอ็มดีอย่างละเอียดแล้วนำมากรองอีกครั้งหนึ่งว่าอินสตรักชั่นใดที่เหมาะสำหรับเทคโนโลยีของพวกเขา ฮาล์ฟฮิลล์กล่าวและว่า เอเอ็มดีเองก็ทำในลักษณะนี้เช่นกันนับตั้งแต่ได้ครอสไลเซนส์มาอยู่ในมือ โปรเซสเซอร์อย่างแท้จริง หลังจากอินเทลครองตำแหน่งนี้มานานกว่า 26 ปี นับตั้งแต่ปี 1978 เป็นต้นมา ฮาล์ฟฮิลล์กล่าว ไม่มีความร่วมมืออย่างเป็นทางการระหว่างสองบริษัท แต่แท้จริงแล้ว พวกเขาพูดคุยกันในระดับผู้บริหาร ฮาล์ฟฮิลล์กล่าวและว่า วิศวกรของทั้งคู่ต่างให้ความสนใจเทคโนโลยีของอีกฝ่ายเป็นพิเศษ ซึ่งนั่นทำให้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาคอมแพ็ตกันโดยอัตโนมัติด้วยตัวของมันเอง แม้จะมีความตึงเครียดระหว่างทั้งคู่อยู่บ้างก็ตาม คอมแพ็ตคือพระเจ้า แม็คกราธกล่าว ทั้งคู่ศึกษาเทคโนโลยีของอีกฝ่ายอย่างละเอียด และใช้เวลาหลายต่อหลายชั่วโมงในการทดสอบชิปของคู่แข่ง เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะคอมแพ็ตกัน แม้สำนักงานใหญ่ของอินเทลและเอเอ็มดีจะห่างกันเพียงไม่กี่ไมล์ และรูปแบบการดำเนินธุรกิจของทั้งคู่จะขึ้นอยู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้คอมแพ็ตกับคู่แข่งเหมือนกัน แต่ทั้งคู่ก็ไม่เคยร่วมมือหรือแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกันเลยแม้แต่ครั้งเดียว พวกเขายืนยัน ตามการรายงานของไอดีจี ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ 'ก็อปปี้' แท็คติคการทำชิปของ AMD และ Intel

'ก็อปปี้' แท็คติคการทำชิปของ AMD และ Intel
'ก็อปปี้' แท็คติคการทำชิปของ AMD และ Intel
'ก็อปปี้' แท็คติคการทำชิปของ AMD และ Intel
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook