แปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์เป็นทุนไม่คืบ'เอทีเอสไอ'ทุ้งรัฐเร่งหาเจ้าภาพรับผิดชอบ

แปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์เป็นทุนไม่คืบ'เอทีเอสไอ'ทุ้งรัฐเร่งหาเจ้าภาพรับผิดชอบ

แปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์เป็นทุนไม่คืบ'เอทีเอสไอ'ทุ้งรัฐเร่งหาเจ้าภาพรับผิดชอบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฐานเศรษฐกิจ : ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยบ่นอุบ โครงการแปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์เป็นทุน ยังอืดเป็นเรือเกลือ ขณะที่สมาคมอุตฯ ซอฟต์แวร์ไทย สวดยับภาครัฐ ขาดหน่วยงานรัฐเจ้าภาพรับผิดชอบ ส่งผลงานไม่คืบเรียกร้องตั้งหน่วยงานประเมินราคากลาง/ประกันราคาซอฟต์แวร์ สร้างความเชื่อมั่น สถาบันการเงินปล่อยเงินกู้ซอฟต์แวร์เฮาส์ นายอนุกูล แต้มประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เปิดเผยกับ "ฐาน-เศรษฐกิจ" ว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันโครงการแปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ เป็นทุนเมื่อปีที่ผ่านมานั้นขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด โดยที่ผ่านมามีผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ 5 ราย ประกอบด้วย บริษัทสยามเว็บ จำกัด, บริษัทอินเทลลิเจ้นท์ โซลูชั่น จำกัด, บริษัทโซลูชั่นคอนเนอร์ (1998) จำกัด,บริษัทคอมพิวเทค ไมโครซอฟต์แวร์ จำกัด และบริษัทไทยคอม แมเนจเม้นท์ จำกัด ได้มีการจัดทำแผนธุรกิจนำเสนอเข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์เป็นทุน สำหรับสาเหตุที่ทำให้โครงการดังกล่าว มีความล่าช้า เพราะสถาบันการเงินขาดความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อีกทั้งภาครัฐ ยังขาดเจ้าภาพที่ชัดเจนเข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้แนวทางที่เอทีเอสไอ พยายามผลักดันไปยังภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี และ กระทรวงพาณิชย์ คือ ให้มีการจัดตั้งคณะ กรรมการขึ้นมาทำหน้าที่ในการประเมินราคากลางของสินทรัพย์ทางด้านซอฟต์แวร์ที่นำมาแปลงเป็นทุน โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะมีจากภาคสถาบันการเงิน, กรมทรัพย์สินทางปัญญา และภาคธุรกิจซอฟต์แวร์ และให้ภาครัฐกำหนดและรับรองราคากลางที่ได้ประเมินขึ้นมา รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานประกันราคาซอฟต์แวร์ขึ้นมา เพื่อรับประกันราคากรณีขายทอดตลาด "ที่ผ่านมาระดับนโยบายมีการผลักดันเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่ในระดับปฏิบัติการยังติดขัดในเรื่องของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบที่แบงก์ชาติกำหนดไว้ ทำให้สถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยเงินกู้ให้กับภาคอุตสาห-กรรมซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหา ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความมั่นใจ ซึ่งภาครัฐจะต้องเร่งดำเนินการในส่วนต่างๆ ขึ้นมา อาทิ จัดตั้งคณะกรรมการประเมินมูลค่าซอฟต์แวร์ ซึ่งหลักการในการประเมินมูลค่าซอฟต์แวร์ก็มีมาตั้งนานแล้ว และภาครัฐจะให้การรับรองราคากลางพร้อมทั้งตั้งหน่วยงานขึ้นมาประกันราคาซอฟต์แวร์" ด้านนายยงยศ พรตปกรณ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัทคอมพิวเทค ไมโครซอฟต์แวร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้นำเสนอแผนธุรกิจ เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาลตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งแผนธุรกิจที่นำ เสนอเป็นโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้านระบบบัญชี และมัลติมีเดีย โดยมีวงเงินทั้งสิ้น 5-10 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้มีการติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใด สำหรับประเด็นสำคัญที่ทำให้โครงการดังกล่าวมีความล่าช้าเป็นผลมาจากเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ทำให้ติดขัดปัญหาทั้งในด้านกฎหมาย และบุคลากร ตลอดจนแนวคิดของสถาบันการเงิน ซึ่งยังขาดความมั่นใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะประเมินมูลค่าธุรกิจโดยยึดติดกับทรัพย์ที่จับต้องได้ ในขณะที่ซอฟต์แวร์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ ซึ่งมองว่าแนวทางในการผลักดันเรื่องดังกล่าวของทางภาครัฐ คือการเร่งจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่ประเมินมูลค่าซอฟต์แวร์ โดยมีภาคธุรกิจซอฟต์แวร์เข้าไปมีส่วนร่วมประเมินราคา ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทสยามเว็บ จำกัด กล่าวว่าได้นำเสนอแผนธุรกิจของบริษัท ซึ่งมุ่งให้บริการทางด้านการพัฒนาเว็บไซต์ รวบรวมและพัฒนาระบบ ไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยมีวงเงินที่ยื่นขอประมาณ 5-10 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการรอความคืบหน้าอยู่ ทั้งนี้มองว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศ ไทย ทำให้ธนาคารมีการพิจารณารายละเอียดต่างๆ ค่อนข้างนาน ต่อกรณีดังกล่าวนายวุฒิพงศ์ โสมมนัส ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายแผน สำนักบริหารการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน (องค์กร มหาชน) กล่าวว่าที่ผ่านมาสำนักงานและธนาคาร ที่เข้าร่วมโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้ พยายามผลักดันการแปลงทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรวมถึงซอฟต์แวร์เป็นทุนมาอย่างต่อเนื่องโดยต้องการผลักดันในเกิดกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นบุกเบิกขึ้นมา อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวยังเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนทำ ให้ธนาคารต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาโครงการที่เสนอเข้ามาเป็นเวลานาน แต่ก็เชื่อ ว่าต่อไปจะรวดเร็วขึ้น เนื่องจากขณะนี้ธนาคารได้หาข้อยุติเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การพิจารณาได้ แล้ว โดยล่าสุดธนาคารเอสเอ็มอี แบงก์ ได้เปิดให้ผู้ประกอบการทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา สามารถยื่นเอกสารจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา แผนธุรกิจ และเอกสารรับรองสถานะทางการเงิน เพื่อขออนุมัติเงินกู้วงเงิน 500,000 บาทได้ทันที

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ แปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์เป็นทุนไม่คืบ'เอทีเอสไอ'ทุ้งรัฐเร่งหาเจ้าภาพรับผิดชอบ

แปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์เป็นทุนไม่คืบ'เอทีเอสไอ'ทุ้งรัฐเร่งหาเจ้าภาพรับผิดชอบ
แปลงสินทรัพย์ซอฟต์แวร์เป็นทุนไม่คืบ'เอทีเอสไอ'ทุ้งรัฐเร่งหาเจ้าภาพรับผิดชอบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook