Intel จับธุรกิจซอฟต์แวร์ นอกใจ Microsoft

Intel จับธุรกิจซอฟต์แวร์ นอกใจ Microsoft

Intel จับธุรกิจซอฟต์แวร์ นอกใจ Microsoft
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
บริษัทอินเทล (Intel Corp) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตโปรเซสเซอร์สำหรับพีซีที่มีประสบการณ์มานานกว่า 20 ปี ซุ่มสรรหาวิศวกรซอฟต์แวร์ฝีมือดีเข้ามาร่วมงานอย่างเงียบๆ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนมากกว่า 8,000 รายแล้ว ตามการรายงานของซีเน็ต (Cnet) ซึ่งอ้างคำกล่าวของแหล่งข่าว ผู้บริหารอินเทลปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆเกี่ยวกับจำนวนที่แน่นอน แต่ยืนยันว่าขณะนี้อินเทลมีวิศวกรซอฟต์แวร์มากกว่า 5,000 คน ที่น่าสังเกตคือตัวเลขดังกล่าวมีการขยับขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตามการขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ ส่วนหนึ่งถูกใช้ไปในการคิดค้นและพัฒนาฮาร์ดแวร์ ขณะที่กำลังอีกส่วนหนึ่งถูกใช้ไปในการพัฒนายูสเซอร์อินเตอร์เฟส, ซอฟต์แวร์ลีนุกซ์ และฟีเจอร์ใหม่สำหรับวินโดว์สพีซี ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตจะมีการจัดส่งชิ้นส่วนซอฟต์แวร์เหล่านี้ให้กับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทั่วโลกเพื่อบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ของแต่ละรายอย่างแน่นอน การที่อินเทลให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์มากขึ้นนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจของอินเทลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจหลักของอินเทลคือการคิดค้นและพัฒนาโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด แต่ผลพลอยได้ก็คือ ซอฟต์แวร์ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่กันไปด้วย ตัวอย่างเช่น Centrino โมบายล์เทคโนโลยีที่เป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างโปรเซสเซอร์, ชิปเซ็ต และระบบสื่อสารไร้สาย ใน Centrino ซอฟต์แวร์คือองค์ประกอบสำคัญที่ทำหน้าที่ประสานชิ้นส่วนทั้ง 3 เข้าด้วยกัน งานพัฒนาซอฟต์แวร์ของอินเทลยิ่งเด่นชัดมากขึ้น เมื่ออินเทลประกาศนโยบายออกมาเมื่อเร็วๆนี้ว่า ต้องการให้พีซีทำได้มากกว่าแค่พีซี และต้องการรุกตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครก แบร์เรตต์ ประธานบริษัทอินเทล "ผลิตภัณฑ์และตลาดกำลังเปลี่ยนไปในทิศทางที่เป็นการผสมผสานกันมากขึ้น ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์ แต่เป็นทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารในตัวเดียว และซอฟต์แวร์ก็คือตัวที่จะมารวมส่วนผสมทั้งสองให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน" พอล โอเทลลินี (Paul Otellini) ประธานและประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทอินเทล กล่าวและว่า "เรามีการพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ตลอดเวลา เพราะมีแพลตฟอร์มใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่ตลอด" ไม่ใช่โอเอส จุดประสงค์ของการพัฒนาซอฟต์แวร์ของอินเทลคือ ทูลส์ หรือเครื่องมือที่โปรแกรมเมอร์เอาไว้ใช้ในการพัฒนาไดรเวอร์และแอพพลิเคชั่นต่างๆสำหรับวินโดว์สพีซี โดยมีเป้าหมายที่การควบคุมการทำงานของฟีเจอร์และการเปิดตลาดใหม่ และแน่นอนที่สุดว่าไม่ใช่การพัฒนาระบบปฏิบัติการ หรือโอเอส อย่างที่หลายคนเข้าใจ ตัวอย่างเช่น PROset ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของโมดูลไร้สายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Centrino แอพพลิเคชั่นนี้ยังถูกใช้ในชิปเซ็ตใหม่ Express 915 และ 925 ที่เพิ่งเปิดตัวออกมาด้วย เพื่อควบคุมการทำงานของเครือข่ายไร้สาย ให้ผู้ใช้เซ็ตอัพแอคเซสพอยต์ได้ง่ายเพียงคลิกเมาส์ไม่กี่ครั้งเท่านั้น ไม่ใช่แค่อินเทล ที่คิดว่าซอฟต์แวร์คือคือตัวแปรและตัวกระตุ้นสำคัญในกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems) เพิ่มความสำคัญให้กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งฝั่งเดสก์ท็อปและฝั่งเซิร์ฟเวอร์ รวมไปถึงการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการ โดยมีเป้าหมายที่การสร้างยได้ทดแทนจากยอดขายฮาร์ดแวร์ที่ลดลง ไอบีเอ็ม (IBM) มองกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์เป็นอาวุธลับสำหรับการเพิ่มยอดขายของกลุ่มฮาร์ดแวร์และกลุ่มคอนซัลติ้ง และที่สำคัญ ซอฟต์แวร์คือตัวทำกำไร ปี 2003 ไอบีเอ็มมียอดขายฮาร์ดแวร์รวม 28 พันล้านเหรียญ หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเป็นกำไร 8 พันล้านเหรียญ ขณะที่ซอฟต์แวร์มียอดขาย 14 พันล้านเหรียญ หักค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลือเป็นกำไรสูงถึง 12 พันล้านเหรียญ ตามข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงานของไอบีเอ็ม มีเหตุผลเดียวที่ทำให้อินเทลต้องลงมาจับซอฟต์แวร์เอง นั่นเพราะวงจรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของคู่ซี้ปึ้กอย่างไมโครซอฟท์ ใช้เวลานานเกินไปจนส่งผลร้ายต่ออินเทล โดยเฉพาะความสามารถในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ออกสู่ตลาด ทางแก้มีทางเดียว คืออินเทลต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ทูลส์สำหรับฟีเจอร์นั้นๆด้วยตัวเอง ช่วง Windows 95 ถึง Windows XP มีโอเอสใหม่ออกสู่ตลาดเฉลี่ยทุกๆ 2 ปี แต่หลังจาก XP ซึ่งออกสู่ตลาดในปี 2001 ไปแล้ว จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีโอเอสตัวใหม่ออกมา ขณะที่ Longhorn มีกำหนดออกสู่ตลาดในปี 2006 นั่นหมายถึงการเว้นวรรคกว่า 6 ปี ส่วนหนึ่งเพราะนโยบายที่เน้นในเรื่องซีเคียวริตี้มากขึ้นของประธานบริษัทไมโครซอฟท์ ตรงกันข้ามกับอินเทลที่มีการออกชิปเซ็ตใหม่สำหรับแต่ละสายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยปีละครั้ง และออกโปรเซสเซอร์ใหม่เฉลี่ยไตรมาสละตัว เพื่อกระตุ้นต่อมอยากของผู้บริโภคและหนีการไล่ล่าของคู่แข่งอย่างเอเอ็มดี (Advanced Micro Devices; AMD) "การออกผลิตภัณฑ์ของอินเทลมีความถี่สูงกว่าไมโครซอฟท์ ส่วนหนึ่งเพราะไมโครซอฟท์ใช้เวลาในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของพวกเขานานมากขึ้น" เควิน ครีเวลล์ (Kevin Krewell) บรรณาธิการนิตยสารไมโครโปรเซสเซอร์รีพอร์ต (Microprocessor Report) กล่าวและว่า "ความถี่ของอินเทลสูงกว่า มันจึงเป็นความขัดแย้งกันในเรื่องของเวลาและวิสัยทัศน์ระหว่างอินเทลกับไมโครซอฟท์" อ่านต่อหน้าถัดไป ยังไม่มีชัดเจนสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างอินเทลกับไมโครซอฟท์ในขณะนี้ อย่างไรก็ตามมีผลิตภัณฑ์อยู่ 2 ชิ้นที่พอจะใช้สนับสนุนบทวิเคราะห์และชี้ให้เห็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้น กลุ่มโมบายล์โปรดักส์ของอินเทลมีผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เริ่มเปิดขายไลเซนส์ไปเรียบร้อยแล้วด้วย นั่นคือ Extended Mobile Access หรือ EMA จอภาพเสริมขนาดเล็กสำหรับโน้ตบุ๊ค Centrino ซึ่งได้รับการดีไซน์มาเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับโน้ตบุ๊คและตอบสนองความต้องการของผู้บริหารที่มักถูกขัดจังหวะบ่อยๆจากอีเมลหรืออื่นๆในระหว่างการประชุม จอภาพนี้ช่วยให้ผู้ใช้ยังคงออนไลน์อยู่ตลอดเวลา ไม่พลาดการติดต่อ ขณะที่วินโดว์สยังอยู่ในโหมดสแตนด์บาย โจนาธาน โจเซฟ (Jonathan Joseph) ประธานคณะผู้บริหาร บริษัทอินไซด์ซอฟต์แวร์ (Insyde Software) กล่าวว่า เขาได้ซื้อไลเซนส์สำหรับซอฟต์แวร์ EMA จากอินเทลไปแล้ว และกำลังเตรียมทำตลาดซอฟต์แวร์ดังกล่าวในฐานะผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งของเขา ภายใต้ชื่อ InsydeAxS ซึ่งคาดว่าจะวางตลาดได้ภายในสิ้นปีนี้ "อินเทลเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างหลักของซอฟต์แวร์แล้วส่งให้เราพัฒนาต่อให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์" โจเซฟกล่าวและว่า "นี่คือผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่คอนเซ็ปต์" ขณะที่ไมโครซอฟท์ก็มีการพูดถึงไอเดียเดียวกันนี้ด้วย แม้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะยังไม่วางตลาดจนกว่า Longhorn จะออกมาก็ตาม นอกจาก EMA แล้อินเทลยังมีวินโดว์สแอพพลิเคชั่นอีกหลายตัวที่พร้อมส่งให้กับผู้ผลิตพีซีเพื่อบรรจุเข้าสายพานผลิต เช่น Experience 7.1 Surround Sound สำหรับการควบคุมการทำงานของระบบเสียงเซอร์ราวด์ 7.1 บนชิปเซ็ต 900 ซีรีย์ใหม่ เป็นต้น สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า อินเทล ซึ่งเป็นคู่ซี้กับไมโครซอฟท์ จะพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตัวเองหรือไม่ เพื่อให้สามารถส่งฟีเจอร์ใหม่ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและรุกตลาดใหม่ เช่น ดิจิตอลโฮม ไม่จำเป็น สก็อตต์ แม็คลาฟลิน (Scott McLaughlin) ประชาสัมพันธ์อินเทลกล่าว "ด้วยพันธะที่มีต่อกันมากมาย ไมโครซอฟท์และเราจะอยู่เคียงข้างกันเสมอ" เขากล่าวและว่า "เราสนิทกับไมโครซอฟท์มาก และเราเองก็ไม่อยู่ในสายธุรกิจโอเอส ดังนั้นสำหรับหลายๆอย่าง เช่น Itanium เรายังคงทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์" แต่นั่นไม่เสมอไป มีบางครั้งที่ทั้งคู่ทะเลาะกันอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการสอบสวนคดีผูกขาดของไมโครซอฟท์เมื่อปี 1998 ผู้บริหารอินเทลกล่าวหาว่าไมโครซอฟท์ขโมย Native Signal Processing เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ออดิโอ/วีดีโอของอินเทลไป ซึ่งแน่นอนว่า ไมโครซอฟท์ปฏิเสธเสียงแข็ง และโต้กลับอย่างรุนแรง อินเทลยังให้การสนับสนุนคู่แข่งของไมโครซอฟท์อย่าง ซอฟต์แวร์วีดีโอสตรีมมิ่งของเรียลเน็ตเวิร์ค (Real Networks) ด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่า ขณะที่ทั้งคู่ร่วมงานกัน แต่ก็พยายามสร้างแรงกดดันให้กับคู่ของตนพร้อมกันไปด้วย "ไมโครซอฟท์กับอินเทลร่วมงานกันมานานทั้งการพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ... มีเป้าหมายที่การนำเสนอเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ออกสู่ตลาด" ตัวแทนจากไมโครซอฟท์กล่าวและว่า "ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับอินเทล ซึ่งผลที่ออกมาก็คือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าและธุรกิจ" คงต้องติดตามเรื่องนี้กันอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสสูงที่วิศวกรซอฟต์แวร์ของอินเทลกว่า 8,000 ชีวิตจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนำออกสู่ตลาดในเร็วๆนี้ ขณะที่ไมโครซอฟท์อาจตอบโต้ด้วยเทคนิคบางอย่างใน Windows XP ที่จะออกตามมาในช่วงเวลาไม่นาน ตามการวิเคราะห์ของซีเน็ต ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ Intel จับธุรกิจซอฟต์แวร์ นอกใจ Microsoft

Intel จับธุรกิจซอฟต์แวร์ นอกใจ Microsoft
Intel จับธุรกิจซอฟต์แวร์ นอกใจ Microsoft
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook