มหกรรมโอเพนซอร์สฯ ปี 50 ทางออกปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อน

มหกรรมโอเพนซอร์สฯ ปี 50 ทางออกปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อน

มหกรรมโอเพนซอร์สฯ ปี 50 ทางออกปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตาม ที่ประเทศไทยมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ สำหรับสาเหตุหลักก็คงหนีไม่ผลราคาซอฟต์แวร์ที่สูงมาก ที่หากถ้าเทียบกับรายได้ของคนไทยแล้วยังถือว่าแพงมาก อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังมีช่องว่างอยู่พอสมควร ทำให้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หาได้ง่ายในเมืองใหญ่ๆ และไม่แปลกที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเมืองไทยจำนวนไม่น้อยใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน และก็มีการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายจนเป็นเรื่องชาชิน นับว่าเป็นเรื่องร้ายแรงและส่งผลกระทบมหาศาล

ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค เองได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ และได้ดำเนินการวิจัย และพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาตั้งแต่ปี 2540 โดยมุ่งเน้นให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นทางเลือกที่ดีเทียบเท่าซอฟต์แวร์ ราคาแพงโดยมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น LinuxSIS, LinuxTLE, OfficeTLE และโปรแกรมพจนานุกรม Lexitron เป็นต้น โดยล้วนแล้วแต่เป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานเหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป แต่การรับรู้ของสังคมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ยังจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่ม

ล่าสุดท่านเนคเทคได้มีกำหนดจัดงาน มหกรรมโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 2-3 ส.ค.2550 ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยมีเป้าหมายเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สังคมหันมาสนใจ และใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างจริงจัง และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงรวมถึงสร้างพันธมิตรในแต่ละภาคส่วน เพื่อความเข้มแข็งของสังคมโอเพนซอร์สในอนาคต

ดร.กว้าน สีตะธนี รองผู้อำนวยการ เนคเทค เล่าให้ฟังว่า ประเทศไทยปัจจุบันมีมูลค่าการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 125,000 ล้านบาท แยกเป็นส่วนมูลค่าซอฟต์แวร์และบริการถึง 48,000 ล้านบาท (ที่มา สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย) และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง คือ 80% (ที่มา กลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ หรือ BSA) ทางออกของการละเมิดซอฟต์แวร์ และยังเป็นการพัฒนาตัวเองอย่างยั่งยืน เพราะอนุญาตให้ทุกคนมีเสรีภาพใช้งาน และแก้ไขเองได้แบบไม่ผิดกฎหมาย

รองผู้อำนวยการ เนคเทค อธิบายว่า ตัวเอย่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่มีคนนิยมใช้งานสูง ได้แก่ ชุดโปรแกรมโอเพนออฟฟิศ (opendffice.org) บราวเซอร์ มอสซิลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) ระบบปฏิบัติการ (โอเอส) อูบุนตู ลีนุกซ์ (Ubuntu Linux) และอาปาเช (Apache) เว็บเซิร์ฟเวอร์อันดับหนึ่ง อีกทั้งยังทดแทนการใช้ซอฟต์แวร์แบบการค้า โดยสิ่งที่ต้องการ คือ อยากชวนให้องค์กรหรือหน่วยงานที่ไม่อยากละเมิดลิขสิทธ์ หรือต้องการทำให้ถูกกฎหมาหันมาใช้โอเพนซอร์ส ที่มีความสามารถในการทำงานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

เนคเทคพยายามพัฒนาโอเพนซอร์สมากว่า 10 ปี เพื่อมาแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ไม่ได้คาดหวังไว้ว่าลีนุกซที่พัฒนาขึ้นนี้ จะมาแทนโอเอสยอดนิยมได้ 100% แค่อยากให้ซอฟต์แวร์เถื่อนในตลาดลดลง คน ที่ใช้ของเถื่อนถ้าเปลี่ยนมาใช้โอเพนซอร์สก็ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำงานได้พอๆ กัน แม้จะมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ผิดกฎหมาย ความจริงซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ใช้กันทั่วไป คนไทยใช้ประโยชน์ได้ไม่ถึง 10% ของมูลค่าซอฟต์แวร์เลย หากเราพิ่งพาตัวเองได้ ก็จะลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้ รวมทั้งไม่ถูกนานาประเทศตราหน้าว่าใช้ของเถื่อนอีกด้วย ดร.กว้าน กล่าว

ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวานิช รักษาการ ผู้อำนวยการโครงการโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อสารสนเทศและอุปกรณ์ เคลื่อนที่ เนคเทค เล่าถึงความเป็นมาของการจัดงานนี้ว่า งานดังกล่าวเริ่มต้นมาจากความพยายามของกลุ่มนักพัฒนาเมื่อปี 2542 ทางเนคเทคได้จัดมหกรรมโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 มีคนร่วมงาน 150 คนส่วนมากเป็นนักศึกษา การทำงานครั้งนั้นยากมาก คนไทยยังไม่เข้าใจว่าโอเพนซอร์ส คืออะไร งานในครั้งต่อๆ มาจึงต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้ใช้งาน จนเข้าสู่ยุคความหลากหลายของโอเพนซอร์ส ที่ไม่ได้มีเฉพาะโอเอส แต่มีโปรแกรมออฟฟิศ ตกแต่งภาพ ที่จัดอยุ่ในรูปโปรแกรมประยุกต์ ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นมีคนเข้าชมงานครั้งหลังๆ ถึง 3,000 คน

รักษาการ ผู้อำนวยการ โครงการโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ฯ เนคเทค อธิบายเสริมว่า งานในครั้งที่ 7 นี้ถือว่าเป็นจุดรวมของงานโอเพนซอร์ส เนคเทคต้องการนำเสนอนวัตกรรมการพัฒนาโอเพนซอร์สใหม่ๆ คนจำนวนไม่ร้อยสงสัยว่า ทำอย่างไรให้โอเพนซอร์สจากต่างประเทศใช้ภาษาไทยได้ นั่นก็มาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เข้ากับมาตรฐานสากล จึงทำให้ตัวโปรแกรมอ่านออก และเขียนภาษาไทยได้ เรื่องแบบนี้ภาครัฐต้องเข้าร่วมหากปล่อยเอกชนทำตามลำพัง ก็จะกลายเป็นอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้ามแพลตฟอร์ม เนื่องจากการพัฒนาเดินไปคนละทาง ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อทำซอฟต์แวร์ให้เป็นมาตรฐานนั่น คือ การที่คนไทยจะได้ใช้ฟ้อนต์ตัวอักษรไทยมากขึ้น

ดร.วิรัช กล่าวถึงการนำโอเพนซอร์สไปใช้งานในขณะนี้ว่า นับเป็นเรื่องยินดีที่ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผลักดันนโยบายใช้โอเพนซอร์สในองค์กรได้ โดยมีไฟล์มาตรฐานหลัก คือ Open Document รวมถึงองค์กรอื่นๆ เช่นกัน อีกทั้งมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน อาทิ Thai Linux User Group สมาพันธ์ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย และเครือข่ายโอเพนซอร์สอื่นๆ ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยในการแลกเปลี่ยนความรู้

รักษาการ ผู้อำนวยการ โครงการโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ฯ เนคเทค กล่าวเพิ่มเมว่า นอกจากนี้ทางเนคเทคยังได้ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เข้ามาสนับสนุนอีกแรงด้วย รวมไปถึงในความร่วมมือของบริษัทเอกชน ก็มีบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ บ. เอ็นอีซี บ.มาเวอริค และบ. ไอซ์ โซลูชั่น เป็นต้น ที่เข้ามาร่วมในการแลกเปลี่ยนสัมมนา พร้อมกับการถ่ายทอดประสบการณ์จริงในการใช้โอเพนซอร์สจากบริษัทชั้นนำของ ประเทศ เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จึงทำให้งานครั้งนี้มีความเป็นสากลมากขึ้น

ดร.วิรัช กล่าวด้วยว่า สำหรับหัวข้อสัมมนาในงาน มหกรรมโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 ที่น่าสนใจ ประกอบด้วย OpenOffice.org Roadmap ที่จะมาเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ในนาคตสำหรับโอเพนออฟฟิศ 3.0 ความสำคัญของมาตรฐานไฟล์เอกสารแบบเปิด และความปลอดภัยของเอกสาร ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปกับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคเว็บ 2.0 มีอะไรใหม่ใน อูบุนตูลีนุกซ์ 7.10 ที่พร้อมเปิดตัวในแฟลตฟอร์มโมบาย การประยุกต์ใช้โอเพนซอร์สในหน่วยงานขนาดใหญ่ และการเสวนา องค์กรได้อะไรจากการใช้งานโอเพนซอร์ส

ไอทีไดเจส อยากให้ผู้ที่สนใจ และผู้ที่ไม่เคยสนใจอยากใช้โอเพนซอร์ส ลองไปดูรายละเอียดภายในงาน ไปลองสัมผัสดูว่าโอเพนซอร์สเหมาะกับองค์กร และผู้ใช้งานแต่ละคนมากแค่ไหน ไม่ใช่เพียงแค่อยากชวนให้ใช้โอเพนซอร์สเท่านั้น ส่วนคนที่ใช้งานอยู่แล้วนี้ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้พบกลุ่มนักพัฒนา จึงอยากให้ผู้ที่ใช้งานแล้วมีปัญหา ไปติชมกับนักพัฒนาได้ อย่างน้อยอาจจะช่วยให้คนทำซอฟต์แวร์รับรู้ เพื่อพัฒนาเวอร์ชันต่อไปให้ดีขึ้น และถ้าใช้งานกันมากขึ้น ก็ต้องพูดคุยให้มากขึ้น หากประทับใจก็เอาไปใช้ แล้วแล้วดีก็บอกต่อ อาจเป็นหนทางแจ้งเกิดเต็มตัวของโอเพนซอร์สไทยก็ได้...

สนับสนุนเนื้อหาโดย
จุลดิส รัตนคำแปง
itdigest@thairath.co.th

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ มหกรรมโอเพนซอร์สฯ ปี 50 ทางออกปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อน

มหกรรมโอเพนซอร์สฯ ปี 50 ทางออกปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อน
มหกรรมโอเพนซอร์สฯ ปี 50 ทางออกปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อน
มหกรรมโอเพนซอร์สฯ ปี 50 ทางออกปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook