UBUNTU (2)

UBUNTU (2)

UBUNTU (2)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คอลัมน์ ไอทีทะลุโลก
โดย siripong@kidtalentz.com

เมื่อพูดถึง Ubuntu เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึง มาร์ก ชัตเติลเวิร์ท นักธุรกิจหนุ่มจากแอฟริกาใต้ ผู้ริเริ่มโครงการ ขึ้นมาในปี 2547 โดยจัดตั้งเป็นมูลนิธิอูบุนตูในปีถัดมาภายใต้การสนับสนุนเงินทุนเบื้องต้น 10 ล้านเหรียญจากบริษัท Canonical ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนผลักดันโครงการฟรีซอฟต์แวร์ และโอเพ่นซอร์ซซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะขายบริการสนับสนุนแบบครบวงจรให้กับผู้ใช้โอเพ่นซอร์ซซอฟต์แวร์ โดยมี อูบุนตูเป็นแกนกลาง โดยรูปแบบมันอาจจะคล้ายกับเรดแฮต เพียงแต่แนวคิดและปรัชญาของ มาร์ก ชัตเติลเวิร์ท นั้นยึดหลักโอเพ่นซอร์ซอย่างเหนียวแน่น และออกแรงผลักดันอย่างแข็งขันด้วยความเชื่อว่า ซอฟต์แวร์ควรจะเป็นฟรีที่ทุกคนเข้าถึงได้ ใช้งานได้จริง ยืดหยุ่นปรับแต่งให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน

และแบ่งปันสิ่งที่ต่อยอดมาได้ให้กับผู้อื่น

ไม่ใช่เก็บเกี่ยวสิ่งที่ชุมชนโอเพ่นซอร์ซช่วยกันคนละไม้คนละมือพัฒนาไปทำมาหากินลูกเดียว

ปัจจุบันมาร์ก ชัตเติลเวิร์ท มีชื่อเสียงเคียงคู่กับอูบุนตู ทว่าชื่อเสียงของเขามีมาก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปี 2545 ที่เขาเข้าร่วมเดินทางไปในอวกาศกับยานโซยุซของรัสเซียด้วยค่าใช้จ่าย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะความหลงใหลในการบินอวกาศมาตั้งแต่เด็ก

แต่ย้อนไปก่อนหน้านี้อีกในปี 2538 ช่วงปีสุดท้ายระหว่างเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ ชัตเติลเวิร์ท ตั้งบริษัท Thawte มีความเชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลเซอร์ติฟิเกต เป็นบริษัทแรกที่จัดตั้งอีคอมเมิร์ซเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีการเข้ารหัสระบบความปลอดภัยเต็มรูปแบบ ในวงการถือเป็นบุคคลชั้นนำของโลกด้านนี้

เขาขาย Thawte ให้กับ Verisign ไปในปีเดียวกัน ได้เงินมาราวๆ หมื่นกว่าล้านบาท แล้วก่อตั้งบริษัท HBD Venture Capital ขึ้นมาเพื่อบ่มเพาะธุรกิจและสนับสนุนเงินทุนแก่ธุรกิจใหม่ๆ

ความสนใจที่มีต่อโอเพ่นซอร์ซซอฟต์แวร์ของชัตเติลเวิร์ท นั้นมีมานานแล้ว เขาเป็นหนึ่งในคนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเดเบียน ลีนุกซ์ ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ หลังจากเลิกวุ่นวายกับอวกาศก็กลับมาสู่วงจรของโอเพ่นซอร์สอีกครั้งด้วยโครงการอูบุนตู

ในเวลาเพียงไม่กี่ปีอูบุนตูก็ขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าของลีนุกซ์

คาดกันว่าปีหน้าจะเป็นปีทองของลีนุกซ์ หลังจากเดลล์ คอมพิวเตอร์ขายคอมพิวเตอร์ที่ลงอูบุนตูพร้อมบริการหลังการขายในอเมริกามาแล้วระยะหนึ่ง และยุโรปหลายประเทศ ตามด้วยเอชพีกับเลอโนโว ขณะที่เทสโก้ก็ทำอย่างเดียวกันแต่ไม่รวมบริการหลังการขาย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
UBUNTU (1)

สนับสนุนเนื้อหาโดย





อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ UBUNTU (2)

UBUNTU (2)
UBUNTU (2)
UBUNTU (2)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook