เผยความได้เปรียบของประเทศที่พร้อมด้านทักษะออนไลน์ในยุคโควิด-19

เผยความได้เปรียบของประเทศที่พร้อมด้านทักษะออนไลน์ในยุคโควิด-19

เผยความได้เปรียบของประเทศที่พร้อมด้านทักษะออนไลน์ในยุคโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในรายงานเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกประจำปีนี้ สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) จะวัดขีดความสามารถของประเทศต่างๆ ในการรับมือและฟื้นตัวจากหายนะที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส

แต่เนื่องจากการเกิดโรคระบาดใหญ่และการที่ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นได้ การจัดอันดับประเทศในรายงานนี้จึงถูกระงับไป แต่จะมีการตรวจสอบปัจจัยที่ช่วยให้สามารถจัดการด้านเศรษฐกิจและการฟื้นตัวจากโรคระบาดใหญ่ได้ดีขึ้นแทน

รายงานระบุว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างมากที่เกิดจากการติดเชื้อยังคงมีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าจะไม่มีประเทศใดที่ไม่ได้รับผลกระทบเลย แต่บางประเทศก็มีความยืดหยุ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ

Saadia Zahidi กรรมการผู้จัดการ WEF กล่าวว่าประเทศที่มีทักษะดิจิตัลขั้นสูงมักจะประสบความสำเร็จมากกว่าประเทศอื่นๆ ในการพยุงเศรษฐกิจให้ดำเนินไปได้ในช่วงที่เกิดโรคระบาดใหญ่

นอกจากนี้ประเทศที่มีการใช้ระบบดิจิตัลขั้นสูงกว่าในธุรกิจต่างๆ จะสามารถเปลี่ยนแปลงไปทำงานนอกออฟฟิสได้ค่อนข้างรวดเร็ว ซึ่งโดยมากจะเป็นประเทศที่มีการจัดการที่ดีกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของประชากร เนื่องจากสามารถรักษาตำแหน่งงานต่างๆ ไว้ได้

istock-1127950004

รายงานดังกล่าวระบุว่าประเทศเนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เอสโตเนีย และสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ดำเนินการได้ดีในเรื่องนี้ ผู้เขียนรายงานพบว่าประเทศที่มีเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่เข้มแข็งและระบบการดูแลสุขภาพที่แข็งแกร่งก็สามารถต้านทานต่อผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเกิดโรคระบาดได้

Zahidi กล่าวต่อไปว่าสถาบันระหว่างประเทศหลายๆ สถาบันแนะนำให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ใช้มาตรการกระตุ้นเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและแรงงานในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ควรเริ่มก้าวไปสู่ขั้นตอนที่แข็งแกร่งมากขึ้นเล็กน้อยในการเตรียมความพร้อมสำหรับช่วงหลังการระบาด

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะหยุดการลงทุนหรือหยุดให้การสนับสนุนต่อไป โดยเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่แผนการในระยะสั้น แต่อาจเป็นการสนับสนุนในระยะยาวสำหรับโครงข่ายความปลอดภัยที่ช่วยให้บรรดาคนทำงานสามารถเปลี่ยนบทบาทในปัจจุบันของตนเพื่อรับการสนับสนุนรายได้บางส่วนและเพื่อให้สามารถรับการฝึกอบรมใหม่ๆ ฝึกทักษะใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงไปสู่บทบาทอื่นๆ ได้ในอนาคต

Saadia Zahidi จาก WEF กล่าวอีกว่าการฟื้นตัวจากโคโรนาไวรัสสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำหรือประเทศที่มีระดับหนี้สินสูงนั้นจะยากกว่าประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้า และว่าจำเป็นต้องมีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนประเทศเหล่านี้ในระยะสั้น เพื่อให้ประเทศดังกล่าวสามารถก้าวไปข้างหน้าต่อไปได้

เธอกล่าวส่งท้ายว่าประเทศเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้สามารถฟื้นตัวจากผลกระทบที่เลวร้ายของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook