กลุ่มธุรกิจ หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ประกาศ 4 มาตรการเพื่อความสำเร็จร่วมกับพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็มส์

กลุ่มธุรกิจ หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ประกาศ 4 มาตรการเพื่อความสำเร็จร่วมกับพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็มส์

กลุ่มธุรกิจ หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ประกาศ 4 มาตรการเพื่อความสำเร็จร่วมกับพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็มส์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ณ การถ่ายทอดสดงานสัมนาระดับโลก “Industrial Digital Transformation Conference 2020” กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ประกาศกลยุทธ์การพัฒนาพาร์ทเนอร์ธุรกิจในชื่อว่า “การสร้างผลกำไร, การสร้างความเรียบง่าย, การเพิ่มขีดความสามารถ, และอีโคซิสเต็มส์” โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะทำให้กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ไปด้วยกันทุกฝ่าย

ในงานอีเวนท์ดังกล่าว นายแฟรงค์ เชน ซูหลง (Frank Shen Surong) รองประธานของส่วนพาร์ทเนอร์และพันธมิตร ได้ให้รายละเอียดว่า ในปี พ.ศ. 2563 อีโคซิสเต็มส์พาร์ทเนอร์แบบใหม่ของกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ จะประกอบไปด้วยพาร์ทเนอร์ 7 รูปแบบ ได้แก่ พาร์ทเนอร์ด้านการขาย, พาร์ทเนอร์ด้านโซลูชัน, พาร์ทเนอร์ด้านการบริการ, พาร์ทเนอร์ด้านการลงทุน การปฏิบัติการ และการเงิน, พันธมิตรด้านทักษะ, พาร์ทเนอร์ด้านสังคม, และพาร์ทเนอร์ในภาคอุตสาหกรรม โดยกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ จะพัฒนาต่อยอดอีโคซิสเต็มส์สำหรับพาร์ทเนอร์ทั้งเจ็ดรูปแบบดังกล่าว ด้วยวิธีให้การสนับสนุนเพิ่มเติมในด้านต่อไปนี้:

การสร้างผลกำไร

ในปี พ.ศ.2562 กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ยกเลิกเกณฑ์การได้รับเงินคืนโดยอิงจากยอดขายซึ่งหมายความว่าพาร์ทเนอร์จะได้รับผลตอบแทนตามรายได้ที่พวกเขาสามารถทำได้จริง ในปี พ.ศ. 2563 นี้ กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ จะยังคงใช้แนวทางส่งเสริมเพื่อกระตุ้นพาร์ทเนอร์ในช่องทางต่างๆ อีกทั้งจะขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์ที่มีปัจจัยส่งเสริมการขายสำหรับพาร์ทเนอร์ ซึ่งจะรวมไปถึงซอฟต์แวร์แบบ standalone ด้วย นอกจากนี้ หัวเว่ยจะเพิ่มความหลากหลายของปัจจัยการส่งเสริมการขายแบบพิเศษให้มากขึ้น อย่างเช่น ด้านความสามารถในการลดราคา และด้านการทำโปรแกรมส่งเสริมการทำธุรกิจ (BIP) ซึ่งจะนำเสนอแก่พาร์ทเนอร์เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาทำยอดได้ตามเป้าหมายที่สูงขึ้นกว่าเดิม

การสร้างความเรียบง่าย

กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ยังคงทำให้นโยบายและกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ง่ายขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนโยบายเกี่ยวกับพาร์ทเนอร์ในตอนนี้จะไม่เพียงจดจำได้ง่ายและเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม แต่ยังสามารถนำไปปรับใช้จริงได้สะดวกยิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ให้ดีขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2563 กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์หลายชิ้นที่ทำให้พาร์ทเนอร์ธุรกิจสามารถรับเงินคืนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในด้านนโยบาย และทำให้ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายมีความชัดเจนมากขึ้น กลยุทธ์นี้จะช่วยทำให้พาร์ทเนอร์สามารถนำ “กองทุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการตลาด (MDF)” ไปปรับใช้หรือนำไปใช้ได้อย่างอิสระ เพื่อช่วยเร่งโครงการด้านการตลาดให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้พาร์ทเนอร์สามารถมองเห็นกระบวนการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้อย่างชัดเจน

การเพิ่มขีดความสามารถ

ในปีนี้ หัวเว่ย จะเปิดตัวใบรับรอง Huawei Certified Pre-sales Professional (HCCP) สำหรับสินค้าประเภท IP และ Storage เพื่อช่วยให้พาร์ทเนอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของสินค้าที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงทักษะที่จำเป็น เพื่อจัดการการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงเทคนิคกับลูกค้า, ออกแบบโซลูชันสำหรับการใช้งานในสถานการณ์ต่าๆ , และ จัดการทดสอบ POC ( Proof of Concept) ได้ นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจ หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ยังได้ยืดระยะเวลาของกองทุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการตลาด (MDF) และ กองทุนการตลาดร่วม (JMF) เพื่อสนับสนุนพาร์ทเนอร์ระดับโลก, พาร์ทเนอร์ด้านโซลูชัน, และพาร์ทเนอร์ด้านผู้ให้บริการเครือข่ายในการพัฒนาทางธุรกิจ พาร์ทเนอร์เหล่านี้จะได้รับผลประโยชน์จากการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

อีโคซิสเต็ม

หัวเว่ยได้จัดตั้งกองทุนสำหรับการส่งเสริมการพัฒนา Huawei ICT Academy (ADIF) สำหรับปี พ.ศ. 2563 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาของ Huawei ICT Academy ด้วยการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมและด้านการปฏิบัติการ รวมไปถึงกระตุ้นให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้ใบรับรองจากหัวเว่ย ในขณะเดียวกัน ADIF จะเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ Huawei ICT Academy กระชับความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษา และพัฒนาทักษะทางเทคนิคให้กับบริษัทหัวเว่ยเองไปพร้อมกัน เนื่องจากทักษะและแบรนด์ของ Academy ดังกล่าวได้กลายเป็นจุดแข็งของบริษัทไปแล้ว และในอนาคต หัวเว่ยจะดึงดูดพาร์ทเนอร์ด้านอีโคซิสเต็มผ่านนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่พาร์ทเนอร์ ตั้งแต่การพัฒนาโซลูชันร่วมกัน  กองทุนการตลาด และ กองทุนสนับสนุนพาร์ทเนอร์ระดับโลก (GPIF) เพื่อที่จะพัฒนาระดับความพึงพอใจในการส่งมอบบริการ รวมทั้งเพิ่มจำนวนพาร์ทเนอร์ที่สามารถเข้าถึงกองทุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการตลาด (MDF) ได้

ในปลายปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ด้านการขายกว่า 22,000 ราย พาร์ทเนอร์ด้านโซลูชัน 1,200 ราย พาร์ทเนอร์ด้านการให้บริการ 4,200 ราย พาร์ทเนอร์พันธมิตรด้านทักษะ 1,000 ราย และ พาร์ทเนอร์ด้านการลงทุน การปฏิบัติการและการเงินอีก 80 ราย

ในยุคแห่งความอัจฉริยะเช่นนี้ กุญแจสำคัญที่จะสร้างอีโคซิสเต็มซึ่งทุกฝ่ายได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมคือการให้ทุกคนสามารถใช้จุดแข็งของตัวเองในการสร้างภาพรวมที่ดียิ่งกว่า หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นที่จะปรับใช้นโยบายด้านอีโคซิสเต็มเพื่อขยายพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็ม ช่วยเหลือพาร์ทเนอร์ในการบรรลุเป้าหมาย และให้การสนับสนุนพาร์ทเนอร์ให้ดียิ่งขึ้น ความพยายามในด้านต่างๆ จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา การบ่มเพาะ การสนับสนุน การกระตุ้น และการยินยอมของพาร์ทเนอร์ โดยในที่สุดแล้ว กลยุทธ์เหล่านี้จะทำให้การจัดการพาร์ทเนอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มที่เปิดกว้าง เต็มไปด้วยความร่วมมือ และให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย เพื่อการเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่ทุกคนต่างต้องการใช้เป็นรายแรก 

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/topic/mwc2020/en

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook