"ไหมชีวภาพจากเซลล์ผิวหนัง" เปิดโอกาสใหม่ในการรักษาแผลและซ่อมแซมอวัยวะ

"ไหมชีวภาพจากเซลล์ผิวหนัง" เปิดโอกาสใหม่ในการรักษาแผลและซ่อมแซมอวัยวะ

"ไหมชีวภาพจากเซลล์ผิวหนัง" เปิดโอกาสใหม่ในการรักษาแผลและซ่อมแซมอวัยวะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยจากฝรั่งเศส โคลัมเบีย และสหรัฐ ได้พัฒนาเส้นใยที่ทำจากเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ขึ้น ซึ่งเส้นใยดังกล่าวอาจจะถูกนำมาทอให้มีลักษณะคล้ายกับสิ่งทอชีวภาพ ซึ่งจะนำไปใช้ในวงการแพทย์ในรูปของไหมเพื่อเย็บแผลได้

โดยข้อดีหรือประโยชน์ของเส้นใยธรรมชาติที่ทำจากเซลล์ผิวหนังมนุษย์ที่ว่านี้ก็คือ เมื่อแพทย์นำไปใช้เย็บแผลแล้ว ไหมดังกล่าวจะสามารถละลายตัวและผสมผสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับอวัยวะของมนุษย์ได้ ไม่ว่าอวัยวะนั้นจะอยู่ด้านนอกร่างกายหรือเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในก็ตาม

เรื่องนี้นับว่าเป็นข่าวดี เพราะเท่าที่ผ่านมานั้นการใช้ไหมสังเคราะห์เพื่อเย็บแผลอาจจะถูกต่อต้านหรือปฏิเสธโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในฐานะที่เป็นสิ่งแปลกปลอม

และจากคุณลักษณะสำคัญที่ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์นี้ แพทย์ก็หวังว่าไหมเย็บแผลที่สร้างขึ้นจากเซลล์ผิวหนังมนุษย์จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งในแง่ของการสมานแผลบนผิวหนัง และการซ่อมแซมอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน

เพราะแพทย์สามารถใช้ไหมชีวภาพนี้ถักทอให้เป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ เช่น เป็นถุง เป็นท่อ หรือว่าเป็นวาล์วเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะปัญหาและการทำงานของอวัยวะซึ่งต้องการซ่อมแซม

การพัฒนาเส้นใยจากเซลล์ผิวหนังมนุษย์ที่สามารถนำมาถักทอให้เป็นไหมเย็บแผลแบบชีวภาพนี้ นับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าล่าสุดสำหรับวงการศัลยกรรม เพราะเมื่อปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนา "กาวชีวภาพ" ชนิดหนึ่งได้สำเร็จ

โดยกาวชีวภาพนี้จะทำงานในร่างกายหลังจากได้รับการกระตุ้นด้วยแสงเพื่อให้เริ่มกระบวนการสมานแผลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผลเก่าหรือแผลใหม่ก็ตาม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook