ซีอีโอหัวเว่ยกล่าว “ถ้ากูเกิลไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับหัวเว่ย เราก็มีแผนสำรองรอไว้อยู่แล้ว”

ซีอีโอหัวเว่ยกล่าว “ถ้ากูเกิลไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับหัวเว่ย เราก็มีแผนสำรองรอไว้อยู่แล้ว”

ซีอีโอหัวเว่ยกล่าว “ถ้ากูเกิลไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับหัวเว่ย เราก็มีแผนสำรองรอไว้อยู่แล้ว”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานคณะกรรมการบริหารของหัวเว่ย กล่าวกับ CNN เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า หากกูเกิลไม่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ให้กลับมาทำธุรกิจกับหัวเว่ย เทคโนโลยี่

ซึ่งจะเป็นการกีดกันไม่ให้ดีไวซ์รุ่นใหม่ ๆ ของหัวเว่ยใช้ Google Mobile Services (GMS) บริษัทก็จำเป็นต้องเอาอีโคซิสเต็มของตัวเองมาใช้แทน  “ผมเชื่อว่าในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า เราจะสร้างอีโคซิสเต็มที่จะใช้ร่วมกันทั่วโลกเองได้สำเร็จ” มร. เหริน กล่าว

มร. เหรินในวัย 75 ปีแสดงความคิดเห็นว่า นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากๆ ไม่ใช่แค่สำหรับหัวเว่ย แต่สำหรับพวกเราทุกคนด้วย เขาหวังว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะ “พักเรื่องการเมืองไว้ก่อน” และคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทอเมริกันเป็นหลัก

ceo--huawei

หัวเว่ยเชื่อมั่นในระบบโกลบอลซัพพลายเชนที่ทุกประเทศเกื้อหนุนกันเพื่อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย มร. เหริน กล่าวว่าเขานับถือสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่และทุกคนที่หัวเว่ยได้เรียนรู้อะไรมากมายจากความสำเร็จของสหรัฐฯ ความนับถือนั้นจะยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เพื่อความอยู่รอด บริษัทจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมในกรณีที่บริษัทอเมริกันไม่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งชิ้นส่วนให้หัวเว่ย

“หากบริษัทอเมริกันไม่ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจกับเรา เราก็ยังมีออปชั่นอื่น” มร. เหริน กล่าวยืนยันและเสริมว่า “และเมื่อเราพบว่าทางเลือกใหม่แข็งแกร่งพอและไว้วางใจได้ ผมคิดว่าเราอาจจะไม่กลับไปหาบริษัทอเมริกันแล้วก็ได้”

หลังจากสหรัฐฯ ประกาศแบนหัวเว่ยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนาและดำเนินธุรกิจเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันที่จะเป็นอิสระจากเทคโนโลยีของอเมริกาแบบ 100% เมื่อเดือนกรกฏาคม

 มร. จาง หมิงกัง รองประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ย ประเทศฝรั่งเศส ได้คาดการณ์ว่า วันประกาศอิสรภาพจะมาถึงในปี 2564 แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าหัวเว่ยจะบรรลุเป้าหมายนั้นเร็วกว่าที่คาดไว้มาก รายงานของ UBS และ Fomalhaut Techno Solutions พบว่า Huawei Mate 30 สมาร์ทโฟนแฟลกชิปรุ่นล่าสุดของหัวเว่ย ไม่ใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์จากอเมริกาเลย เช่นเดียวกับสถานีฐาน 5G อันล้ำสมัยของหัวเว่ย มร. เหริน กล่าวย้ำเมื่อเดือนกันยายนว่า ขณะนี้หัวเว่ยผลิตสถานีฐาน 5G ที่ปราศจากชิ้นส่วนของอเมริกาได้เดือนละ 5,000 ชุด เป็นการตอกย้ำว่าบริษัทอยู่ได้สบาย ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ

เมื่อผู้สื่อข่าว CNN ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากกูเกิลไม่ได้ใบอนุญาตให้ทำธุรกิจกับหัวเว่ย ซีอีโอของหัวเว่ย กล่าวว่า “เรามีแผนสำรองรอไว้อยู่แล้ว” พร้อมเสริมว่าหัวเว่ยมีความตั้งใจและมีศักยภาพมากพอที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนอันดับ 1 ของโลก

แต่ขั้นตอนดังกล่าวอาจ “ต้องใช้เวลาสักพัก” เขาได้เปิดเผยข้อมูลว่าบริษัทจะเร่งเครื่องวางกลยุทธ์เพื่อกลับเข้าสู่ตลาดต่างประเทศในปี 2563 โดย CNN ยังได้ขอความเห็นของ มร. เหริน เรื่องที่สหรัฐฯ พยายามล็อบบี้ไม่ให้ประเทศพันธมิตรในยุโรปใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ยในเครือข่าย 5G มร. เหริน ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าตนมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า “ทุกประเทศจะเห็นและตัดสินใจเลือกได้เอง”
 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook