เผยเทรนด์หลักของเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนในปี 2018

เผยเทรนด์หลักของเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนในปี 2018

เผยเทรนด์หลักของเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนในปี 2018
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เอชไอดี โกลบอล (HID Global) หนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการระบุและยืนยันตัวตน (Trusted identity solution) ระบุเทรนด์หลักของเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนในปี 2018

โดยบริษัทให้ความสำคัญกับการใช้ระบบคลาวด์และการเข้าถึงเครือข่ายการสื่อสารผ่านมือถือที่เพิ่มมากขึ้น การให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัย Internet of Things (IoT) และการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) เป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์หลักๆ ที่จะเป็นหัวใจของการพัฒนาประสบการณ์ในโลกแห่งการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาดและสื่อสารกันได้ดีขึ้นในปีนี้


เอชไอดี โกลบอลได้มองเห็นเทรนด์หลัก 5 ประการในปี 2018 ซึ่งจะช่วยให้องค์กรต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากระบบยืนยันตัวตนนี้

องค์กรต่างๆ ได้รับประโยชน์จากคลาวด์มากขึ้น

• การรับรู้และเข้าใจต่อระบบคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็นความง่ายในการใช้งาน ความยืดหยุ่น ตัวเลือกการเชื่อมต่อ และประโยชน์ด้านผลิตภาพจะทำให้เกิดการยอมรับมากขึ้น แพลตฟอร์มระบบควบคุมการเข้าถึงคลาวด์ด้วย APIs และ SDKs จะเป็นตัวขับเคลื่อนซอฟต์แวร์โซลูชั่นใหม่ๆ ที่จะเพิ่มทางเลือกให้องค์กรต่างๆ ให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน การออกบัตรผ่านระบบคลาวด์จะดึงดูดลูกค้าเนื่องจากความง่ายต่อการใช้งาน รวมถึงโครงสร้างด้านความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย ขณะภาครัฐกำลังพิจารณาว่าสามารถใช้บัตรยืนยันตัวตนของพลเมืองผ่านระบบคลาวด์ได้หรือไม่
• จากนี้ การยืนยันตัวตนและการจัดการข้อมูลประจำตัวผ่านคลาวด์จะเชื่อมกับโทรศัพท์มือถือ บัตรและชิปแบบต่างๆ ตลอดจนระบบประเภท machine-to-machine endpoint มากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (digital certificate) ใน IoT จะใช้ประโยชน์จากบริการยืนยันตัวตนบนคลาวด์เพื่อจัดส่งและจัดการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์สื่อสารจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน

อุปกรณ์สื่อสารและสภาพแวดล้อมที่เชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นจะเพิ่มความสำคัญแก่การรักษาความปลอดภัยของ IoT
 
• ใบรับรองดิจิทัลจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มความเชื่อถือให้แก่ IoT โดยการสร้างรหัสประจำตัวดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกันให้กับเครื่องพิมพ์และเครื่องเข้ารหัส โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต กล้องวิดีโอ และระบบอัตโนมัติในอาคาร รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เช่น รถและอุปกรณ์ทางการแพทย์
• “read” ในระบบปฏิบัติการ Apple iOS 11 ที่รองรับ NFC จะช่วยกระตุ้นการใช้ระบบต่างๆ บน IoT เช่นการปกป้องแบรนด์ กลยุทธ์สร้างความภักดีของลูกค้า และกรณีอื่นๆ ที่ต้องการเพิ่มความปลอดภัยใน IoT

การเข้าถึงเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นตัวจุดกระแสการใช้งานในตลาดมวลชน

• ในปี พ.ศ. 2560 เป็นปีที่การเข้าถึงโทรศัพท์มือถือสูงสุดเป็นประวัติการ และจะดำเนินการต่อไปยังปี พ.ศ. 2561 ด้วย การเติบโตของโซลูชั่นสำหรับมือถือและการรวมเข้ากับระบบอื่นๆ ตลอดจนความสามารถของมือถือในการเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และให้ความปลอดภัยที่สูงขึ้น จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของการใช้โทรศัพท์มือถือและการนำไปใช้งานจนกลายเป็นเทคโนโลยีกระแสหลัก
• NFC Card Emulation Mode ที่พัฒนามาเพื่อควบคุมการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือยังคงสงวนสิทธิ์เฉพาะสำหรับผู้ใช้ Apple Pay ทำให้บลูทูธยังคงเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่รองรับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สื่อสารข้ามแพลตฟอร์มกันได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรต่างๆ กำลังลงทุนพัฒนาระบบอ่านข้อมูล (reader) และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่รองรับ NFC และ BLE เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นไปได้ในอนาคต

การบรรจบกันระหว่างความปลอดภัยทางดิจิทัลและกายภาพ

• คอนเซ็ปต์ของการจัดการการเข้าถึงและการระบุตัวตนทางกายภาพ (PIAM) จะช่วยสนับสนุนความปลอดภัยทางดิจิทัลและกายภาพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างตัวตนศูนย์กลางแก่กรณีต่างๆ รัฐบาล ภาคการเงิน ภาคพลังงาน และตลาดที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายจะกลายเป็นผู้บุกเบิกการใช้โซลูชั่นเหล่านี้เพื่อเข้าถึงอาคาร อีเมล์ เว็บไซต์ และ VPN อย่างปลอดภัย
• โมเดลใหม่ในการรวมข้อมูลประจำตัวเป็นรหัสเดียวกัน ซึ่งใช้ระบบตรวจสอบความถูกต้องบนคลาวด์และอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น ความสามารถในการตรวจสอบสถานะของบุคคลว่าอยู่ในสถานที่นั้นๆ หรือไม่ รหัสประจำโทรศัพท์มือถือที่ใช้ยืนยันบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงได้ และบัตรสมาร์ทการ์ดที่ตรวจสอบสิทธิ์ผู้ใช้กับทรัพยากรขององค์กร

Data analytics จะช่วยขับเคลื่อนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกบนฐานความเสี่ยงเพื่อกำหนดรูปแบบการคาดการณ์และสร้างขีดความสามารถใหม่ๆ

• อุปกรณ์ ระบบควบคุมการเข้าถึง แอ็พพลิเคชั่น IoT และโซลูชั่นอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์จะให้ข้อมูลที่แม่นยำสำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูง ข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์เหล่านี้สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโซลูชั่นบริหารจัดการเวิร์กโฟลว์และให้การเข้าถึงที่ราบรื่นยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้ปลายทาง
• การวิเคราะห์ข้อมูลแบบคาดการณ์และไบโอเมตริกส์ (biometrics) จะมีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยแบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (people-centric security) และตอบสนองความต้องการของพนักงานในเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ทำงานเพื่อส่งมอบบริการระดับพรีเมียมและสอดคล้องกับผู้ใช้แต่ละคนมากขึ้น นอกจากนี้ Analytics ยังช่วยลด downtime ในองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบอัตโนมัติในโรงงาน และเอื้อต่อการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และมาตรฐานต่างๆ ให้มากขึ้น ผ่านการตรวจติดตามสภาพที่อิงกับตำแหน่งที่ตั้งแบบเรียลไทม์และโซลูชั่นการตรวจจับความเคลื่อนไหวต่างๆ




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook