เข้าสู่เขต ‘พื้นที่หวงห้าม’
เข้าสู่เขต ‘พื้นที่หวงห้าม’
มีเพียงไม่กี่คนที่ได้ติดตามเรื่องราวของฟูกุชิมะอย่างใกล้ชิดมากเท่ากับ Jeremy Suttun-Hibbert ผู้ซึ่งเข้าไปสู่พื้นที่หวงห้ามเพื่อทำสารคดีเกี่ยวกับผลกระทบของมัน
คุณลงหลักปักฐานอยู่ที่ญี่ปุ่นมาแล้ว 9 ปี อะไรที่ทำให้ให้คุณไปยังที่นั่น และทำไมตอนนี้คุณจึงตัดสินใจย้ายกลับไปสก็อตแลนด์?
ผมก็เหมือนๆ กับอีกหลายคนที่เดินทางไปญี่ปุ่นนั่นแหละ ก็คือไปเพื่อความรัก ผมได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นภรรยาของผม และตอนแรกผมก็เดินทางไปที่นั่นเพื่อที่จะอยู่กับเธอ หลังจาก 9 ปีผ่านไป ผมก็อยากจะกลับไปยังสก็อตแลนด์บ้านเกิดของผม ที่นี่เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมาก มีอะไรเกิดขึ้นมากมาย และผมก็ต้องการที่จะมาถ่ายรูปที่นี่อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นหายนะที่เกิดขึ้น 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหว สึนามิ และมหันตภัยนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นได้ทำให้ผมและภรรยาต้องใคร่ครวญอย่างรอบคอบ ว่าเราต้องการจะอยู่ที่ไหนกันแน่ เราต้องการจะทำอะไร และยังเป็นเรื่องความปลอดภัยของลูกสาววัย 5 ขวบของเราด้วย
คุณกำลังทำอะไรอยู่ที่ญี่ปุ่นช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิตอนนั้น?
ตอนที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นนั้น ผมกำลังอยู่ในย่านกลางกรุงโตเกียว และทันใดนั้นผมก็รู้ว่ามันใหญ่กว่าและรุนแรงมากกว่าที่ผมเคยพบมาก่อนเยอะ โชคยังดีที่ผมมีกล้องติดตัวอยู่และผมก็ได้ถ่ายภาพตามท้องถนนก่อนที่แผ่นดิน ไหวจะจบเสียอีก ผมใช้เวลาอีกราว 2 ชั่วโมงหลังจากนั้นในการถ่ายภาพผู้คนที่หลั่งใหลลงมาจากอาคารสำนักงานมายัง ท้องถนน และพบว่าไม่สามารถไปไหนได้เนื่องจากขนส่งสาธารณะทุกแห่งถูกปิด จากนั้นผมก็ค่อยๆ เดินทางกลับบ้านเพื่อพบกับครอบครัวและส่งภาพที่ผมเพิ่งจะถ่ายไป
วันต่อมาผมได้เดินทางขึ้นไปทางเหนือมุ่งไปยังพื้นที่ที่เกิดสึนามิพร้อม กับเพื่อนนักข่าวคนอื่น เมื่อพวกเราเข้าไปใกล้ฟูกุชิมะ เราได้ยินมาว่าโรงงานนิวเคลียร์ซึ่งอยู่บนถนนถัดจากเราไปเล็กน้อยเกิดระเบิด ขึ้น บางคนในทีมก็ยังเดินทางต่อไป แต่ผมรวมถึงเพื่อนร่วมงานมุ่งหน้ากลับโตเกียว เนื่องจากไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลของการระเบิดและการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
คุณได้กลับมาอีกในปีนี้เพื่อทำสารคดีเกี่ยวกับว่าผู้คนและสถานที่ ต่างๆ รอดพ้นหายนะมาได้อย่างไร คุณพอจะอธิบายได้ไหมว่าในพื้นที่หวงห้ามตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง?
ผมได้กลับไปยังพื้นที่โทโฮคุอีกหลายครั้ง โดยไปยังบริเวณที่ถูกสึนามิและยังไปที่ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ‘พื้นที่หวงห้าม’ หรือ ‘the zone’ ดังที่เราอ้างถึง
ในบริเวณที่ถูกสึนามินั้น เมืองแต่ละเมืองต่างก็ได้จัดการกับหายนะในแบบของตัวเอง บางเมืองก็สามารถเก็บกวาดซากปรักหักพังทั้งหลายได้ค่อนข้างรวดเร็ว และถึงกับเริ่มก่อสร้างขึ้นใหม่เลยด้วยซ้ำ ในเมืองอื่นๆ นั้นยังมีเศษซากทั้งหลายอยู่ และดูราวกับว่ามีความคืบหน้าไปเล็กน้อยมาก แต่ทุกคนแสดงออกถึงบุคลิกที่น่าประทับใจและพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อที่จะ ดำเนินชีวิตต่อไป และจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ในพื้นที่หวงห้ามของปรมาณูหรือในเขตรัศมี 20 กม.รอบๆ โรงงานฟูกุชิมะไดอิจิได้มีการอพยพทุกๆ คนออกไป ภายในพื้นที่นั้นดูราวกับว่าเวลาได้หยุดนิ่ง ยังมีรถยนต์พลิกหงายท้องอยู่ตามทุ่ง อันเป็นผลจากคลื่นสึนามิ และหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2011 ยังคงวางอยู่ด้านนอกร้านขายหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้ผมรู้สึกแปลกๆ และหลอนอยู่บ้างเล็กน้อย
ในฐานะที่เป็นช่างภาพ คุณต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดอะไรบ้าง?
เนื่องจากบริเวณที่ถูกสึนามินั้นเป็นบริเวณกว้าง การเดินทางไปทั่วบริเวณนั้นจึงได้รับการอนุญาตโดยเสรี แต่การเข้าไปสู่พื้นที่หวงห้ามปรมาณูนั้นถูกควบคุมจากการปิดถนนของตำรวจ และหากคุณเข้าไปยังพื้นที่นั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็อาจจะได้รับอันตรายจากเหตุอาชญากรรมและอาจถูกปรับได้ ผมสามารถเข้าไปยังพื้นที่ได้ 3 ครั้งจากการทำงานที่แตกต่างกัน แม้ว่าคุณจะต้องถูกนำเข้าไปโดยคนซึ่งได้รับอนุญาตหรือจากหน่วยงานให้ทำได้ เท่านั้น มีครั้งหนึ่งที่ผมเข้าไปพร้อมกับคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่กลับไปตรวจดูสัตว์เลี้ยงของเขา และอีกครั้งหนึ่งผมได้เข้าไปกับตำรวจที่เข้าไปตรวจสถานที่ มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ต้องใช้เวลาในการเข้าไป หรือต้องหาช่องทางที่ถูกต้องในการเข้าไป แม้กระทั่งเมื่อคุณได้เข้าไปแล้ว คุณก็จะได้มีเวลาอยู่เพียง 2 ชั่วโมงในแต่ละครั้งเท่านั้น ยังไงก็แล้วแต่มันเป็นพื้นที่ที่มีสารปนเปื้อนอยู่ในระดับสูง และผมก็ไม่อยากจะใช้เวลาอยู่ที่นั่นนานเกินไปอยู่ดี
คุณสามารถถ่ายภาพได้อย่างปลอดภัยได้อย่างไรในพื้นที่ซึ่งปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีขนาดนั้น?
คุณต้องเร็วและเดินทางไปพร้อมกับเครื่องป้องกันที่เหมาะสม ผมใส่รองเท้าบูตซึ่งสามารถล้างได้โดยง่าย และชุด Tyvek ซึ่งสวมทับเสื้อผ้าของผม และถูกทำลายอย่างเหมาะสมตอนที่ออกจากพื้นที่ นอกจากนั้น ผมยังนำเครื่องวัดกัมมันตภาพรังสีติดตัวไปด้วยเพื่ออ่านค่ารังสี และยังมี dosimeter ที่บันทึกว่าผมได้รับกัมมันตภาพรังสีไปเท่าไรแล้ว ผมได้เอา dosimeter ติดตัวไปทุกๆ ครั้ง และมันก็จะบันทึกการได้รับรังสีของผมไปเรื่อยๆ ผมได้รับ dosimeter เป็นอภินันทนาการจากกรีนพีซอันเป็นลูกค้าของผมเอง และเครื่องพวกนี้ก็คอยบันทึกระดับการได้รับรังสีของผม
ผมยังพยายามอยู่บนพื้นยางมะตอยหรือบนพื้นที่แข็งๆ ซึ่งฝนอาจชะกัมมันตภาพรังสีออกไปบ้างแล้ว การเดินเหยียบทราย หรือกรวดทราย หรือลงไปในโคลน อาจนำไปสู่การปนเปื้อนในระดับสูงในรองเท้าของคุณได้
คุณแน่ใจได้อย่างไรว่าอุปกรณ์กล้องของคุณ ‘สะอาด’ แล้ว?
ผมเดินทางแบบเบาๆ โดยเอาอุปกรณ์ไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมได้สะพายกล้อง Canon ไป 2 ตัว ได้แก่ 5D และ 1D Mark III ซึ่งติดเข้ากับเลนส์ 16-35 มม. f/2.8L II USM และ 70-200 มม. f/2.8L IS USM ผมต้องคอยดูไม่ให้กล้องต้องสัมผัสกับอะไร หรือเอาไปวางไว้บนพื้นซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้อาจจะได้รับกัมมันตรังสีปนเปื้อน ได้ และหลังจากออกจากพื้นที่หวงห้ามนี้แล้ว พวกอุปกรณ์ทั้งหลายจะต้องถูกเช็ดทำความสะอาดด้วยกระดาษแบบเปียกซึ่งจะถูกนำ ไปกำจัดทิ้ง ถ้าหากผมอยู่ที่สถานีตรวจเช็คซึ่งผมจะต้องผ่านเครื่องตรวจกัมมันตภาพรังสี ด้วยนั้น ผมจะต้องนำอุปกรณ์กล้องผ่านการสแกนด้วย
เมื่อต้องลงพื้นที่อันตรายซึ่งมีขนาดใหญ่ขนาดนั้น คุณเริ่มต้นที่จะหาภาพอย่างไร?
ในพื้นที่หวงห้ามปรมาณูค่อนข้างจะยากในการเล่าเรื่องนะ เราไม่สามารถเห็น ชิม ดม หรือว่าได้ยินรังสีได้เลย แต่ผมพยายามที่จะหาในแง่มุมของคน ผมได้ถ่ายภาพชาวนาที่กำลังกลับไปดูแลสัตว์เลี้ยงของเขาซึ่งเขาไม่สามารถจะทน ทำลายพวกมันได้ หรือผมก็ถ่ายภาพตำรวจที่กำลังเดินลาดตระเวน เดินค้นหาข้างหลังซากบ้านปรักหักพัง หรือเดินเข้าไปท่ามกลางชิงช้าและกระดานลื่นภายในสนามเด็กเล่น แม้ว่าบริเวณดังกล่าวจะว่างเปล่า แต่คุณก็ต้องสื่อสารความรู้สึกของการสูญเสียออกมาให้ได้ ทั้งการสูญเสียของผู้คนและของชุมชน
ผู้คนซึ่งคุณได้พบ เรื่องราวที่คุณได้ยิน สิ่งไหนที่โดดเด่นออกมามากที่สุด?
ทุกเรื่องราวที่ได้ยินมานั้นมันช่างน่าสนใจมากๆ แต่ก็เจือไปด้วยความเศร้าอีกด้วย บางทีเรื่องที่เศร้าที่สุดเป็นเรื่องของโรงเรียนประถม Okawa เด็กนักเรียนและคุณครูรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาได้ แต่หลังจากนั้น จากการที่มีรายงานว่าครูเกิดลังเลไม่ตัดสินใจว่าจะอพยพไปไหน ทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ และสึนามิก็พัดถล่มเข้ามา ทำให้เด็ก 74 คนรวมถึงครูเสียชีวิตไป ผมต้องไปที่แห่งนั้น 2-3 หนเพื่อไปเยี่ยมและถ่ายรูปแม่ 2 คนซึ่ง 1 ปีหลังจากเกิดโศกนาฏกรรม พวกเธอยังคงขุดโคลนเพื่อค้นหาร่างของลูกๆ ของพวกเธออยู่
ผมยืนอยู่ตรงนั้นในขณะที่หิมะในยามบ่ายของเดือนมกราคมที่หนาวเย็นกำลัง โปรยปรายลงมา ฟังแม่คนหนึ่งอธิบายว่า ลูกของเธอจะต้องเหน็บหนาวขนาดไหนที่ก้นลึกของแม่น้ำ ในขณะที่เธอกำลังค้นหาร่างของพวกเด็กๆ ด้วยเครื่องขุด JCB มันเป็นช่วงเวลาที่สุดสะเทือนใจและทำให้ผมต้องเสียน้ำตา หลังจากนั้นไม่นาน แม่ได้นำกาแฟร้อนจากรถยนต์ของเธอมาให้พวกนักข่าวรวมถึงผมด้วย ความใจดีและเป็นมิตรของเธอนั้นช่างสุดยอดจริงๆ
01 Deserted Town of Namie
เนื่องมาจากตัวเมืองและพื้นที่หวงห้ามทั้งหลายไม่มีใครอยู่เลย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องออกตรวจตราเพื่อป้องกันอาชญากรรมและโจร ผู้ร้ายในบริเวณที่อยู่อาศัยและสำนักงานที่ปราศจากผู้คน
02 Indoor Playtime
เด็กในโรงเรียนอนุบาลเล่นอยู่ใน ‘Smile Park’ ของสภากาชาด เป็นสนามเด็กเล่นที่สร้างขึ้นมาสำหรับเด็กๆ ในฟูกุชิมะได้เล่นอย่างสนุก โดยพวกเด็กเหล่านี้ไม่สามารถเล่นนอกสถานที่อย่างปลอดภัยได้เนื่องจากสาร กัมมันตภาพรังสี
03 Protection
Jeremy ซึ่งอยู่ในชุด Tyvek เพื่อป้องกัน กำลังถ่ายภาพพื้นที่หวงห้ามปรมาณูเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
04 Back to the Farm
Yukio Yamamoto กลับไปที่รถของเขาหลังจากปล่อยวัว Wagyu ไปสู่สถานที่ที่ไม่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีระหว่างการกลับไปเยือนฟาร์ม ของเขาครั้งหนึ่ง ภายในพื้นที่หวงห้ามปรมาณู 20 กม.
05 On Patrol
นายสิบตำรวจ Yabuki Koshin และพลตำรวจ Kanno Tomoyasu เดินตรวจตรารอบๆ พื้นที่โรงเรียนอนุบาล Obori ในระหว่างเดินตรวจการณ์ในเมือง Namie ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่หวงห้าม
06 Lost
Futoshi Toba ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีของเมือง Rikuzentakatata ยืนอยู่ท่ามกลางแผ่นดินว่างเปล่าซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเมือง เขาได้สูญเสีย Kumi ภรรยาของเขาไปในโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวและสึนามิ
07 Anti-nuclear Demo
“การประท้วงต่อต้านปรมาณูเป็นเรื่องที่น่าทำข่าวมากในโตเกียว สำหรับคนญี่ปุ่นจำนวนมาก การประท้วงนี้เป็นการประท้วงครั้งแรกของพวกเขา และการประท้วงบางเหตุการณ์ก็มีขึ้นเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศความสุขให้เกิด ขึ้นเพื่อดึงดูดบรรดาครอบครัวและพวกวัยรุ่น”
08 Isolated
พระ Ryuko Ishikawa สวมชุดป้องกันยืนอยู่ในหมู่บ้าน Litate นอกพื้นที่หวงห้าม แต่ยังได้รับกัมมันตภาพรังสีในระดับสูงและตอนนี้ก็ร้างปราศจากผู้คน