Stadium One ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สายสปอร์ตรวมไว้ที่นี่ที่เดียว

Stadium One ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สายสปอร์ตรวมไว้ที่นี่ที่เดียว

Stadium One ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สายสปอร์ตรวมไว้ที่นี่ที่เดียว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ทุกวันนี้หันไปทางไหนก็เห็นแต่คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น และขยายความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเทรนด์สุดฮอต โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่เน้นอาหารการกินที่ดีต่อสุขภาพ รวมไปถึงการเข้าฟิตเนสและออกกำลังกาย ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่นิยมอย่างมากในปีนี้ ก็คือ “การวิ่ง” ซึ่งเป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เยอะ และยังช่วยเรียกเหงื่อให้กับคนรักสุขภาพเป็นอย่างดี ส่งผลให้ธุรกิจสายสปอร์ตบูมตามไปด้วย

     อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า แม้การวิ่งจะดูเป็นเรื่องธรรมดาของสายสุขภาพ แต่นักวิ่งทุกคนไม่ได้ต้องการสิ่งเดียวกันนักวิ่งสายสปอร์ตที่รักการวิ่งอย่างจริงจังนั้นต่างกับนักวิ่งสายดูแลสุขภาพ ส่วนจะแตกต่างกันขนาดไหนและมีผลต่อสายกีฬายังไงบ้าง เรามาเจาะลึกไปด้วยกันดีกว่า

 

     กลุ่มนักวิ่งสายสปอร์ตและกลุ่มนักวิ่งสายดูแลสุขภาพ ต่างกันตั้งแต่แนวคิดที่มีต่อการวิ่ง เนื่องจากกลุ่มสายสปอร์ตจะจริงจังกับการวิ่งและรักการวิ่งเป็นชีวิตจิตใจ จึงมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งการวิ่งแต่ละครั้งอาจเพื่อซ้อมสำหรับสนามใหญ่อย่างการวิ่งมาราธอน ทำให้การวิ่งแต่ละครั้งของกลุ่มนี้ต้องเพิ่มทั้งระยะทางและความเร็วมากขึ้น มากกว่านั้นพวกเขาส่วนใหญ่จะใส่ใจรายละเอียดในเรื่องการวิ่งค่อนข้างมาก ตั้งแต่ลู่วิ่งที่ต้องมีพื้นผิวที่ค่อนข้างเสถียรหรือรองเท้าได้คุณภาพตอบรับลักษณะการวิ่งและมี ฟังก์ชั่นการใช้งานเต็มรูปแบบโดยนิยมซื้อจากร้านที่เชื่อถือได้ มีสินค้าสำหรับนักวิ่งโดยเฉพาะและเป็นร้านที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ

     วิกรานต์ ปอแก้ว ผู้เขียนหนังสือ “ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล” หนึ่งในนักวิ่งสายมาราธอนที่เคยจริงจังมาตั้งแต่ช่วง 3-4 ปีก่อนที่การวิ่งจะกลายเป็นเทรนด์สุดฮอตแบบในปัจจุบัน ได้เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นในการวิ่งมาราธอนว่า “ผมไม่ได้วิ่งมาราธอนเพราะต้องการออกกำลังกาย แต่มันคือการตั้งเป้าหมายและทำให้สำเร็จ อย่างการวิ่งฟูลมาราธอน 42.195 กิโลเมตร มีแค่ใจอย่างเดียวไม่ได้ แต่คุณต้องฝึกฝน มีวินัย มีความตั้งใจอย่างจริงจัง และที่สำคัญคนวิ่งมาราธอนอย่างเรามักจะมีแรงผลักดันอะไรบางอย่าง” สำหรับเขาแรงผลักดันที่ว่ามาจากหนังสือเรื่องเกร็ดความคิดบนก้าววิ่งของ Haruki Murakami ที่กล่าวว่า ‘เวลาที่เขาวิ่งคือช่วงเวลาแห่งความสงบ’

 

     “ตอนแรกผมไม่เข้าใจประโยคนี้ แต่พอได้วิ่งจริงๆ มันเหมือนเราได้อยู่กับตัวเอง เพราะช่วง 4-5 ชั่วโมงที่ปกติคุณจะได้คุยกับคนอื่น แต่นี่คุณต้องวิ่งอยู่กับตัวเอง ไม่ได้คุยกับใคร มันเหมือนการทำสมาธิอีกแบบหนึ่ง เพียงแต่คุณกำลังขยับอยู่ ถ้าเราไม่โอเคไม่มีเป้าหมายกับการทำแบบนี้  เราอาจจะเกลียดตัวเองไปเลยและอาจจะเบื่อหน่ายจนไม่อยากทำมันอีกเลยก็ได้”

     “ที่สำคัญคือชั่วโมงที่เราวิ่งอยู่ อะไรก็เป็นปัญหาได้ทั้งหมด อย่างเช่น เราวิ่งไป แล้วมีเศษหินเล็กๆ มาจิ้มเท้าเรา หรือถุงเท้าที่หลวมเกินไป หรือแน่นเกินก็เป็นปัญหาหมด เพราะเราบาดเจ็บได้ตลอดเวลา ผมจึงให้ความสำคัญกับรองเท้าและถุงเท้ามาก”

     ความจริงจังของกลุ่มสายสปอร์ตจึงมีความต่างจากกลุ่มที่วิ่งเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการวิ่งเพื่อให้ตัวเองมีสุขภาพดีจึงให้นิยามการวิ่งเป็นเพียง “การออกกำลังกาย” อีกรูปแบบหนึ่ง คุณวิกรานต์บอกเราว่า ตอนนี้เขาวิ่งมาราธอนน้อยลง อย่างน้อยปีละครั้ง เพราะมองว่าทุกวันนี้คนวิ่งเพราะเป็นกระแส และสนามมาราธอนที่จัดกันเป็นประจำทุกวันนี้ไม่ได้มาตรฐานเหมือน 3-4 ปีที่แล้ว โดยผันตัวเองมาเป็นนักวิ่งเพื่อสุขภาพมากขึ้น แต่ยังคงวิ่งเป็นประจำ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายรูปแบบอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ

 

     กลุ่มนักวิ่งรักสุขภาพหลายคนมักจะวิ่ง 5-10 กิโลเมตรต่อวัน หรือบางคนอาจมากกว่านั้น โดยอาจจะวิ่งอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเข้าฟิตเนส เวทเทรนนิ่ง บางคนยังดูแลตัวเองด้านอื่นควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ทั้งอาหารคลีน อาหารออร์แกนิก ไม่เว้นแม้แต่ความนิยมซื้อสินค้าในกีฬาวิ่งจากแบรนด์ชื่อดัง ซึ่งแม้จะเน้นเรื่องการใช้งาน อย่างเลือกรองเท้า Running โดยเฉพาะ แต่ก็มักจะเลือกจากดีไซน์และความสวยงามมาเป็นอันดับแรกด้วย โดยส่วนมากมักนิยมไปวิ่งในสถานที่ที่เดินทางสะดวก ยิ่งถ้าที่ไหนมีที่ให้บริการที่หลากหลายครบในที่เดียวก็จะเป็นตัวเลือกที่จะพิจารณาในการไปใช้บริการเป็นอันดับต้นๆ

     จะเห็นได้ว่าแม้จะรักในการวิ่งเหมือนกัน แต่ความต้องการของทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่แค่นักวิ่งที่ควรรู้ไว้เพื่อเลือกสิ่งที่ใช่ให้ตัวเอง แต่การตอบโจทย์พวกเขาให้ตรงจุดก็เป็นเรื่องสำคัญต่อเหล่าผู้ทำธุรกิจ คงจะดีไม่น้อย หากแบรนด์และร้านค้าต่างๆ สามารถตอบโจทย์นักวิ่งทั้งสองแบบได้อย่างครบครัน ทำให้กลุ่มนักวิ่งออกวิ่งได้อย่างเต็มที่และได้รับผลตามที่คาดหวัง ส่งผลระยะยาวให้อยากกลับมาหาแบรนด์ซ้ำอีก หรือที่เรียกกันว่าเกิด Brand Loyalty (ความภักดีในตราสินค้า) นั่นเอง

 

     ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแรงด้วย เช่น การเลือกพื้นที่ที่สามารถนำเสนอ“คำตอบที่ถูกใจ”ให้แก่นักวิ่งทั้งหลายได้ อาทิ Stadium One ไลฟ์สไตล์ สปอร์ตคอมมูนิตี้แห่งแรกของประเทศไทย ที่นำแนวคิดนี้มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบโครงการให้เป็นสถานที่ออกกำลังกายสำหรับนักวิ่งทั้งสองกลุ่มอย่างแท้จริง ภายในยังมีร้านอุปกรณ์การออกกำลังกายชื่อดังหลากหลายแบรนด์มารวมไว้ และอยู่ใกล้อุทยานฯ 100 ปี จุฬาฯ รวมไปถึงสนามศุภฯ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสายวิ่งจริงจังหรือวิ่งเพื่อสุขภาพก็สามารถมาใช้ร่วมกันได้ ในทางธุรกิจแบรนด์หรือร้านค้าเองก็ทำการตลาดได้ง่ายขึ้นเพราะตอบโจทย์ครบทุกจุด เรียกว่าวิน-วินกันทุกฝ่าย

 

     นอกจากการวิ่งที่ Stadium One ให้ความสำคัญแล้ว ที่นี่ยังมีอาคารที่มีสตูดิโอสำหรับออกกำลังกายที่แตกต่างกันกว่า 30 ห้อง และยังมีห้องฟิตเนสไว้บริการ ร่วมกับโซนอาหารที่มีทั้งร้านอาหารชั้นนำ ร้านกาแฟ ไปจนถึงร้านอาหารสำหรับคนรักสุขภาพด้วย

     สายวิ่งรู้แล้วเตรียมสวมรองเท้ารอได้เลย เพราะเรากำลังจะได้สัมผัสไลฟ์สไตล์ครบวงจรในพื้นที่ที่ดีที่สุดของสายสปอร์ตจุดเช็กอินใหม่ที่คนกรุงเทพฯห้ามพลาดที่ Stadium Oneไลฟ์สไตล์สปอร์ตคอมมูนิตี้

     ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook : stadiumonebkk และเว็บไซต์ http://www.stadiumone.net/

 

 

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook