เตือน! “แบคทีเรียดื้อยา 12 ชนิด” น่ากลัวไม่แพ้ไวรัสซิก้า-อีโบล่า

เตือน! “แบคทีเรียดื้อยา 12 ชนิด” น่ากลัวไม่แพ้ไวรัสซิก้า-อีโบล่า

เตือน! “แบคทีเรียดื้อยา 12 ชนิด” น่ากลัวไม่แพ้ไวรัสซิก้า-อีโบล่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) ประกาศเตือนอันตรายจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ที่เรียกว่า ซูเปอร์บั๊ก จำนวน 12 ชนิด พร้อมระบุว่า เชื้อดังกล่าวเป็นภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ พร้อมเร่งเตือนให้ผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยยา หาทางควบคุมและจัดการกับเชื้อดื้อยาเหล่านี้ให้ได้โดยเร็ว เพราะถือเป็นเชื้อโรคที่อันตรายมากที่สุด

ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีเชื้อแบคทีเรียดื้อยา เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก สาเหตุหลักๆ เกิดจากการใช้ยาต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือ แอนตี้ไบโอติก กันมากเกินไป ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพบางรายพิจารณาว่า เชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์เหล่านี้ มีความน่ากลัวไม่แพ้ไวรัสซิก้า และอีโบล่า เลยทีเดียว

Dr. Marie-Paule Kieny ผู้ช่วยผู้อำนวยการขององค์การอนามัยโลก บอกว่า ขณะนี้ทางเลือกในการจัดการเชื้อแบคทีเรียดื้อยา หรือซูเปอร์บั๊ก หมดไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการค้นหายาชนิดใหม่อย่างเร่งด่วน และพัฒนาขึ้นมาใช้ให้ทันเวลา

Sally C.Davies ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จากอังกฤษ ได้อธิบายว่า เชื้อดื้อยาถือเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ต้องเร่งแก้ไข และ Dr.Thomas R.Frieden ผู้เชี่ยวชาญอดีตผู้อำนวยการของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ก็บอกว่า ซูเปอร์บั๊ก นี้ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่ร้ายแรงมากที่สุดในแวดวงการรักษาสุขภาพ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หน่วยงานด้านควาปลอดภัยของอาหาร และศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคในยุโรป ประมาณการณ์ว่า ซูเปอร์บั๊กทำให้ชาวยุโรปต้องเสียชีวิตไปปีละประมาณ 25,000 คน และทางสหรัฐอเมริกา ก็คาดว่า คนอเมริกัน ต้องตายไปเพราะเชื่อเหล่านี้ ปีละ 23,000 คนเช่นกัน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มากแทบจะเท่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่เกิดขึ้นประมาณปีละ 38,000 คนแล้ว

การเสียชีวิตเพราะเชื้อแบคทีเรียดื้อยานี้ ส่วนมาก เกิดขึ้นกับคนไข้สูงอายุ ที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และตามศูนย์ดูแลผู้ป่วย นอกจากนั้นยังมีกลุ่มผู้ที่เปลี่ยนอวัยวะ และคนไข้โรคมะเร็งที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย แต่สำหรับกลุ่มคนอายุน้อย ก็พบเช่นกัน มีการศึกษาข้อมูลจากโรงพยาบาลเด็ก 48 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา พบการติดเชื้อ และการดื้อยา ในเด็กเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าในเวลาเพียงแค่ 8 ปี ซึ่งนับว่าเป็นแนวโน้มที่ไม่ดีนัก

virus


องค์การอนามัยโลก ได้จัดอันดับความร้ายแรงของเชื้อโรค โดยบอกว่า เชื้อดื้อยาในกลุ่ม คาร์บาเพเนม (Carbapenem) อย่าง อะซินีโตแบ็กเตอร์ บอมมานนิไอ (Acinetobacter baumannii) ,ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา(Pseudomonas aeruginosa) และเชื้อในกลุ่มของเอนเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacteriaceae) เป็นกลุ่มที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะอยู่ในภาวะวิกฤติ เชื้อเหล่านี้ดื้อทั้ง คาร์บาเพเนม และ เซฟาโลสปอริน เจนเนอเรชั่นที่ 3

เชื้อในกลุ่ม เอนเทอโรแบคทีเรียซีอี นั้น จะมีชื่อที่คุ้นเคย เช่น อีโคไล (E.coli) และ ซาลโทเนลล่า ( Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่มีอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ และสัตว์ สามารถก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ และยังมีเชื้อ เยอซิเนีย แพสทิซ (Yersinia pestis) ที่เป็นสาเหตุของกาฬโรคด้วย และยาคาร์บาเพเนม และ เซฟาโลสปอริน ก็เป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียก ทั้งสองชนิดนี้ จะไปทำลายผนังเซลของเชื้อแบคทีเรีย

นอกจากในกลุ่มที่ถือว่าสถานการณ์วิกฤติแล้ว องค์การอนามัยโลก ยังจัดกลุ่มที่ต้องจัดการในอันดับถัดมาว่า เป็นกลุ่มเร่งด่วนอย่างสูง ได้แก่ สแตฟฟิโลคอกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) หรือที่เรียกกันว่า MRSA ซึ่งเป็นเชื้อที่ดื้อยา เมธิซิลิน (Methicillin) และเชื้อ ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) ซึ่งทำให้เป็นโรคหนองใน

สำหรับกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มเร่งด่วนปานกลาง ซึ่งเป็นเชื้อ สเตรปโตคอกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumonia) ฮีโมฟิลัส อินฟลูเอนซาอี (Haemophilus influenza) และ ชิเจลลา(Shigella) เชื้อเหล่านี้ ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในเด็ก แต่ปัจจุบันเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้ว ส่วนใหญ่ ยังแก้ไขได้ แต่แพทย์ก็เกรงว่าในผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ จะเกิดอาการดื้อยาได้

superbug


Dr.Kieny กล่าวอีกว่า ยาต่อต้านเชื้อแบคทีเรียใหม่ๆ เริ่มที่จะขาดแคลน เพราะในช่วง 70 ปี ของการวิจัยพบว่า การหายาใหม่ๆ นั้น ทำได้ยาก บริษัทผู้ผลิตยา ก็ไม่ได้มีกำไรมากนักจากการผลิตยาใหม่เหล่านี้ ผู้ป่วยก็ได้รับการดูแลรักษาด้วยยาที่มี และพยายามหาทางป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา ในขณะเดียวกันแพทย์ ก็จะไม่จ่ายยาชนิดใหม่ให้ หากอาการเจ็บป่วยนั้นไม่ได้รุนแรงนัก

องค์การอนามัยโลก หวังว่า ประเทศต่างๆ จะพิจารณาแนวทางในการค้นคว้า วิจัยใหม่ๆ ประเทศอังกฤษ มีการตั้งรางวัลถึง 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ หากค้นพบยาตระกูลใหม่ ในขณะที่จีนก็เตรียมทุ่มงบประมาณ 72 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในการสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับยาต้านเชื้อแบคทีเรีย

ไม่เพียงแค่แพทย์ผู้รักษาคนไข้เท่านั้น ทางองค์การอนามัยโลก ยังระบุอีกว่า สัตวแพทย์ ก็ต้องมีส่วนร่วมในโครงการนี้เช่นกัน เพราะการดื้อยาในสัตว์ ก็สามารถแพร่กระจายมาสู่มนุษย์ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook