คนไทยพร้อม “ขยับ” ต้อนรับการประชุมระดับโลก ครั้งแรกในเมืองไทย

คนไทยพร้อม “ขยับ” ต้อนรับการประชุมระดับโลก ครั้งแรกในเมืองไทย

คนไทยพร้อม “ขยับ” ต้อนรับการประชุมระดับโลก ครั้งแรกในเมืองไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook



การประชุมนานาชาติว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ครั้งที่ 6

ช่วงนี้หันไปทางไหนก็เจอแต่คนดูแลสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้นทั้งนั้น ทั้งทานคลีน ไปฟิตเนส แต่กลับกลายเป็นว่าแนวโน้มด้านสุขภาพจากทั่วโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง (NCDs) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาวะอ้วน ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดทุกกลุ่มวัย

เป็นที่น่าตกใจว่า คนไทยมีภาวะอ้วนถึง 19 ล้านคน ภาวะความดันโลหิตสูงถึง 13 ล้านคน และคนที่เป็นเบาหวานถึง 4 ล้านคน อีกทั้งยังพบกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัวอีกถึง 7.7 ล้านคน ซึ่งหมายถึง ร้อยละ 5-10 ต่อปี จะเป็นเบาหวานหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ น่ากลัวใช่ไหมล่ะ

ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีการจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ครั้งที่ 6 The 6th International Congress on Physical Activity and Health 2016 เป็นครั้งแรกในเอเชีย ที่จะจัดขึ้นใน ระหว่าง 16-19 พฤศจิกายน 2559 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีสมาคมนานาชาติเพื่อการมีกิจกรรมทางกายและสุขภาพ (The International Society for Physical Activity and Health – ISPAH) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นเจ้าภาพหลัก และมีกระทรวงสาธารณสุข และกทม.เป็นเจ้าภาพร่วม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การจัดการ และแนวทางแก้ปัญหาด้านสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.



กล่าวถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย และเป็นครั้งสำคัญในการสร้างโอกาสให้ประเทศไทยเข้าสู่เวทีระดับโลกด้านนโยบายและด้านวิชาการการมีกิจกรรมทางกาย กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น “สำหรับประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการประชุมในครั้งนี้ 4 ด้าน ได้แก่
1. เปิดโอกาสให้ประเทศไทยก้าวเป็นผู้นำของภูมิภาค ในเวทีระดับโลกด้านนโยบายและด้านวิชาการเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสุขภาพ
2. ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวด้านวิชาการและการผลักดันนโยบายด้านการมีกิจกรรมทางกาย ในระดับสากลที่กว้างขวาง สอดรับกับเจตนารมณ์กฎบัตรโตรอนโต ที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามเมื่อปี ค.ศ. 2010
3. มีเวทีระดับนานาชาติสำหรับนำเสนอผลงานวิชาการ Best Practices และนวัตกรรมของคนไทยด้านการมีกิจกรรมทางกายและสุขภาพ เป็นการขยายบทบาทและศักยภาพของบุคลากร และหน่วยงานยุทธศาสตร์ในประเทศ เพื่อกระตุ้นและผลักดันให้มีการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น
4. เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีของประเทศไทยในด้านการเป็นประเทศเป้าหมายของการการประชุมระดับนานาชาติและการท่องเที่ยว โดยคาดว่าผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 1,000 คน จากทั่วโลก จะทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศมากกว่า 100 ล้านบาท
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มีไฮไลต์สำคัญที่น่าสนใจ คือ การประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration on PA For Sustainable on PA for Sustainable Development) ที่ว่าด้วยเจตจำนงร่วมกันระหว่างผู้ร่วมงานและตั้งองค์กร เพื่อขับเคลื่อนงานไปสู่นโยบายโลกด้านกิจกรรมทางกายในปี 2560, การนำเสนอผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Showcase Best Practices) และ การแถลงผล Report Cards วัดระดับการมีกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน 38 ประเทศทั่วโลก โดยมีประเทศไทยร่วมเป็นผู้ขับเคลื่อน ซึ่งข้อมูลการสำรวจดังกล่าวนี้ จะนำมาเผยแพร่เป็นครั้งแรกในการประชุมวันที่ 16 พ.ย. นี้ด้วย




[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook