กินเค็มทำให้อ้วนนะ รู้ยัง?

กินเค็มทำให้อ้วนนะ รู้ยัง?

กินเค็มทำให้อ้วนนะ รู้ยัง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชอบกินเค็มต้องอ่าน!

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมตัวเองถึงอ้วน ทั้งที่ไม่ได้กินเยอะ บางทีอาจจะกินน้อยกว่าคนรูปร่างผอมด้วยซ้ำ ลองสำรวจดีๆ ว่าคุณทานอาหารรสจัดจนเคยตัวหรือเปล่า โดยเฉพาะ “รสเค็ม” คือวายร้ายที่ทำให้เราอ้วน แถมยังเสี่ยงโรคอีกต่างหาก

มาดูไปพร้อมๆ กันเลยว่า “ความเค็ม” ทำให้เราอ้วนได้ยังไงบ้าง

เนื่องจากว่าร่างกายของคนเรามันฉลาด มีกลไกที่คอยปรับสมดุลระหว่างน้ำและเกลือโดยอัตโนมัติ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเรากับเกลือเข้ามา เมื่อนั้นมันก็จะสรรหาน้ำเข้ามาเพิ่ม เพื่อรักษาสมดุลตรงนี้ไว้ ด้วยเหตุนี้เอง คนที่กินเค็มจึงอ้วน เพราะร่างกายบวมน้ำ

ทางองค์การอาหารและยา หรือ อย. กำหนดไว้ว่า ปริมาณของเกลือที่ร่างกายรับได้ในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนโต๊ะเท่านั้น ฟังดูแล้วอาจจะคิดว่าใครมันจะไปกินเกลือได้ตั้ง 1 ช้อนโต๊ะ?

คำตอบคือ อาหารที่เรากินเข้าไปในแต่ละวัน จะมีปริมาณเกลือโซเดียมแอบแฝงอยู่จำนวนมาก โดยที่กินเข้าไปแล้วอาจจะไม่มีรสเค็ม เราจึงได้รับเกลือหรือโซเดียมมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการโดยไม่รู้ตัว

ยกตัวอย่างเช่น อาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป อาหารที่ผ่านการปรุงมาหลายขั้นตอน เครื่องปรุงชนิดต่างๆ ที่อาจจะไม่มีรสเค็ม น้ำซุป ขนมบรรจุถุง ซอสมะเขือเทศ หรือแม้แต่ขนมปังที่มีโซเดียมจากผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต)  

เราแทบจะไม่รู้เลยว่าอาหารเหล่านี้มีโซเดียมในปริมาณมาก ยังไม่นับความเค็มที่ได้จากนิสัยชอบโรยน้ำปลาพริกในข้าวและการกินอาหารสิ้นคิดอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนะ 

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนออกกำลังกายเป็นประจำแต่ก็น้ำหนักตัวก็ยังเท่าเดิม รูปร่างก็ไม่ได้ดีขึ้น

ที่น่ากลัวกว่าความอ้วนก็คือ การกินเค็มยังเป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังที่ ณ ขณะนี้ คนไทยมากกว่า 10% เป็นกันอยู่ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

เผื่อใครยังไม่ทราบ โรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่หาย ทำได้แค่รักษาเพื่อประคองอาการเท่านั้น ผู้ป่วยจะต้องฟอกไตสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละ 2 – 4 ชั่วโมง เพื่อต่อชีวิตไปเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายในการฟอกไตจะอยู่ที่ราวๆ 2,500 บาทต่อครั้ง ฟังดูไม่ใช่ชีวิตที่น่าจะสนุกเท่าไร

รู้กันแบบนี้ก็อย่าลืมคิดก่อนกิน เพราะไม่ว่าเราจะกินอะไร มันก็ส่งผลต่อชีวิตทั้งนั้น อยากได้ชีวิตแบบไหนก็ต้องเลือกเอาเองว่าจะ “เลือกกิน” แล้วใช้ชีวิตอย่างมีความสุข หรือ "กินไม่เลือก" แล้วรับความเจ็บป่วยที่จะตามมาภายหลัง 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook