รู้จักและดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/0/3549/diabetes1.jpgรู้จักและดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน

    รู้จักและดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน

    2016-05-20T11:50:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    เบาหวาน เป็นโรคที่พบในทุกเพศและส่วนใหญ่พบในผู้สูงวัย ซึ่งในปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้อัตราการพบเบาหวานสูงขึ้นเป็นลำดับ

     เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง  น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง

     

    เบาหวานแบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ

    เบาหวานชนิด 1 (Diabetes mellitus type 1) พบประมาณ 5% ของเบาหวานทั้งหมด พบมากในเด็กและวัยรุ่น(Juvenile diabetes mellitus) เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติ หรือสร้างไม่ได้เลย ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิต

     เบาหวานชนิด 2 (Diabetes mellitus type 2) มักพบในผู้ใหญ่ (Adult onset diabetes mellitus) อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนอ้วน เป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน และเป็นชนิดที่พบได้สูงที่สุดประมาณ 90 - 95% ของโรคเบาหวานทั้งหมด 

     

    เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Ges tational diabetes mellitus) พบได้ประมาณ 2 - 5% ของเบาหวานทั้งหมด เกิดกับหญิงมีครรภ์ซึ่งไม่เคยมีประวัติเบาหวานมาก่อนมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

    ปี 2013 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 382 ล้านคน โดยมีเบาหวานชนิดที่ 2 ถึง 90% ซึ่งเท่ากับ 8.3% ของประชากรผู้ใหญ่ โดยมีอัตราเท่ากันในหญิงและชายในปี 2012 และ 2013 โรคเบาหวานเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1.5 ถึง 5.1 ล้านคนต่อปี เป็นสาเหตุการตายสูงสุดอันดับ 8 โดยรวมแล้วเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงการตายอย่างน้อยสองเท่า จำนวนผู้ป่วยเบาหวานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 592 ล้านคนในปี 2035 มูลค่าทางเศรษฐกิจของเบาหวานทั่วโลกที่ประเมินในปี 2013 อยู่ที่ 548 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 245 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในสหรัฐอเมริกาในปี 2012

     อาการของเบาหวานหลักๆ คือ น้ำหนักลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก มีอาการชาเท้าหรือเจ็บแปลบที่ปลายเท้า เมื่อเกิดแผนที่ร่างกายมักหายช้าโดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า อาจจะเกิดอาการสายตาพร่ามัว ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย คันผิวหนังร่วมด้วย

     

    ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน

    - รักษาความสะอาดโดยเฉพาะเท้า ล้างเท้าให้สะอาดหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุให้เกิดแผลที่เท้า

    - งดดื่มสุรา และบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลอดเลือดส่วนปลายตีบ ทำให้เกิดแผลได้ง่ายและหายช้า

    - หากพบว่ามีแผลที่เท้าและแผลไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที

     

    ** เบาหวานส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่างๆ ลดลง จึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย และมักรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อมีการติดเชื้อและมีไข้สูง ผู้ป่วยทุกคนจึงควรรีบพบแพทย์ ภายใน 1 - 2 วัน  

    ภาพประกอบจาก unsplash.com และ pixabay.com