"อะฟลาท็อกซิน" ในอาหารแห้ง เป็นสารก่อ "มะเร็งตับ"

"อะฟลาท็อกซิน" ในอาหารแห้ง เป็นสารก่อ "มะเร็งตับ"

"อะฟลาท็อกซิน" ในอาหารแห้ง เป็นสารก่อ "มะเร็งตับ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกรายงานว่าสารอะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์  

อะฟลาท็อกซิน คืออะไร?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สารอะฟลาท็อกซินถูกสร้างจากเชื้อราในตระกูล Aspergillus มักพบปนเปื้อนผลผลิตทางการเกษตรหากเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง และเมล็ดธัญพืชต่างๆ พริกไทย พริกป่น กระเทียม และหอมแดง เป็นต้น 

อะฟลาท็อกซิน อันตรายอย่างไร?

สารอะฟลาท็อกซินเป็นอันตรายทั้งในมนุษย์และสัตว์ มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง ซึ่งความร้อนที่ใช้ในการหุงต้มอาหารโดยทั่วไปตามบ้านเรือนนั้น ไม่สามารถทำลายสารดังกล่าวให้หมดไปได้ เมื่อมีการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าวในอาหารและร่างกายได้รับสารนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งความเป็นพิษที่ส่งผลต่อร่างกายของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่รับ ความถี่ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย อายุ และความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายในแต่ละตัวบุคคล

วิธีหลีกเลี่ยงสารอะฟลาท็อกซิน

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ  กล่าวเสริมว่า ควรเลือกซื้ออาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ไม่แตกหรือชำรุด มีส่วนประกอบและมาตรฐานความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ ซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่พอเหมาะและสดใหม่ เพื่อลดเวลาในการเก็บวัตถุดิบไม่ให้นานเกินไปและจัดเก็บอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการเก็บไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook