“จุลินทรีย์” ที่ดีต่อร่างกาย มีอะไรบ้าง ? อยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง ?
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/3/19521/yogurt.jpg“จุลินทรีย์” ที่ดีต่อร่างกาย มีอะไรบ้าง ? อยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง ?

    “จุลินทรีย์” ที่ดีต่อร่างกาย มีอะไรบ้าง ? อยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง ?

    2023-11-14T09:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    เชื้อจุลินทรีย์ไม่ได้ทำร้ายร่างกายเราเสมอไป ยังมีจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพที่เราควรรักษาเอาไว้ให้อยู่ในลำไส้ของเราไปนาน ๆ โดยบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์เหล่านี้เข้าไปในท้องเป็นประจำ


    จุลินทรีย์ดี ๆ ที่มากับอาหารอร่อย ๆ ไม่ได้มาพร้อมกับรสชาติอาหารที่ดีเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร และช่วยในการทำงานของระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น พูดง่าย ๆ ว่าอาหารที่มีจุลินทรีย์บางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนี้ สามารถช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารง่ายขึ้น และการขับถ่ายง่ายขึ้นนั่นเอง

    >> อาหารกับจุลินทรีย์ เคล็ดลับดีๆ ให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรง

    >> "จุลินทรีย์ในลำไส้" อาจเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เเละอาการซึมเศร้า


    อาหารหมักดอง (บางประเภท) อุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย

    อาหารหมักดองบางประเภท มีจุลินทรีย์ที่เราควรรักษาเอาไว้ในลำไส้ เช่น

    • โยเกิร์ต

    • นมเปรี้ยว

    • ถั่วหมัก (นัตโตะ)

    • มิโซะ

    • กิมจิ

    • ผักเสี้ยนดอง

    • ชาหมัก (คอมบูชา)

    • ซาวเคราท์ (กะหล่ำปลีเปรี้ยวของเยอรมัน)

    เป็นต้น


    โพรไบโอติก (Probiotic) จุลินทรีย์ที่ต่อร่างกาย

    อาหารหมักดองหลายชนิดมีโพรไบโอติกที่ดีต่อร่างกาย ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ แล็กโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่สามารถพบได้ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต และอื่น ๆ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยเรื่องย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย และช่วยในการทำงานของระบบขับถ่ายแล้ว ยังมีส่วนช่วยป้องกันโรคอันตรายเหล่านี้ได้อีกด้วย เช่น

    • อุจจาระร่วง

    • ลำไส้แปรปรวน

    • ลำไส้อักเสบ

    • ท้องผูก

    • ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    • ฮอร์โมนผิดปกติ เพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลั่งสารสื่อประสาท ฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายของเราอีกด้วย

    นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายในแง่ของการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของเราได้อีกด้วย


    ข้อควรระวังในการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์

    ส่วนใหญ่แล้วอาหารที่มีโพรไบโอติกส์มักเป็นอาหารหมักดองที่มีรสชาติเปรี้ยว เช่น นมเปรี้ยว กิมจิ กะหล่ำดองเปรี้ยว ดังนั้นจึงมีข้อควรระวังคือ

    1. ไม่ควรรับประทานอาหารหมักดองรสชาติเปรี้ยวมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เสาะท้องแล้วเกิดอาการท้องเสียได้

    2. รสชาติของอาหารหมักดองบางชนิด อาจมีโซเดียมมากเกินไป ควรจำกัดปริมาณในแต่ละวันที่รับประทาน มื้อละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก็เพียงพอแล้ว

    3. การรับประทานอาหารรสเปรี้ยวมาก อาจเสี่ยงผิวเคลือบฟันกร่อนได้ จึงควรดื่มน้ำ หรือบ้วนน้ำหลังกิน หากชอบแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร ควรเว้นระยะเวลาสัก 30 นาทีก่อนค่อยแปรงฟัน เพราะการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารรสเปรี้ยวทันที อาจเสี่ยงผิวเคลือบฟันกร่อน จนเสี่ยงต่ออาการเสียวฟัน หรือฟันผุได้เช่นกัน

    4. รับประทานวันละนิด และหลากหลายประเภทอาหาร เช่น วันนี้กินโยเกิร์ต พรุ่งนี้กินชาหมัก จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายที่หลากหลายมากกว่า

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :sbs.com.au,HonestDocs,wongkarnpat.com/

    ภาพ :iStock