“กระโดดเชือก” เคล็ดลับเพิ่มความสูงของเด็ก-วัยรุ่น
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/3/18905/jump-rope.jpg“กระโดดเชือก” เคล็ดลับเพิ่มความสูงของเด็ก-วัยรุ่น

    “กระโดดเชือก” เคล็ดลับเพิ่มความสูงของเด็ก-วัยรุ่น

    2019-11-27T18:11:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ในวัยเด็กที่พัฒนาการทางร่างกายยังไม่หยุดเจริญเติบโต นอกจากการดื่มนม รับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว การออกกำลังกายก็ช่วยได้

    นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เผยว่า ปี 2562 พบเด็กวัยเรียน 6 - 14 ปี มีภาวะเตี้ยร้อยละ 8.8 ซึ่งเป้าหมายของประเทศกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 5 จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนยังไม่ดีเท่าที่ควร คือมีส่วนสูงน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กที่มีอายุเท่ากัน ทางกรมอนามัยจึงตั้งเป้าหมายให้ปี 2564 เด็กผู้ชายอายุ 12 ปี มีส่วนสูงเฉลี่ย 154 เซนติเมตร เพิ่มจากค่าเฉลี่ยความสูงปัจจุบันคือ 148.6 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้หญิงอายุ12 ปี มีส่วนสูงเฉลี่ย 155 เซนติเมตร เพิ่มจากค่าเฉลี่ยความสูงปัจจุบันคือ 149.9 เซนติเมตร 


    ช่วงเวลาทองในการเพิ่มส่วนสูงของเด็ก

    ช่วงเวลาทอง (Golden period) ของเด็กในการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (Growth spurt) ของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงจะแตกต่างกัน

    • เด็กผู้หญิงจะเริ่มในช่วงอายุ 9 - 10 ปี ความสูงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงอายุประมาณ 12 ปี จากนั้นอัตราการเพิ่มของความสูงจะลดลงจนกระทั่งถึงอายุประมาณ 16 - 18 ปี ความสูงจะค่อนข้างคงที่ 

    • เด็กผู้ชายจะเริ่ม ในช่วงอายุ 10 - 12 ปี ความสูงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงอายุประมาณ 14 ปี จากนั้นอัตราการเพิ่มของความสูง จะลดลงจนกระทั่งถึงอายุประมาณ 18 - 20 ปี ความสูงจะค่อนข้างคงที่


    วิธีเพิ่มส่วนสูงในเด็ก

    ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสูงคือการเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะกระดูกกลุ่ม long bone และการปิดของบริเวณ growth plate การที่เด็กมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งของ growth hormone และ growth factor รวมทั้งการกระตุ้นโดยตรงต่อกระดูก ทำให้เพิ่มการสร้างกระดูกมากขึ้น

    1. ส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนดื่มนมจืด 2 แก้วทุกวัน

    2. ให้กินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ครบ 5 หมู่ 

    3. ให้เด็กกินอาหารประเภทที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักกาดเขียว

    4. หมั่นออกกำลังกายชนิดที่ช่วยเพิ่มความสูง เช่น กระโดดเชือก 


    กระโดดเชือก ช่วยเพิ่มส่วนสูงให้กับเด็ก

    แพทย์หญิงศรินนา แสงอรุณ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ กล่าวว่า การกระโดดเชือกเป็นกิจกรรมแอโรบิกชนิดหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต พัฒนาศักยภาพของหัวใจ ช่วยลดไขมัน ในร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเพิ่มมวลกระดูก เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย


    วิธีกระโดดเชือก เพื่อเพิ่มความสูง

    กระโดดเชือกอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าครั้งละ 10-15 นาที ทุกวัน ๆ ละ 60 นาที หรือทำแบบสะสมเวลา ร่วมกับการนอนหลับสนิทอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพและเพิ่มความสูงได้