7 วิธีลด “เครียด-ความดันโลหิต” อย่างได้ผลและปลอดภัย
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/3/16785/stress.jpg7 วิธีลด “เครียด-ความดันโลหิต” อย่างได้ผลและปลอดภัย

    7 วิธีลด “เครียด-ความดันโลหิต” อย่างได้ผลและปลอดภัย

    2019-07-02T11:25:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ความเครียด และความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของโรคอันตรายหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดสมองตีบ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที หากปล่อยให้มีความเครียดสะสม รวมถึงมีความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องโดยไม่รีบเข้ารับการรักษา อาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ทุกเมื่อ

    Sanook! Health จึงมี 7 เคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยลดความเครียด และลดความดันโลหิตสูงมาให้ได้ลองทำเองที่บ้าน รับรองว่าง่ายกว่าที่คิดแน่นอน

     
    7 วิธีลด “เครียด-ความดันโลหิต” อย่างได้ผลและปลอดภัย

    1.     นอนหลับให้เพียงพอ

    รู้หรือไม่ว่าการอดหลับอดนอน นอนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความเครียดสะสม และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญของภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพจิต และสุขภาพกายโดยทั่วไปอื่นๆ อีกด้วย

    1.     เรียนรู้วิธีผ่อนคลาย

    ในที่นี้เราไม่ได้หมายถึงแค่ว่าการนั่งสมาธิ การเล่นโยคะ หรือการรำไทเก๊ก แต่หมายถึงกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้ ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะมีกิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจแตกต่างกันไป บางคนอาจชอบฟังเพลง ดูหนังสบายๆ วาดรูป เย็บปักถักร้อย หรือแม้กระทั่งการออกกำลังกาย เช่น แอโรบิค ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ค้นหากิจกรรมที่ทำแล้วชอบ รู้สึกผ่อนคลาย แล้วหาเวลาให้กับสิ่งเหล่านี้บ้างอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

    1.     เข้าสังคมอยู่เรื่อยๆ

    อย่าเอาตัวเองออกมาจากสังคมเพื่อนนานเกินไป จริงอยู่ที่เราควรมีเวลาส่วนตัวให้กับตัวเองบ้าง แต่การพบปะเพื่อนฝูง ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กินข้าว ดูหนัง ไปเที่ยว ชมคอนเสิร์ต นิทรรศการต่างๆ ทำให้ช่วยคลายเครียดได้อย่างธรรมชาติ

    1.     จัดเวลาให้ดี

    ไม่ว่าคณจะงานยุ่งแค่ไหน แต่หากคุณจัดสรรแบ่งเวลาให้ดี เคลียร์งานในเวลาที่ตัวเองกำหนด เพื่อเผื่อเวลาทำกิจกรรมกับเพื่อน คนรัก และคนในครอบครัว หรือการรักษา work-life balance คุณจะลดความตึงเครียดจากการทำงานไปได้มาก (หากงานล้นมือจนทำไม่ทันจริงๆ ต้องรีบแก้ไขด้วยการแบ่งงานทำ ยืดเวลาส่งงาน หรือขอความช่วยเหลือจากหัวหน้างาน)

    1.     แก้ปัญหาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    การปล่อยให้มีปัญหาคาราคาซังอยู่ต่อไปเรื่อยๆ มีแต่จะทำให้ทุกอย่างแย่ลง ทั้งตัวงาน และสุขภาพจิต และสุขภาพกายของคุณเองด้วย รวมถึงไปปัญหาส่วนตัวที่เกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ หรือในครอบครัวของคุณ เมื่อไรก็ตามที่มีปัญหา ควรรีบแก้ไข พูดคุยเปิดใจโดยเร็วที่สุด
     

    1.     หาเวลาดูแลตัวเองบ้าง

    แม้ว่าคุณจะยุ่ง แต่ควรหาเวลาช่วงว่างในสุดสัปดาห์มาดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการไปนวดแผนโบราณ กินอาหารอร่อยๆ ที่ร้านโปรด ทำผมทำเล็บ เดินเล่นในที่ที่อยากไป ทำอาหารที่อยากกินที่บ้าน หรือฟังเพลงที่ชอบ เป็นต้น

    1.     ขอความช่วยเหลือ

    เมื่อไรก็ตามที่รู้สึกเครียดจนเกินจะรับไหว ควรเล่าเรื่องราวที่รู้สึกว่าเป็นปัญหาให้กับคนรอบตัวได้รับฟังบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว คนรัก เพื่อนฝูง หรือใครก็ตามที่คุณไว้ใจ หรือหากคิดว่าการระบายความในใจออกไปยังไม่ได้ผลที่ดีนัก ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาทางรักษาก่อนที่ความเครียด และความดันโลหิตจะทำลายสุขภาพไปมากกว่านี้

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :Harvard Health Publishing

    ภาพ :iStock