ออกกำลังกายลด "คอเลสเตอรอล" แบบไหนได้ผลดีที่สุด
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/2/13321/exercise_2.jpgออกกำลังกายลด "คอเลสเตอรอล" แบบไหนได้ผลดีที่สุด

    ออกกำลังกายลด "คอเลสเตอรอล" แบบไหนได้ผลดีที่สุด

    2018-10-31T19:18:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่พึงปรารถนา สามารถลดลงได้ด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ที่ทำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เราสามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลดี (HDL cholesterol) ไปพร้อมกับลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลงได้ จากการศึกษาของศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอช เอคเคล ซึ่งเป็นแพทย์ ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐฯ สิ่งที่เราควรทำคือ การลดไขมันและสร้างกล้ามเนื้อ และนี่คือรูปแบบการ ออกกำลังกายลดคอเลสเตอรอล ที่ดีที่สุด

    ประเภทการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์

    งานวิจัยแนะนำว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ) ร่วมกับการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เป็นแผนการออกกำลังกายที่ดีที่สุด สำหรับใครก็ตามที่ปรารถนาจะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วน ในออสเตรเลียเมื่อปี 2012 เผยว่า การออกกำลังกายสองประเภทดังกล่าวในเวลาเดียวกัน สามารถช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมัน และทำให้มีความแข็งแรงของหัวใจและปอดได้เป็นอย่างดี เมื่อออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเพียงอย่างเดียว ผลที่ได้มีนัยสำคัญน้อยกว่า

     

    การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านสำหรับสุขภาพของหัวใจ

    การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ยังเรียกได้ว่าเป็นการออกกำลังกายที่ใช้พลัง การออกกำลังกายประเภทนี้ คุณต้องใช้เครื่องออกกำลังกาย ตุ้มน้ำหนัก ยางยืด หรือใช้น้ำหนักร่างกายของคุณเอง เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ การสร้างกล้ามเนื้อจะทำให้คุณสามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญ และเผาผลาญแคลอรี่ได้มากขึ้น แม้กระทั่งเมื่อคุณหยุดพัก ให้ออกกำลังกายแบบนี้อย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจของคุณ ในการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน คุณควรทำซ้ำให้มากขึ้น ไม่ใช่เพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้น หากคุณเป็นมือใหม่ ให้เข้าคลาสที่มีผู้ฝึกสอนมืออาชีพ เพื่อให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ และได้รับประโยชน์สูงสุด

     

    ปริมาณการออกกำลังกายที่จำเป็นต่อการลดคอเลสตอรอลอย่างได้ผล

    ตามข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association: ASA) การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ในระดับปานกลางถึงระดับสูง เป็นเวลา 40 นาที จำนวน 3 ถึง 4 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความเพียงพอในการทำให้ระดับคอเลสเตอรอลดีขึ้น และลดความดันโลหิต รวมทั้งความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองได้ สำหรับสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมนั้น แนะนำให้มีการออกกำลังกายปานกลางเป็นเวลา 150 นาที หรือการออกกำลังกายระดับสูงเป็นเวลา 75 นาทีต่อสัปดาห์ เราสามารถออกกำลังกายระดับปานกลางและระดับสูงร่วมกันได้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิคในระดับปานกลาง ได้แก่

    • การเดินเร็ว (5 กม./ชั่วโมง หรือเร็วกว่า)

    • การปั่นจักรยาน (16 กม./ชั่วโมง หรือช้ากว่า)

    • การเล่นเทนนิส (คู่)

    • การทำสวน

    การออกกำลังกายแบบแอโรบิคในระดับสูง ได้แก่

    • การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ หรือการวิ่ง

    • การว่ายน้ำ

    • การเล่นเทนนิส (เดี่ยว)

    • การเต้นแอโรบิค

    • การปั่นจักรยาน (16 กม./ชั่วโมง หรือเร็วกว่า)

    • การปีนเขา

    เพื่อให้ทราบว่าแผนการออกกำลังกายอยู่ในระดับที่ได้ผลหรือไม่ ให้ลองทดสอบการพูด หากคุณยังคงสามารถพูดได้หลังจากการออกกำลังกาย แผนการออกกำลังกายของคุณจัดว่าเป็นระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ในระหว่างการออกกำลังกายระดับสูงนั้น คุณจะจำเป็นต้องหยุดเพื่อหายใจหลังจากพูดได้สองสามคำ เพื่อวัดชีพจรของคุณเพื่อให้ทราบว่า คุณมีอัตราการเต้นของหัวใจตามเป้าหมายหรือไม่ ให้ใช้เครื่องมือหรือใช้นิ้วมือช่วย คุณจะได้อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เมื่อลบอายุของคุณจาก 220 เป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจของคุณควรเป็นร้อยละ 50 ถึง 85 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

     

    วิธีสร้างนิสัยการออกกำลังกายเพื่อลดคอเลสเตอรอล

    ห้ามกระโดดไปยังลู่วิ่งในทันทีทันใด หากคุณมีนิสัยชอบอยู่กับที่ หรือมีความเสี่ยงของโรคหัวใจ ให้ขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เมื่อแพทย์ตกลงให้ออกกำลังกายได้ ให้เริ่มออกกำลังกาย ห้ามรอเวลาที่สมบูรณ์แบบ เพื่อเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย เนื่องจากไม่มีเวลาที่สมบูรณ์แบบ ให้ปฏิบัติตามโปรแกรมการออกกำลังกายและออกกำลังกายให้บ่อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

     

    วิธีกระตุ้นการออกกำลังกาย

    เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์มีดังต่อไปนี้

    • ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้จริง

    • รับความช่วยเหลือจากครอบครัวหรือเพื่อน นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมโยงผู้ออกกำลังกายเข้าด้วยกัน

    • ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ให้ออกกำลังกายในห้องส่วนตัวของคุณ เมื่อไม่สะดวกเดินทางไปที่ยิม

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :ธีรวิทย์ บุญราศรี

    ภาพ :iStock