ไขข้อสงสัย เราจำเป็นต้อง “ขับถ่าย” ทุกวันหรือไม่?

ไขข้อสงสัย เราจำเป็นต้อง “ขับถ่าย” ทุกวันหรือไม่?

ไขข้อสงสัย เราจำเป็นต้อง “ขับถ่าย” ทุกวันหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องขับถ่าย จะว่าเป็นเรื่องเล็กก็เล็ก แต่หากการขับถ่ายไม่ปกติ อาจทำให้เราไม่สบายตัว ไม่สบายท้อง และอาจรบกวนไปถึงการทานอาหาร การย่อยอาหาร และมีความทรมานจากอาการ “ท้องผูก” หรือ “ริดสีดวงทวาร” ได้ แต่การจะทำให้ร่างกายมีระบบขับถ่ายที่สมบูรณ์แบบ อาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคนเช่นกัน

 

Christopher Hair ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาทางเดินอาหาร มหาวิทยาลัย Deakin ระบุว่า “ร่างกายของคนเรามีความซับซ้อน การทำงานของอวัยวะต่างๆ ของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพักผ่อนนอนหลับ การขับถ่ายทั้งอุจจาระ และปัสสาวะ เรื่องที่ดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับใครหลายคน อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนบางคนได้ โดยเฉพาะเรื่อง การขับถ่าย”

บางคนอาจรู้สึกว่า ใน 1 วันต้องขับถ่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง เพราะถ้าทั้งวันไม่ถ่ายเลย จะรู้สึกอึดอัดท้อง และอาจส่งผลให้ในวันต่อมาถ่ายยาก ถ่ายลำบากมากขึ้น จนอาจมีอาการท้องผูกได้ แต่บางคนผ่านมา 2-3 วัน ถ่าย 1 ครั้ง แต่ก็ถ่ายได้สบายๆ โดยไม่รู้สึกทรมานแต่อย่างใด ดังนั้นเรื่องของการขับถ่ายสำหรับแต่ละคนจึงค่อนข้างแตกต่าง และหลากหลายตามการทำงานของระบบขับถ่าย รวมไปถึงวิถีชีวิต อาหารการกินต่างๆ เป็นต้น

“จำนวนครั้งในการขับถ่ายที่เหมาะสมของแต่ละคนก็ค่อนข้างแตกต่างกันมากเช่นเดียวกัน จากรายงานการวิจัยหลายชิ้นพบว่า การขับถ่ายที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด จะอยู่ราวๆ ตั้งแต่ 3 ครั้งต่อวัน ไปจนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และน้อยกว่า 40% ที่มีพบว่ามีคนที่ขับถ่ายวันละ 1 ครั้ง”

อย่างไรก็ตาม จำนวนครั้งของการขับถ่ายสัมพันธ์กับอาการของโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น โรคท้องร่วง (ที่ทำให้มีการขับถ่ายบ่อยขึ้น) มะเร็ง (ถ่ายเป็นเลือด) หรือหากไม่มีการขับถ่ายเลย ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่ายได้เช่นกัน

>> กลั้นอุจจาระบ่อยๆ อันตรายต่อร่างกายมากแค่ไหน?

 

จำเป็นต้องถ่ายให้ได้วันละ 1 ครั้งหรือไม่?

Damien Belobrajdic นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์จาก CSIRO สถาบันวิทยาศาสตร์ระดับชาติของประเทศออสเตรเลีย ระบุว่า “การขับถ่ายให้ได้วันละ 1 ครั้งไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่หากขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้ เช่น โรคริดสีดวงทวาร หรือรูทวารเป็นแผลจากอุจจาระขนาดใหญ่ และแข็งจนทำให้มีเลือดออก เป็นต้น”

“อาการท้องผูกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่การเข้ารับการรักษาจากอาการของโรคบางอย่าง (ผลข้างเคียงจากยาบางตัว เช่น ยาที่มีส่วนผสมของฝิ่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก) และสาเหตุที่ชัดเจนที่สุดคือ การทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อยเกินไป”

 

เคล็ดลับการขับถ่ายให้เป็นปกติ

ง่ายที่สุดเลย คือ เพิ่มอาหารที่มีกากใยอาหารให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ เช่น ผัก ผลไม้ โฮลเกรน ธัญพืช ถั่ว และดื่มน้ำให้มากขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำก็ทำให้ระบบการขับถ่ายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน หากเริ่มมีอาการท้องผูก อึดอัด อยากถ่าย สามารถดื่มน้ำให้มากขึ้น หรือทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

>> 10 อาหารพรีไบโอติกส์สูง แก้ท้องผูก-ขับถ่ายคล่อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook