มหันตภัยร้ายในเด็ก! ไวรัส RSV อันตรายแฝงที่คุกคามถึงชีวิต เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

มหันตภัยร้ายในเด็ก! ไวรัส RSV อันตรายแฝงที่คุกคามถึงชีวิต เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

มหันตภัยร้ายในเด็ก! ไวรัส RSV อันตรายแฝงที่คุกคามถึงชีวิต เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเชื้อไวรัส RSV ที่คุกคามชีวิตเด็กให้ถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ ต้องเข้าโรงพยาบาลรักษากันแบบยาวๆ บ้างก็ว่าเกิดจากการถูกหอมแก้มโดยคนแปลกหน้า และบ้างก็แบ่งปันประสบการณ์ว่าลูกติดเชื้อไวรัส RSV แค่จากการสัมผัสเท่านั้น ส่งผลให้โรคนี้ขึ้นแท่นกลายเป็นฝันร้ายของพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก

เมื่อรู้ชัดว่าอันตรายก็ควรรู้ให้ลึกว่าไวรัส RSV คืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไรเป็นสำคัญ มีวิธีป้องกันอย่างไร และเมื่อเป็นแล้วควรจัดการด้วยวิธีไหน วันนี้ SANOOK! จึงขอนำทีมพูดคุยกับศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลธนบุรีเพื่อเจาะลึกเรื่อง RSV แบบเน้นๆ

ไวรัส RSV คืออะไร
ไวรัส RSV ย่อมาจาก Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเมื่อได้รับจะส่งผลให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งจำนวนมาก เช่นเสมหะ หรือน้ำมูก ระบาดหนักในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว

เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านการไอ จาม หรือจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ โดยไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก หรือเมื่อไปสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือกับผู้ป่วย

ใครที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัส RSV
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบบ่อยที่สุดในเด็กและทารก ซึ่งเป็นวัยที่เมื่อได้รับเชื้อ RSV จะเกิดอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วย เช่น ปอดบวมหรือหลอดลมฝอยอักเสบ

อาการเมื่อได้รับเชื้อไวรัส RSV
อาการจะปรากฏชัดหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสในระยะเวลา 4-6 วัน โดยในเด็กเล็กจะพบอาการที่รุนแรงกว่าผู้ใหญ่ ดังนี้
- เบื่ออาหาร
- หายใจเร็วกว่าปกติ
- หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก
- จาม ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล
- หงุดหงิดง่าย หรือเซื่องซึม
ซึ่งไม่ควรปล่อยไว้ หากพบเด็กมีไข้สูงควรปรึกษาแพทย์ทันที

ขั้นตอนการรักษา
ความอันตรายของโรคนี้คือยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง อีกทั้งยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกัน ส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาหาร (Supportive care) ในกรณีที่มีอาการรุนแรงแนะนำให้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามอาการ

การป้องกัน
ด้วยความที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ การป้องกันโรคจึงทำได้ด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้
- ล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนมื้ออาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
- หลีกเลี่ยงให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ เช่น ผู้ที่เป็นไข้หรือเป็นหวัด
- ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ โดยเฉพาะทิชชูที่ใช้แล้ว ควรทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิด
- ไม่ควรใช้แก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น ควรใช้แก้วน้ำของตัวเอง และหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำที่ผู้ป่วยใช้แล้ว
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ทารกที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่า
- ทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังพบว่าเด็กที่ป่วยมาเล่นของเล่นนั้น

แพ็กเกจวัคซีนสำหรับลูกน้อย :
http://thonburihospital.com/2015_new/Program_Baby_vaccine.html

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลธนบุรี
โทร. 0-2487-2000 หรือ Hotline 1678 กด 1
เว็บไซต์ : www.thonburihospital.com
Line ID : @thonburihospital

ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลธนบุรี

 

 


[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook