เตือนภัย! มือเท้าชา ยิ่งเป็นบ่อย ยิ่งน่ากลัว สัญญาณอันตรายที่ห้ามมองข้าม

เตือนภัย! มือเท้าชา ยิ่งเป็นบ่อย ยิ่งน่ากลัว สัญญาณอันตรายที่ห้ามมองข้าม

เตือนภัย! มือเท้าชา ยิ่งเป็นบ่อย ยิ่งน่ากลัว สัญญาณอันตรายที่ห้ามมองข้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     อาการมือเท้าชาไม่ใช่เรื่องเล็กที่เมื่อเป็นแล้วจะสลัดให้หาย จากนั้นก็วางใจนิ่งว่าไม่เป็นอะไร เพราะนี่คือสัญญาณอันตรายที่มากระตุ้นเตือนให้รู้ว่าตอนนี้ร่างกายไม่ปกติ อาจเข้าข่ายเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ

     แล้วแบบไหนถึงเรียกว่ากำลังเป็นมือเท้าชา

     ชาคืออาการรับสัมผัสที่ผิดเพี้ยนไปสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย  ไม่ใช่แค่มือและเท้า ลักษณะของอาการชาที่พบบ่อยแบ่งออกได้เป็น 6 อย่างคือ ชาไม่รู้สึกอะไร ชายุบยิบเหมือนอะไรไต่ ชาเสียวแปล๊บตามแนวเส้นประสาท ชาปวดแสบร้อนๆเย็นๆ ชาเหมือนเข็มทิ่ม และ ชาหนาๆเหมือนใส่ถุงมือ ถุงเท้า

      ถ้ารู้สึกชาตามที่กล่าวมา อย่าทำตัวชิน คิดว่าไม่เป็นอะไรมาก เพราะเรื่องชาเล็กๆ แบบนี้อาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่อย่าง “โรคปลายประสาทอักเสบ” ที่รักษายากในอนาคต

      โรคปลายประสาทอักเสบที่เป็นต้นตอของอาการชาตามจุดต่างๆ ในร่างกายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานที่ใช้ข้อมือหนักๆ บ่อยๆ นานๆ เช่น ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน เล่นโทรศัพท์มือถือแบบไม่หยุดพัก ชอบถือของหนัก หรือเป็นนักกีฬาที่ต้องใช้ข้อมือเป็นหลัก รวมไปถึงกลุ่มคนที่เป็นโรคเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน ไต และโรคกระดูกเสื่อม ไม่เพียงเท่านั้นกลุ่มคนที่รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เช่น กลุ่มที่ทานมังสวิรัติ หรือคนติดสุราเรื้อรัง รวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีการดูดซึมวิตามินลดลง ทำให้มีภาวะขาดวิตามิน เช่น มีโคบาลามิน หรือวิตามินบี 12 ซึ่งจะนำไปสู่อาการชาที่ปลายมือปลายเท้าได้

     ช่วงเริ่มแรกของอาการมือเท้าชา คุณอาจจะรู้สึกชาเบาๆ ร่วมกับอาการปวด  ซึ่งเพราะความที่มาเพียงชั่วครู่ชั่วคราว ทิ้งไว้สักพักก็ทุเลาทำให้สัญญาณเตือนถูกมองข้ามคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่จนอาการเรื้อรังและหนักหนาถึงขั้นเรียกได้ว่าสาหัสเพราะอาการจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งยังจะรักษาให้หายขาดได้ยากขึ้น

     ดังนั้นโรคแบบนี้ยิ่งรู้ตัวไว ยิ่งรักษาง่าย และยังเป็นการป้องกันการสูญเสียที่รุนแรงในระยะยาวได้อีกด้วย

     เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มชาที่ปลายมือและปลายเท้า วิธีการรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน แบบแรกคือเริ่มต้นรักษาตามสาเหตุ ถ้าอาการชาเกิดจากการกดทับ ซึ่งมักเป็นกับพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานท่าเดิมเป็นเวลานานๆ หรือคนทำงานบ้านที่ต้องใช้มืออยู่ตลอดเวลา แนะนำให้หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกขึ้นมาเดินยืดเส้นยืดสาย กายบริหารเบาๆ แต่หากอาการชามาจากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ก็ต้องหนักแน่นในการควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  เพราะนี่คือการแก้ปัญหาที่ต้นทางที่ดีที่สุด

     อีกหนึ่งทางเลือกที่ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งก็คือการรักษาอาการชาด้วยยา “มีโคบาลามิน” หรือบี 12 ชนิด active form เพราะจากการทดลองกับคนไข้ที่เป็นเบาหวานซึ่งมีความผิดปกติในด้านการรับความรู้สึกจำนวน 406 คน โดยคนไข้ที่มีอาการปลายประสาทอักเสบจากเบาหวานที่ได้รับมีโคบาลามิน 1 เม็ด 3 เวลา หลังอาหารเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 2 เดือนพบว่า เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่มีอาการชาดีขึ้นมีมากถึง 70% และอาการปวดเรื้อรังดีขึ้นมากกว่า 50%

     “มีโคบาลามิน” เป็นวิตามินบี 12 ที่ให้การรักษาในรูปแบบของ Active Form ซึ่งจะทำให้สามารถดูดซึมเข้าสู่เส้นประสาทได้ดี ปริมาณยาคงตัว รักษาได้ตรงจุด ทั้งยังช่วยเร่งการสร้างโปรตีน กรดนิวคลิอิคที่ควบคุมการเจริญเติบโตให้แก่เส้นประสาท เร่งการสร้างไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเส้นไยไมอีลิน พอเส้นประสาทถูกซ่อมแซมอาการชาก็จะดีขึ้น

     ความแตกต่างระหว่าง “มีโคบาลามิน” กับ “วิตามินบี 12 ทั่วไป (inactive form)” คือ มีโคบาลามินเป็นรูปแบบหลักที่ร่างกายนำไปใช้ซ่อมแซมเส้นประสาท ในขณะที่วิตามินบี 12 ทั่วไป เช่น ไซยาโนโคบาลามิน, ไฮดรอกโซโคบาลามิน จะต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้เป็น Active Form เช่น มีโคบาลามินก่อน  ซึ่งร่างกายแต่ละคนมีความสามารถในการดูดซึมและเปลี่ยนแปลงรูปแบบยาแตกต่างกัน

     อาการชาจากปลายประสาทอักเสบ เมื่อเป็นแล้วต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษา  นอกจากการรักษาที่ต้นเหตุ และ รับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรแล้ว  การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหมั่นออกกำลังกายเบาๆ ก็จะช่วยเสริมให้อาการดีขึ้นด้วย

     เมื่อรู้ถึงอันตรายแบบนี้แล้วลองมาทำแบบฝึกหัด 12 ข้อนี้กันดูดีกว่า ถ้าตอบว่าใช่มากกว่า 2 ข้อก็ต้องรีบหาสาเหตุให้เจอเพื่อจะได้ป้องกันได้ทันท่วงที เพราะถ้ารอให้ช้าอาจยากเกินกว่าจะแก้ไขได้

  1. รู้สึกซ่าที่ปลายมือหรือเท้า
  2. รู้สึกเหมือนเข็มแทงที่ปลายมือหรือเท้า
  3. รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่ปลายมือหรือเท้า
  4. รู้สึกไวต่อความเจ็บปวด เช่น การแตะสัมผัสเบาๆ ก็ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ
  5. เจ็บปลายเท้าโดยเฉพาะกลางคืน
  6. ปลายมือ ปลายเท้าเย็น หรือร้อนผิดปกติ
  7. ปลายมือหรือเท้าชาและไม่รู้สึกเมื่อสัมผัส
  8. มือและเท้าไม่รู้สึกถึงความรู้สึกร้อนเย็น
  9. ไม่รู้สึกเจ็บเมื่อมีแผลที่เท้า
  10. กล้ามเนื้อที่ขาและเท้าอ่อนแรง
  11. รู้สึกไม่ค่อยมั่นคงและอ่อนแรงเวลายืนหรือเดิน
  12. เมื่อมีแผลมักเป็นแผลเรื้อรัง

 

    ข้อมูลจากเพจ เรื่องชาอย่าปล่อยให้ชิน   #อาการชา #ชาปลายมือปลายเท้า

 

             

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook