ระวัง! "ไข้เลือดออก" ระบาดหนัก รีบพบแพทย์ก่อนอาการหนัก เสี่ยงเสียชีวิต

ระวัง! "ไข้เลือดออก" ระบาดหนัก รีบพบแพทย์ก่อนอาการหนัก เสี่ยงเสียชีวิต

ระวัง! "ไข้เลือดออก" ระบาดหนัก รีบพบแพทย์ก่อนอาการหนัก เสี่ยงเสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น.พ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แม้ไม่ใช่ช่วงหน้าฝน แต่ในบางพื้นที่มีฝนตกประปรายอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นน้ำขังตามพื้นที่และภาชนะต่างๆ เสี่ยงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ และอาจทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ได้เช่นกัน

สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2561 นี้ ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค  ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 28 ก.พ. 61  พบผู้ป่วยทั้งประเทศ 3,072 ราย เสียชีวิต 9 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง 6 ราย และภาคใต้ 3 ราย

ขณะเดียวกันพบว่าส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตเป็นเด็กโตในช่วงอายุ 10-24 ปี (6 ราย) ผู้สูงอายุ (2 ราย) และวัยทำงาน (1 ราย)  และส่วนมากพบว่ามีโรคประจำตัวร่วมด้วย โดยเฉพาะโรคอ้วน ซึ่งอาการร่วมกับไข้ที่พบในระยะแรกของผู้เสียชีวิต คือ อาการปวดท้อง ถ่ายเหลว และในบางรายได้รับการวินิจฉัยท้องร่วง หรือลำไส้อักเสบมาก่อนด้วย

ทั้งนี้หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ช้าอาจทำให้อาการหนักก่อนมาถึงโรงพยาบาลได้ และอาจเป็นเหตุสำคัญทำให้มีโรคแทรกซ้อนรักษายากขึ้นและเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น หากประชาชนหรือพบคนใกล้ชิด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว มีอาการสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เช่น ไข้สูงมากโดยฉับพลัน ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ  ถ้ามีไข้สูง 2-3 วันไม่หายหรือไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ

  1. เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 

  2. เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

  3. เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย 

 

ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

อ่านต่อ >>

9 สิ่งควรระวัง เสี่ยงติด "ไข้เลือดออก"

6 สัญญาณเตือนภัย “ไข้เลือดออก” รีบหาหมอด่วน

“ไข้เลือดออก” ไม่มีสายพันธุ์ใหม่ แต่ทำไมรุนแรงถึงชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook