ไขข้อสงสัย! ทำไมเวลาเป่าลม ถ้าอ้าปากเป็นลมร้อน ถ้าปากจู๋เป็นลมเย็น

เคยสังเกตไหมว่าเวลาเราเป่าลมออกจากปาก ถ้าอ้าปากกว้างๆ ลมที่ออกมาจะรู้สึกอุ่น แต่ถ้าเราห่อปากให้เป็นทรงจู๋ ลมที่ออกมากลับเย็นลงอย่างเห็นได้ชัด เรื่องนี้มีคำอธิบายทางฟิสิกส์และอุณหพลศาสตร์ที่น่าสนใจอยู่นะ
วันนี้เราก็ได้ไปรวบรวมข้อมุลมาไขข้อสงสัยเพื่อนๆ ว่า ทำไมเวลาเป่าลม ถ้าอ้าปากเป็นลมร้อน ถ้าปากจู๋เป็นลมเย็น มันมีเหตุผลอะไร ทั้งๆ ก็เป่าลมออกจากปากเหมือนกันกัน
ถ้าอ้าปากเป็นลมร้อน ถ้าปากจู๋เป็นลมเย็น
ไขข้อสงสัย! ทำไมเวลาเป่าลม ถ้าอ้าปากเป็นลมร้อน ถ้าปากจู๋เป็นลมเย็น
ลมร้อนเมื่ออ้าปาก – เกิดจากอุณหภูมิภายในร่างกาย
เมื่อเราอ้าปากกว้างแล้วเป่าลมออก อากาศที่ออกมาจะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายในร่างกาย ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 36-37°C ทำให้รู้สึกว่าเป็นลมอุ่น หรือบางครั้งอาจรู้สึกร้อนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งลมที่ออกมาจากปากกว้างๆ จะมีแรงดันต่ำและเคลื่อนที่ช้า ทำให้อุณหภูมิของลมยังไม่ลดลงมาก
ลมเย็นเมื่อทำปากจู๋ – กลไกของการขยายตัวของอากาศ
ในทางกลับกัน เมื่อเราห่อปากให้เป็นทรงจู๋ ลมที่ออกมาจะถูกบีบให้ผ่านช่องที่แคบขึ้น ทำให้ลมเคลื่อนที่เร็วขึ้น และเกิดการขยายตัวของอากาศ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการทำงานของสเปรย์หรือพัดลม ลมที่เคลื่อนที่เร็วจะดึงพลังงานความร้อนออกไปจากผิวหนังของเราเร็วขึ้น ทำให้รู้สึกเย็นขึ้น
หลักการทางฟิสิกส์: กฎของแบร์นูลลี (Bernoulli’s Principle)
ปรากฏการณ์นี้สามารถอธิบายได้ด้วย กฎของแบร์นูลลี ซึ่งกล่าวว่า เมื่ออากาศไหลเร็วขึ้น ความดันของมันจะลดลง และอุณหภูมิก็จะลดลงตามไปด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อเราทำปากจู๋เป่าลม ลมที่ออกมาจึงให้ความรู้สึกเย็นกว่าปกติ