“สร้างคนให้ตรงกับงาน” ม.ศรีปทุมชูหลักสูตรใหม่ Design Innovation รับตลาดแรงงานยุคใหม่

“สร้างคนให้ตรงกับงาน” ม.ศรีปทุมชูหลักสูตรใหม่ Design Innovation รับตลาดแรงงานยุคใหม่

“สร้างคนให้ตรงกับงาน” ม.ศรีปทุมชูหลักสูตรใหม่ Design Innovation รับตลาดแรงงานยุคใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันบัณฑิตไทยยังเผชิญปัญหาเรียนมาไม่มีงานทำ หรือ ตกงาน ซึ่งปัจจุบันมีเด็กจบใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานปีละ 400,000-500,000 คน ทบเข้ามาทุกปี และในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาจำนวนบัณทิตใหม่ตกงานพุ่งสู่งมากขึ้น แม้วิกฤตจะผ่านพ้นไปแล้วและเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ขณะเดียวกันยังพบความต้องการทักษะแรงงานในตลาดเปลี่ยนแปลงไป “คนไม่ตรงกับงาน” ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของระบบการศึกษาไทยที่ต้องเร่งปรับตัวพัฒนาหลักสูตรสร้างบัณฑิตให้ตรงกับงาน

อาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันทักษะด้านกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ หรือ  Design Thinking สกิลซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก ด้วยทักษะความคิดสร้างสรรค์แนวใหม่ช่วยให้ออกแบบดีไซน์ หาทางออก หรือก้าวข้ามอุปสรรคทางธุรกิจ ทำให้หลายธุรกิจสามารถปรับตัวพ้นจากคลื่นเทคโนโลยี และยุคโควิด-19 และยังเป็นแกนของโมเดลธุรกิจคนรุ่นใหม่อย่างสตาร์ทอัพ ศาสตร์ด้านนี้ถือเป็นรากฐานของคณะ จึงเกิดแนวคิดประยุกต์ ระหว่างศาสตร์เก่าและศาสตร์ใหม่ เพื่อการเรียนการสอน โดยได้เปลี่ยนชื่อคณะใหม่เป็น คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อบ่มเพาะ “สร้างคนให้ตรงกับงาน”

“เรียนออกแบบ ไม่จำเป็นต้องวาดรูปอีกต่อไป เมื่อศาสตร์ของการออกแบบ หรือ “ดีไซน์” สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าให้บัณฑิต ให้กลายเป็น “ทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ” ในทุกอุตสาหกรรม ด้วยรากฐานของนักออกแบบ ถูกหล่อหลอมให้ มีการคิดวิเคราะห์แบบเป็นกระบวนการ และคิดออกแบบหาทางแก้ไข “ปัญหา” เพื่อหาทางเลือกที่ “ดีกว่า มากกว่า” ถือเป็นกระบวนการความคิดสร้างสรรค์  (Design Thinking) สกิลซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก

การเปลี่ยนชื่อคณะใหม่เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย ผสมศาสตร์เก่า ความคิดสร้างสรรค์ เข้ากับศาสตร์ใหม่ ที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน มุ่งสร้าง “คนให้ตรงกับงาน”  ให้นิสิตนักศึกษามีความโดดเด่นในทักษะรอบด้าน ทั้งศาสตร์และศิลป์ในกระบวนการทางความคิด มีทักษะด้านการออกแบบเชิงความคิดสร้างสรรค์ การปรับเปลี่ยน พร้อมก้าวสู่การทำธุรกิจส่วนตัว หรือการเป็นมันสมองส่วนสำคัญให้องค์กร ด้วยการผสานองค์ความรู้ ศาสตร์ 4 ด้านที่สำคัญและจำเป็นครบทุกมิติ ประกอบด้วย 1. Design Creative สร้างสรรค์โมเดลธุรกิจให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก 2. Humanity ความเข้าใจเรื่องคน สร้างความพึงพอใจ เจาะเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาด 3. Technology Innovation การใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มโอกาสธุรกิจ สอดรับทิศทางตลาด และนวัตกรรมใหม่ ๆ 4. Marketing & Management การบริหารกลยุทธ์เชิงการตลาด พร้อมเจาะลึกถึงกระบวนการตั้งต้น ผ่านแนวคิดการออกแบบตั้งแต่เรื่องของ สินค้า จุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคในแต่ละยุคที่เปลี่ยนแปลงไป ถัดมาเป็นเรื่องของ กระบวนการ ที่ส่งเสริม และตัดทอน ขั้นตอน ที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ จนไปถึงกระบวนการเพื่อสร้างสินค้า ผลิตภัณฑ์ และประสบการณ์ใหม่ การดีไซน์รูปแบบด้านบริการ ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ เน้นเรื่องการให้บริการ และสร้างความประทับใจ จดจำไม่รู้ลืม จนเกิดการมาใช้ซ้ำ ๆ และสุดท้ายคือเรื่อง การดีไซน์รูปแบบธุรกิจใหม่  ด้วยการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์ตลาดอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดได้เปิดหลักสูตรใหม่ ออกแบบนวัตกรรม (Design Innovation) เพื่อบ่มเพาะ บัณฑิต ที่มีความพร้อมออกไปเป็นมันสมองที่สำคัญเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม หรือ ออกไปสร้างธุรกิจของตัวเอง และเชื่อว่าบัณฑิตจากรั่วมหาวิทยาลัยจะเข้าไปเป็นหนึ่ง จิ๊กซอว์ ตัวสำคัญในการช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพในอนาคต

ซึ่งหลักสูตรใหม่นี้ทางคณะจะพร้อมเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2566 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.spu.ac.th  หรือ โทร 02 579 1111

“คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดว่าคนที่จะเรียน ‘ดีไซน์ หรือ ออกแบบ’ ต้องวาดรูปเป็น ซึ่งความจริงแล้ว คนที่วาดรูปไม่เก่ง วาดรูปไม่เป็นก็สามารถเรียนได้  เพราะการเรียนออกแบบนั้นมีรากฐานที่สำคัญ คือกระบวนการความคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญและจำเป็นของตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน เนื่องจาก สามารถนำไปประยุกต์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในธุรกิจ จนนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ”

ระยะเวลาตามหลักสูตร คณะการออกแบบ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือเน้นการศึกษาด้านแนวคิด กลยุทธ์ ทิศทาง และฝึกปฏิบัติในรูปแบบสตูดิโอดีไซน์ 3 ปี และเรียนรู้ ฝึกฝน กับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทตามความสนใจ เพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปี พร้อมนำ Talent ด้าน Design Thinking สู่การพัฒนา และขับเคลื่อนองค์กร และธุรกิจ หรือเป็นสตาร์ทอัพ หรือสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง ก้าวทันความต้องการตลาดแรงงาน ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเท่าทันโลก ตอบโจทย์ทุกธุรกิจแบบไร้ข้อจำกัด โดยตั้งเป้าสร้าง Talent “สร้างคนให้ตรงกับงาน” สามารถออกไปทำงานใน 6 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ Product innovation design, User interface design, Branding design, Event and exhibition, Social innovation, Real estate, ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจและองค์กร โดยมุ่งป้อนบุคลากรสู่ตลาดไทยและภูมิภาคปีละ 80-120 คน

ที่ผ่านมาคณะ สร้างให้นักศึกษาประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยสามารถต่อยอดและนำไปใช้ได้จริงในเชิงเพื่อสังคมและพาณิชย์ เช่น โครงการเฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 มอบอาคารแห่งความสุข ให้แก่ โรงพยาบาลพระยุพราชสระแก้ว หนึ่งผลงานในรายวิชา Design ของ นายสุนทร มันจิตร และนายปรัชญา เพ็ชรลุ นักศึกษาคณะคณะการออกแบบ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

“โดยจุดเริ่มต้นการสร้างสรรค์ผลงานมาจากรายวิชาออกแบบ (Design) นักศึกษาทุกคนจะได้รับ Assignment เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา ในโจทย์การแก้ Pain point เพิ่มสัดส่วน พื้นที่พักคอย รองรับสำหรับญาติผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระยุพราชสระแก้ว แต่ยังคงบริบทความร่มรื่นเน้นธรรมชาติ โดยเบื้องต้นทางคณะฯ ได้พานักศึกษาลงสำรวจพื้นที่จริง เพื่อเก็บรายละเอียด วิเคราะห์จุดแข็งที่นำไปต่อยอดได้ และจุดอ่อนที่ควรพัฒนา เพื่อเป็นฐานข้อมูลเพิ่มศักยภาพในการออกแบบมากขึ้น ด้วยบริบทการออกแบบที่คำนึงถึงวิถีชีวิต เป็นศูนย์กลางในการออกแบบ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สีเขียว มีต้นไม้ บรรยากาศความร่มรื่น”

โครงการได้รับคัดเลือกจาก 14 ผลงานออกแบบ เพื่อไปต่อสู่การต่อยอดพัฒนา นักศึกษาในทีมเริ่มต้นจากการดึงจุดเด่นสถานที่ ด้วยต้นไม้ และธรรมชาติที่ร่มรื่น มาสร้างสรรค์ต่อยอด โดยเริ่มไอเดียจากการวาดวงกลม 3 วงบนกระดาษ เป็น Format แทนต้นไม้ เพื่อเสริมสร้าง Element หรือการที่เราให้คนมาใช้พื้นที่ เสมือนว่าเราได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติภายใต้ต้นไม้ ด้วยการเสริมสร้างต้นไม้จำลองโครงเหล็กที่เกิดจากงานสถาปัตยกรรม ให้สัมพันธ์กับต้นไม้ภายนอกที่ยังคงไว้ โดยหลังจากที่ปรับตามคำนะนำจากคณะอาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัย และอาจารย์หมอ และแก้แบบเป็นฉบับสมบูรณ์แล้วส่งผลงานโครงการให้ SCG ทีมที่ปรึกษาตรวจสอบด้านโครงสร้าง และวัสดุ และประสานงานพูดคุยอธิบายกับช่างผู้รับเหมาก่อสร้างให้เห็นภาพว่าตัวแบบของเราจะเป็นการ Design ออกแบบมาในลักษณะพิเศษ เช่นการใช้โครงเหล็กมาเป็นจำลองเป็นกิ่งไม้ และลวดลายโครงสร้างแตกกิ่งก้านสาขาไปในบริเวณกว้าง เน้นการพูดคุยกันตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง โดยการทำงานต้องประสานกัน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันกับหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เป็นอาจารย์ ทีมที่ปรึกษา และบุคลากรทางการแพทย์ และยังต้องคำนึงถึงส่วนของผู้ใช้งานจริง คือ กลุ่มญาติผู้ป่วย สามารถเข้ามาใช้งานจริง ๆ ได้ เน้นการเลือกวัสดุที่ทนทาน แข็งแรง จากและแน่นอนว่าวัสดุคุณภาพมาพร้อมกับเรื่องของงบประมาณ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ SCG

หลักสูตรการเรียนที่เน้นให้นักศึกษาลงไปทำงานจริงตั้งแต่ต้นไปจนจบหารทำงาน เป็นการเพิ่มโอกาสสะสมประสบการณ์ คิดวิเคราะห์ ประยุกต์ ใช้ความรู้ที่มีบนสถานการณ์จริง ถือเป็นการบ่มเพาะให้มีความำพร้อมที่จะออกไปทำงานในสนามจริงได้ทันทีที่เรียนจบ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook