เปิดประวัติ และ ค่าเทอม "โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา" เรียนที่นี่ต้องเสียเท่าไหร่?

เปิดประวัติ และ ค่าเทอม "โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา" เรียนที่นี่ต้องเสียเท่าไหร่?

เปิดประวัติ และ ค่าเทอม "โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา" เรียนที่นี่ต้องเสียเท่าไหร่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกว่าเป็นโรงเรียนที่ถูกพูดถึงมากๆ บนโลกโซเชียลในขณะนี้เลยก็ว่าได้ สำหรับ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา โรงเรียนที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้นๆ ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งในวันนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาเปิดประวัติ และแอบดูค่าเทอมของ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา กันซักหน่อย ว่าเรียนโรงเรียนนี้ ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่กันบ้าง?

65055439_2138482456200686_488

ประวัติโรงเรียนโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา

พ.ศ.2475 ภารดาคณะเซนต์คาเบรียลจากกรุงเทพฯ ได้สร้างบ้านพักตากอากาศ ชื่อว่า “วิลลา สแตลลา มารีส” ในบริเวณโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ได้มอบหมายให้ครอบครัวคุณยอห์น และคุณอลิซ ลาร์สันต์ (ประยูร และมณี สิริสันต์) เป็นผู้ดูแล และใช้เป็นสถานที่สอนหนังสือบุตรหลานชาวบ้านในอำเภอศรีราชา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2479 คุณประยูรได้ขอจัดตั้งโรงเรียนอย่างเป็นทางการ ชื่อว่า “โรงเรียนวิลลา สแตลลา มารีส อันเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกในอำเภอศรีราชา และใน พ.ศ.2480 สามเณรผู้เตรียมตัวเป็นบาทหลวง ได้ย้ายสถานที่อบรมจากบางนกแขวง จังหวัดราชบุรี มาตั้งที่อำเภอศรีราชา คือ “สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา” และได้เข้ามาช่วยงานสอนและงานบริหารโรงเรียน

วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2484 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนดาราสมุทร” พ.ศ. 2486 นายสุนันต์ โรจนรัต เป็นครูใหญ่ มีการย้ายโรงเรียนจากบริเวณโรงเรียนอัสสัมชัญ มาอยู่บริเวณสามเณราลัยพระหฤทัยศรีราชา และได้สร้างอาคารทรงปั้นหยามุงด้วยจาก ใช้เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว พ.ศ. 2487 คุณประยูรได้โอนกิจการโรงเรียนดาราสมุทรให้แก่มิสซังจันทบุรี โดยมีพระคุณเจ้าสงวน สุวรรณศรี ซึ่งเป็นอธิการบ้านเณรพระหฤทัยศรีราชาเป็นผู้รับมอบโรงเรียน เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา

  • พ.ศ. 2489 ครบวาระปีที่ 10 นายบัณฑิต ปรีชาวุฒิ หรือต่อมา คือ บาทหลวงบัณฑิต ปรีชาวุฒิ เป็นเจ้าของ ผู้จัดการ และครูใหญ่ และมีการสร้างวัดพระหฤทัยศรีราชา เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ชั้นบนเป็นวัด และชั้นล่างเป็นห้องเรียน
  • พ.ศ. 2494 นายฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู ปัจจุบันคือพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ผู้บริหารในขณะนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารถาวรหลังแรก เป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยา 2 ชั้น 5 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2496 มีนายเลียม กอบโกย เป็นครูใหญ่ ต่อมาบาทหลวงอาทร พัฒนภิรมณ์ มารับหน้าที่การเรียนการสอนได้เปิดหอพักนักเรียนประจำ ซึ่งอยู่ในการบริหารงานของวัดคาทอลิกพระหฤทัย ศรีราชา มีนักเรียนประจำ 50 คน ซึ่งเป็นนักเรียนจากกรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ พ.ศ. 2500 บาทหลวงสวัสดิ์ กฤษเจริญ เป็นเจ้าของและผู้จัดการ สร้าง “อาคารดาราสมุทร” เป็นการต่อเติมอาคารเรียนจากอาคารหลังแรก และสร้างอาคารไม้ 2 ชั้น เป็นห้องเรียนชั่วคราวของนักเรียนชั้น ป.3-ป.4 เริ่มขยายชั้นเรียนถึงมัธยม
  • พ.ศ. 2502 บาทหลวงศวง ศุระศรางค์ เป็นผู้จัดการ และเริ่มตั้งวงโยธวาทิตครั้งแรกในเดือนธันวาคม และเริ่มมีการแข่งขันกีฬาสีประจำปีขึ้น
  • พ.ศ. 2507 บาทหลวงแหวน ศิริโรจน์ ผู้บริหาร ได้ก่อสร้างอาคารเซนต์จอห์นเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ขนาด 15 ห้องเรียน และได้สร้างอาคารเซนต์ปอลเป็นหอประชุมอเนกประสงค์ และในปี
  • พ.ศ.2509 มีการสร้างรั้วใหม่แทนรั้วลวดหนาม มาสเตอร์ถาวร วรศิลป์ ได้แต่งเพลงสดุดีโรงเรียนดาราสมุทร ซึ่งใช้ร้องกันอยู่ในปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2510 มีการสร้างหอประชุมอเนกประสงค์หลังใหญ่ ซึ่งใช้เป็นโรงอาหารหลักในปัจจุบัน และมีการแต่งตั้งมาสเตอร์เกรียงไกร เรือนงาม มาเป็นผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายปกครอง
  • พ.ศ. 2513 สามเณราลัยได้สร้างอาคารเพื่อเพิ่มเกียรติมงคลแด่พระเจ้า ใช้เป็นสถานอบรมสามเณร
  • พ.ศ. 2514 บาทหลวงเพิ่มศักดิ์ เสรีรักษ์ เป็นผู้จัดการ ได้สร้างอาคารซึ่งเป็นอาคารหลังหลักของสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา ในปัจจุบัน และมีพิธีอภิเษกพระสังฆราช ลอเรนซ์เทียนชัย สมานจิต เป็นประมุขของสังฆมณฑลจันทบุรี
  • พ.ศ. 2517 บาทหลวงประยูร นามวงศ์ เป็นผู้จัดการ มีการสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ซึ่งได้รื้อถอนเปลี่ยนแปลงเป็นอาคาร 72 ปี เซนต์ลอเรนซ์ในปัจจุบัน เป็นอาคารเรียนของนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และเป็นสถานที่บริหารงานโรงเรียน
  • พ.ศ.2518 โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ และมีการเปิดแผนกอนุบาลขึ้น
  • พ.ศ. 2519 บาทหลวงวีระ ผังรักษ์ เป็นผู้จัดการ ได้โดยเริ่มมีวารสารประจำโรงเรียน ชื่อว่า “ ร่มขวัญ ” และมีการสร้างห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ
  • พ.ศ. 2520 เริ่มสร้างอาคารเรียนระดับอนุบาล (ปัจจุบันได้รื้อถอนไปแล้ว) และมีการเปิดใช้สะพานลอย ในวันที่ 5 ธันวาคม โดยนายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิด พ.ศ. 2521 เริ่มก่อสร้างอาคาร 40 ปี (อาคารเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์)
  • พ.ศ. 2524 มีการขยายการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีการรวมกลุ่มโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี (รสจ.)
  • พ.ศ. 2526 บาทหลวงสมศักดิ์ พระประสิทธิ์ เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ พัฒนาการเรียนการสอน เน้นความรู้ คู่คุณธรรม มีสวัสดิการอาหารกลางวันแก่คณะครู และในปีนี้ สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นปอล ที่ 2 พระประมุขของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ได้ทรงพระกรุณาประกาศสถาปนาพระสังฆราชไมเกิ้ลมีชัย กิจบุญชู ศิษย์เก่า อดีตเจ้าของ ผู้จัดการ และครูใหญ่โรงเรียนดาราสมุทร ให้ดำรงสมณศักดิ์เป็น “พระคาร์ดินัลแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ”
  • พ.ศ.2529 บาทหลวงบรรจง พานุพันธ์ เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการได้มีการสร้างอาคาร 50 ปี เป็นหอพักนักเรียนชาย พ.ศ.2530 เริ่มมีการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนเป็นแห่งแรกในภาคตะวันออก และจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่า
  • พ.ศ. 2539 โรงเรียนมีอายุครบ 60 ปี บาทหลวงพงษ์นิรันดร์ นัมคณิสรณ์ ผู้อำนวยการในขณะนั้นได้รื้ออาคารหลังแรก อาคารดาราสมุทร อาคารหอพัก และอาคารพระแม่มารี แล้วสร้าง “อาคารสิริดารา” โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานนาม และทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดอาคาร
  • ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2539 พ.ศ. 2541 บาทหลวงวิศิษฎ์ วิเศษเธียรกุล ผู้อำนวยการ โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และวงโยธวาทิต ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และชนะที่ออสเตรเลีย พ.ศ. 2543 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสโมสร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอาคารบูรณาการ) และสระว่ายน้ำ “ยูบีลี”
  • พ.ศ. 2545 บาทหลวงยอด เสนารักษ์ ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ชื่อว่า “ศาลารวมใจ ต้านภัยยาเสพติด ” ขึ้นในบริเวณลานมัน (ลานโพธิ์) เดิม มีการปรับปรุงสนามฟุตบอลทั้ง 3 สนาม พัฒนาระบบสารสนเทศและเครือข่ายในสถานศึกษา และบาทหลวงเสกสรร สุวิชากร ผู้อำนวยการแทนมาสเตอร์กมล เอี้ยพินที่สิ้นชีวิต
  • พ.ศ. 2548 บาทหลวงประสาน พงศ์ศิริพัฒน์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต บาทหลวง เอนก ธรรมนิต ผู้อำนวยการ
  • ในปี พ.ศ. 2550 ได้ก่อสร้างอาคารเรียน 7 ชั้นขึ้น และทำการเปิดอาคาร
  • ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ชื่ออาคารว่า “อาคาร 72 ปี เซนต์ลอเรนซ์” มีการสร้างบาทวิถีมีหลังคากันแดดกันฝน เปลี่ยนรั้วโรงเรียน และมีการนำระบบการรูดบัตรมาใช้ในการซื้อของภายในโรงเรียน
  • พ.ศ.2553 บาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และบาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ ผู้อำนวยการ บริหารโรงเรียน ภายใต้นโยบาย “คุณธรรม นำความรู้” โดยเน้นการปลูกฝังและพัฒนาให้บุคลากร ทั้ง นักเรียน ครู และบุคลากรสนับสนุน เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับความเจริญทางสติปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้ มีการสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง ร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดาราสมุทร เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน

ค่าเทอม โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา

ค่าเทอม มี 2 หลักสูตร

  • หลักสูตรปกติ 28,000 บาท
  • หลักสูตร DMEP ทางโรงเรียนบอกว่าบวกเพิ่มจากหลักสูตรปกติอีก 15,000 บาท เป็น 43,000 บาท

เงินบริจาคเพื่อพัฒนาโรงเรียน

  • บังคับ 20,000 บาท

* ข้อมูลจากปีการศึกษา 2561 จากกระทู้ pantip.com

sign

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • ดาวทะเล หมายถึง สัญลักษณ์แทนชื่อ “ดาราสมุทร” และเป็นพระนามของพระแม่มารีย์องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน
  • วงกลม 3 วง หมายถึง ความรู้ คุณธรรม และระเบียบวินัย
  • คบเพลิงคู่ หมายถึง แสงสว่างแห่งวิชาการ และหลักธรรมที่จะต้องฉายแสงคู่กันเสมอ

สีประจำโรงเรียน โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา

  • สีประจำโรงเรียนมี 2 สี ได้แก่
  • สีขาว หมายถึง คุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงาม
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ความมุ่งมั่นและพลังในการพัฒนา

color

วิสัยทัศน์ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา

  • บริหารจัดการศึกษาที่ดี
  • คุณภาพเด่น
  • เน้นคุณค่าวัฒนธรรมองค์การ
  • สะท้อนจิตตารมณ์พระวรสาร
  • ชุมชนร่วมพัฒนา
  • หลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศ ก้าวหน้า

เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา

เพลงสดุดีดาราสมุทร

คำร้อง – ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน ถาวร วรศิลป์ ม.วุฒินันท์ และม.วัฒนา ไชยสมบูรณ์

มาเถิดเราพี่น้องขาวน้ำเงิน มาสรรเสริญดาราที่สดใส เพิ่มพูนเกียรติยศอันอำไพ ผดุงไว้ซึ่งขวัญใจชาวประชา นามดาราวิสุทธิ์แสนล้ำเลิศ เกียรติบรรเจิดล้ำเด่นการศึกษา ประเทืองวิทย์ประสิทธิ์ธรรมจรรยา มุ่งนำพาเหล่าเด็กไทยให้เจริญ (สร้อย)

(สร้อย) ลูกดารา ลูกดาราร่วมใจกันมา ช่วยจรรโลงดาราเรื่อยไป ให้รุ่งเรือง ให้รุ่งเรืองเพื่องฟุ้งอำไพ ขออวยชัยดาราเจริญ ไชโย

เกียรติวินัยและคุณงามความดี ดารามีไพบูลย์สุดจะไข การกีฬาลือเลื่องฟูเฟื่องไป ไม่มีใครห่อนมาเทียบหรือเปรียบปาน น้ำเงินขาวแพรวพราวบริสุทธิ์ ประเสริฐสุดธงชัยแห่งสถาน เป็นมงคลพาใจให้ชื่อนบาน ตลอดกาลดุจสักขีความมีชัย (สร้อย)

เราพื่น้องร่วมธงขาวน้ำเงิน จักเผชิญทุกอย่างเพื่อสร้างสรรค์ ให้ดารารุดหน้าทุกวี่วัน เป็นมิ่งขวัญอีกพลังชนมากมี จัดชูเชิดให้เหมือนดวงชีวา เทิดบูชาให้จรัสเรืองศักดิ์ศรี ให้ยิ่งวันวิ่งจำรูญพูนทวี ชั่วชีวีจักเรียกขานนามดารา (สร้อย)

ช่องทางการติดต่อ

โรงเรียนดาราสมุทร อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 11ถนนสุขุมวิท ศรีราชา ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 0-3831-1133,0-3831-2784 โทรสาร 0-3832-3188

อัลบั้มภาพ 18 ภาพ

อัลบั้มภาพ 18 ภาพ ของ เปิดประวัติ และ ค่าเทอม "โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา" เรียนที่นี่ต้องเสียเท่าไหร่?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook