นักวิทยาศาสตร์สกัดแก๊ส ออกซิเจน จาก ดินดวงจันทร์ สำเร็จ พร้อมใช้งานจริง!

นักวิทยาศาสตร์สกัดแก๊ส ออกซิเจน จาก ดินดวงจันทร์ สำเร็จ พร้อมใช้งานจริง!

นักวิทยาศาสตร์สกัดแก๊ส ออกซิเจน จาก ดินดวงจันทร์ สำเร็จ พร้อมใช้งานจริง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาวิธีสกัดแก๊สออกซิเจนจากดินดวงจันทร์ได้สำเร็จ ช่วยสกัดปริมาณแก๊สออกซิเจนมากกว่าวิธีการเดิม พร้อมใช้สำหรับโครงการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต

72623443_2680666751996922_183

นับแต่มีการสำรวจและเก็บตัวอย่างดินดวงจันทร์กลับมาโลก ทำให้นักดาราศาสตร์ทราบว่า ผิวดินของดวงจันทร์ (Regolith) มีธาตุต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบหลายชนิด แต่ธาตุที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญอย่างมาก คือ ออกซิเจน เพราะพบปะปนอยู่ในดินดวงจันทร์ปริมาณมากถึง 40 - 45% นักดาราศาสตร์จึงหาวิธีการสกัดแก๊สออกซิเจน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในโครงการสำรวจอวกาศ อาทิ ใช้หายใจ เป็นเชื้อเพลิงภายในยาน ช่วยลดต้นทุนการขนส่งจากโลก ซึ่งจะช่วยขยายระยะเวลาการสำรวจบนดวงจันทร์ด้วย

ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ใช้กระบวนการเคมีสกัดแก๊สออกซิเจนจากดินดวงจันทร์ด้วยวิธีการละลายดินจนเป็นของเหลว และใช้ไฮโดรเจนแยกเศษดินเหลวและน้ำที่อยู่ในดินออกจากกัน จากนั้น นำน้ำที่ได้ผ่านกระบวนการอิเล็กโทรไลซิส (Eletrolysis) สกัดแก๊สออกซิเจนและไฮโดรเจนออกมาจากน้ำ อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ยังไม่เหมาะต่อการใช้งาน เนื่องจากสกัดแก๊สออกซิเจนได้ปริมาณน้อย มีขั้นตอนที่ซับซ้อน และต้องใช้ความร้อนสูงมากถึง 1,600 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ละลายดินดวงจันทร์

นักวิทยาศาสตร์จึงพัฒนาวิธีการสกัดแก๊สออกซิเจนขึ้นใหม่ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า “Molten Salt Electrolysis” ซึ่งไม่จำเป็นต้องละลายดินดวงจันทร์จึงไม่ต้องใช้ความร้อนสูง สามารถผลิตแก๊สออกซิเจนได้มากขึ้น 96% และยังสกัดธาตุอื่นที่ผสมอยู่ในดินดวงจันทร์ เช่น ซิลิกอน เหล็ก แคลเซียม ฯลฯ ออกมาเป็นเศษผง ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้

อย่างไรก็ดี กระบวนการสกัดน้ำในดินนี้ทดลองใช้กับดินดวงจันทร์เทียมที่สังเคราะห์ขึ้นมาเท่านั้น เนื่องจากดินจริงมีราคาสูงมาก ถ้านำกระบวนนี้ใช้กับดินดวงจันทร์จริง น้ำและธาตุองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สกัดออกมาได้ อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะภูมิศาสตร์ของดวงจันทร์ ซึ่งอาจช่วยให้นักดาราศาสตร์วิเคราะห์แผนที่น้ำ และองค์ประกอบธาตุบนผิวดวงจันทร์ได้ละเอียดยิ่งขึ้นด้วย

เรียบเรียง:
เจษฎา กีรติภารัตน์ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook