เช็กลิสต์ความชิน 6 ข้อของคนกรุง ถ้าชินแบบนี้อนาคตกรุงเทพจะเป็นอย่างไร

เช็กลิสต์ความชิน 6 ข้อของคนกรุง ถ้าชินแบบนี้อนาคตกรุงเทพจะเป็นอย่างไร

เช็กลิสต์ความชิน 6 ข้อของคนกรุง ถ้าชินแบบนี้อนาคตกรุงเทพจะเป็นอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช็กดูสักหน่อย ว่าคุณเริ่มชินกับเรื่องอะไรแบบนี้ในกรุงเทพแล้วรึยัง? ถ้าชินบ่อยๆ อนาคตคนกรุงจะเป็นอย่างไร?

 istock-479062032-700istockphoto

คุณคิดว่าคุณอยู่ในกรุงเทพฯมานานแค่ไหน เจอคำถามแบบนี้บางคนอาจบอก “อยู่มาตั้งแต่เกิด” บางคนอาจบอกว่า “อยู่มาตั้งแต่เรียนหนังสือ” ขณะที่บางคนอาจบอกว่า “เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ไม่นานเพื่อหาโอกาสให้กับตัวเอง” แต่ระยะเวลาที่อยู่ไม่สำคัญเท่ากับว่า คุณชินกับสิ่งเหล่านี้หรือยัง ถ้าชินแล้วเราเชื่อว่า คุณเป็น แบงคอกเคี้ยน เต็มตัว

ชินกับการจราจรติดขัด และคำแก้ตัวติดปาก “ขอโทษที่มาสายรถติดจริงๆ”

คุณชินกับการเดินทางอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงบนท้องถนน และคุณรู้สึกว่าการเดินทางไปทำงานหรือไปเรียนด้วยเวลาดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ และคำแก้ตัวติดปากที่ว่า “ขอโทษที่มาสายรถติดจริงๆ”กลายเป็นคำติดปากของคุณเวลาไปไม่ทันเข้าทำงาน เข้าเรียน หรือทันนัดเพื่อน (ก็นะ กรุงเทพฯเป็นเมืองที่รถติดอันดับหนึ่งของเอเชียเมื่อปี 2560 เรื่องนี้คนกรุงทั้งหลายคุ้นเคยดี)

ชินกับมอเตอร์ไซต์บนท้องถนนที่จะขับเลนไหนก็ได้ จะสวนทางขับก็ได้

ข้อนี้ต่อเนื่องมาจากข้อแรกที่การจราจรติดขัดเลยทำให้ มอเตอร์ไซต์กลายเป็นยานพาหนะที่แก้ปัญหาให้กับหลายคน และ จำนวนมอเตอร์ไซต์ 3.5 ล้านคันบนถนนในกทม. จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นมอเตอร์ไซต์เต็มท้องถนนไปหมด ถ้าคุณขับรถก็ต้องให้ทางพวกเขา แม้เขาจะวิ่งตัดหน้าเราก็ต้องเบรคเพื่อให้ทางก่อน เพราะตามกฎหมายนั้น หากเกิดอุบัติเหตุยังไงเสียรถยนต์ก็ผิด นอกจากนี้คุณก็ยังต้องคอยระวัง มอเตอร์ไซต์ที่ขับย้อนศร ที่ไบค์เกอร์ ทั้งหลายมองว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ดังนั้นคนที่จะเป็นคนกรุงได้ต้องรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติไปด้วย

ชินกับพวกจอดรถได้ทุกที่ ทุกสถานการณ์

เพราะจำนวนรถมากกว่าถนน มากกว่าที่จอดรถ ดังนั้นการจอดรถในกรุงเทพฯจึงเป็นนิสัยที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เราจะเจอคนที่สามารถจอดรถในที่ห้ามจอดได้ จอดรถหน้าบ้านคนอื่นได้ จอดรถซ้อนคันได้แบบไม่ต้องปลดเกียร์ว่าง (จะได้ไม่มีใครมาเข็น) จอดรถเพื่อกีดขวางการจราจรได้ ถ้าต้องการซื้อของที่วางขายอยู่บนฟุตบาท และ แน่นอนที่สุดขั้นสุดของการจอดรถในกรุงเทพฯ คือการจอดรถในที่จอดรถคนพิการ หรือ แย่งที่จอดรถคนอื่น เวลาเห็นเรื่องแบบนี้แล้วคุณชิน มองว่าเป็นเรื่องปกติ คุณเป็นคนในเมืองหลวงได้เต็มตัวแล้วละ

ชินกับการสร้างอาชีพที่รุกล้ำสิทธิคนอื่น

ด้วยจำนวนประชากรในกรุงเทพฯที่ตัวเลขกำลังพุ่งไปที่ 6 ล้านคน ทำให้เมืองหลวงของเรากลายเป็นเมืองแห่งโอกาส พ่อค้าแม่ค้าเกิดใหม่บนฟุตบาท มีทุกหัวถนน จะผัดต้มแกงทอด ปิ้งย่างทำได้หมดเพียงแต่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของพื้นที่ (ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร) ดังนั้นคนกรุงเทพฯจึงมีอาหารริมทางให้กินตลอดเวลา มีตลาดที่เปิดได้ทุกที่ โดยที่ทางเขตเหมือนจะมองไม่เห็น จะไปเปิดในเขตที่อยู่อาศัยก็ทำได้ เช่นเดียวกับ ร้านรับซื้อของเก่าที่มีทุกชุมชน โดยที่คนในชุมชนก็ดูจะชินกับกลิ่นและเสียงรบกวนได้เป็นอย่างดี

ชินกับคนที่ละเมิดสิทธิเพราะคุณเป็นคนกรุงรักสงบ

ความสนุกสนานของคนกรุง อันที่จริงเป็นกันทั้งประเทศก็ว่าได้ ที่ต่างชื่นชอบงานปาร์ตี้ แม้ในสังคมเมือง ถ้าคิดจะจัดปาร์ตี้ เราสามารถเปิดเพลง กางเต็นท์ขวางบนถนนหน้าบ้านโดยที่ไม่ได้รู้สึกผิด เพราะอยากให้เพื่อนบ้านรับรู้ว่าสนุกมาก หรือเจอคนเอาเปรียบในพื้นที่ที่เป็นส่วนรวม จะไม่มีเสียงร้องโวยวายใดๆ ดังออกมาจากคุณ และปล่อยให้คนอื่นละเมิดสิทธิเพราะคุณเป็นคนรักสงบตามสไตล์คนกรุงนั่นเอง

ชินกับความมั่นของคนในสังคมที่ทำให้เราต้องหลบตามซอกลืบ

คำพูดที่ว่า อ่อนแอก็แพ้ไป ดูจะถูกใจคนในสังคมเมืองยิ่งนัก และ ทำให้พวกเขาสามารถทำอะไรโดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะเดือดร้อนรำคาญ ไม่ว่าจะเป็น คนที่เปิดโทรศัพท์ หรือ ไอแพด แล้วดูหนังฟังเพลงเสียงดังในร้านกาแฟ หรือ เด็กเล็กที่พ่อแม่ไม่ดูแล ปล่อยให้วิ่งร้องกรี๊ดๆในร้านอาหาร มารยาทสังคมเบื้องต้นเหล่านี้คนเมืองไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไรนัก และทำให้คนที่อยู่ในสังคมเมืองอย่างคุณ ต้องหลบไปอยู่ตามซอกลืบในร้านแบบเงียบๆ

ทั้งหกข้อด้านบนเป็นเพียงบางส่วน ที่คนกรุงเทพฯ เริ่มจะชินชาและเรากำลังทำให้เรื่องที่ผิดปกติกลายเป็นเรื่องปกติ เมื่อเป็นอย่างนี้เรามาดูกันต่อดีกว่าว่า กรุงเทพฯ ในอนาคตข้างหน้าที่เต็มไปด้วยความชาชินแบบนี้จะน่าอยู่สักเพียงใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook