จุฬาฯ พัฒนา "แก้วกระดาษ" ย่อยได้ใน 4 เดือน ลดปัญหาวิกฤตพลาสติกล้นโลก

จุฬาฯ พัฒนา "แก้วกระดาษ" ย่อยได้ใน 4 เดือน ลดปัญหาวิกฤตพลาสติกล้นโลก

จุฬาฯ พัฒนา "แก้วกระดาษ" ย่อยได้ใน 4 เดือน ลดปัญหาวิกฤตพลาสติกล้นโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไอเดียดี แถมยังช่วยรักษาธรรมชาติให้อยู่กับเรานานยิ่งขึ้นด้วย จุฬาฯ พัฒนา แก้วกระดาษ ย่อยได้ใน 4 เดือน

istock-636952114-700istockphoto

เพราะว่าในตอนนี้ปัญหาพลาสติกในประเทศไทยและโลก กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติมากๆ เพราะขยะพลาสติกนั้นใช้เวลานานมากในการย่อยสลาย รวมไปถึงยังสร้างความเดือดร้อนให้กับชีวิตสัตว์ต่างๆ รวมไปถึงธรรมชาติอันสวยงามอีกด้วย โดย ขยะพลาสติก อาจจะแตกสลายกลายเป็นเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ ซึ่งมองเห็นได้ไม่ชัดเจน แต่ยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ทะเล

ดังนั้นทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้เกิดไอเดียเล็กๆ ที่อาจจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกที่ล้นเมืองกับ แก้วกระดาษย่อยได้ใน 4 เดือน พร้อมบังคับใช้ทั่วมหาวิทยาลัยแทนแก้วพลาสติก 10 ก.ค. นี้ ก่อนขยายทั่วมหาวิทยาลัยใน 3 เดือน โดยทางมหาวิทยาลัยตั้งเป้าสามารถลดขยะจากแก้วพลาสติกได้มากกว่า 2 ล้านใบต่อปี

ปัญหาพลาสติกขั้นวิกฤติistockphotoปัญหาพลาสติกขั้นวิกฤติ

ในส่วนของตัวผลิตภัณฑ์แก้วกระดาษ ประกอบด้วย

  • กระดาษชนิดพิเศษที่สามารถย่อยสลายได้
  • สารเคลือบไบโอพลาสติกประเภท PBS ซึ่งผลิตจากวัสดุธรรมชาติ
  • หมึกพิมพ์น้ำมันถั่วเหลือง (Soy Ink) โดยจากการทดสอบทำปุ๋ยหมัก

ซึ่งจากการพัฒนาได้พบว่าแก้วแต่ละใบสามารถย่อยสลายจนหมดได้ภายใน 4-6 เดือน หรือหากตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ไว้ตามโคนต้นไม้ก็สามารถย่อยสลายได้ภายในเวลาไม่เกิน 12 เดือน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook