คู่มือทดลองขับเพื่อช่วยเลือกรถคันโปรด

คู่มือทดลองขับเพื่อช่วยเลือกรถคันโปรด

คู่มือทดลองขับเพื่อช่วยเลือกรถคันโปรด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รักต้องลอง...เทคนิคเลือกรถป้ายแดงอย่างมืออาชีพ

           ในวงการรถยนต์ทุกวันนี้ถือเป็นตลาดของผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพราะการแข่งขันในตลาดนี้เข้มข้นมาก ผู้ผลิตได้นำเอาจุดเด่นในด้านการออกแบบ ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ช่วงล่าง เทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่งมาใช้กันอย่างเต็มที่ จนเป็นยุคที่เราผลิตรถยนต์ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน ผู้บริโภคอย่างเราจึงมีอิสระอย่างเต็มที่ในการเลือกรถที่ “ถูกใจ” และ “ตอบโจทย์” ในชีวิต

           เพราะรถจะอยู่กับเราไปนานหลายปี เมื่อเห็นรถแล้วควรมีความสุข การขับขี่ก็มีความสุข เมื่อเป็นอย่างนี้ เรามาเจาะลึกถึงเทคนิคการเลือกซื้อรถที่ถูกใจ ต้องไลฟ์สไตล์กันดีกว่า จะเรียกว่าเป็นทริกพิชิตรถป้ายแดงจากโชว์รูมก็ได้ เพราะซื้อรถป้ายแดงก็ต้องมีเทคนิคเหมือนกันนะ  

          พิสูจน์สมรรถนะจริงของรถยนต์และเทคโนโลยีของฟอร์ดด้วยการทดลองขับด้วยตัวคุณเองที่โชว์รูมฟอร์ดทั่วประเทศ

 

          1.สำรวจภายนอก  

          เรื่องความสวยงาม การออกแบบ คุณคงหาข้อมูลกันมาบ้างแล้ว เราจะพาไปดูให้ลึกในรายละเอียด ด้วย “เทคนิคตาดู หูฟัง มือสัมผัส” ก่อนอื่นลองสังเกตความเงางามของสี ความเรียบสม่ำเสมอ รวมถึงความทนทานต่อรอยขีดข่วน แต่คงไม่ถึงขั้นหาอะไรไปลองขูด แค่สัมผัสพื้นผิวก็พอจะบอกได้ 

         เดินวนรอบคันเพื่อดูความประณีตในการประกอบ ตำแหน่งสำคัญคือตรงรอยต่อของชิ้นส่วน เช่น ช่องบานประตู ดูว่าเรียบสนิทสม่ำเสมอดีหรือไม่ เปิด-ปิดประตูช้าๆ ก็จะเห็น  แล้วลองดูวัสดุประกอบตัวรถว่า แข็งแรงทนทานดีพอไหม เหล็กหนาหรือเปล่า โครงสร้างเป็นอย่างไร เสียงที่หนักแน่นเวลาปิดประตู ก็บอกก็ได้ถึงความแข็งแกร่ง ซึ่งอาจจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในยามเกิดอุบัติเหตุ

          เรื่องความกว้างขวางและความจุในห้องโดยสารก็สำคัญ และที่สำคัญกว่าก็คือความสะดวกสบายในการขึ้นลง-เข้าออก ประตูบานหลังควรจะเปิดได้กว้างจนนำเอาคาร์ซีตขึ้นลงได้ง่าย ประตูบานท้าย หรือฝากระโปรงยกได้สูงพอที่จะนำกระเป๋าเดินทาง หรือถุงกอล์ฟเข้าออกได้ไหม 

          พาเด็กๆ ไปด้วยก็ดีนะ เพราะเด็กๆ นี่แหละจะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่บอกได้ว่า การเข้าออกจากตัวรถนั้นโอเคไหม

 

           2.ชื่นชมภายใน

           บางทีรถก็เหมือนห้องรับแขกต้องดูสไตล์การออกแบบ ความประณีต และวัสดุที่ใช้ว่าโดนใจไหม  ก่อนจะทดลองนั่งในท่าจับพวงมาลัยว่ากระชับ ถนัดมือหรือเปล่า 

          นอกจากสวยถูกใจแล้วควรคำนึงถึงหลักการออกแบบเพื่อความปลอดภัย เบาะนั่งควรจะแน่น ขึ้นไปนั่งแล้วประคองให้หลังตรง หมอนรองศีรษะที่ออกแบบมาอย่างถูกต้องจะต้องไม่เอียงไปข้างหลังจนสบายเกินไป ซึ่งจะช่วยให้ปลอดภัยมากขึ้นหากเกิดการกระแทกรุนแรง 

          ช่องเก็บของจุกจิก สมาร์ทโฟน  ถ้วยกาแฟ ควรอยู่ในระยะที่หยิบได้อย่างคล่องมือและมั่นคง รายละเอียดเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอย่างคาดไม่ถึงได้เหมือนกัน

           ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของบรรดาผู้ติดตาม จะช่วยกันทดลองนั่งๆ นอนๆ กระโดดโลดเต้นว่า พื้นที่ห้องโดยสารกว้างขวางดีพอไหม ที่นั่งแถวหลังเป็นอย่างไร พื้นที่เบาะนั่งหลังควรกว้างขวางพอจะรับต้นขาได้เต็มที่ไม่เช่นนั้นผู้โดยสารของคุณจะเมื่อยขามาก หากต้องเดินทางไกล 

 

          3.(ทดลอง)ขับให้คุ้นเคย

          ช้าก่อน...การทดลองขับไม่ใช่การออกตะลุย แต่เป็นการทำความรู้จักกันในสภาวะปกติ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและเห็นข้อดี-ข้อด้อยของรถ 

          เมื่อปรับตำแหน่งที่นั่งให้เหมาะสม ปรับตำแหน่งพวงมาลัยแล้ว ให้สังเกตทัศนวิสัยจากห้องโดยสาร กระจกหน้า กระจกหลัง กระจกข้างว่าชัดเจนไหม ปุ่มคอนโทรลต่างๆ อยู่ในระยะที่ปรับง่าย ไม่ต้องเอื้อม หรือต้องละสายตามากเกินไป 

          จังหวะที่สตาร์ทเครื่องยนต์ ให้สังเกตว่าตัวรถสั่นสะเทือนเพียงใด ถ้าเป็นรถที่ดี คุณจะแทบไม่รู้สึกถึงความสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์เลย จากนั้นเคลื่อนรถไปในสนามทดสอบ

          ในสนามทดสอบให้ลองพิจารณาว่า น้ำหนักและการตอบสนองของพวงมาลัยเมื่อใช้ความเร็วต่ำว่าเบาแรง ขับสบายหรือไม่ วงเลี้ยวกว้างเกินไปไหม โดยเฉพาะรถกระบะหรือรถ SUV วงเลี้ยวที่กว้างเกินไปจะลดความคล่องตัวในการขับขี่ 

           ลองขับช้าๆ สลับเบรคเพื่อดูการตอบสนอง ตำแหน่งเบรคไม่ควรลึกหรือตื้นเกินไป และที่ห้ามลืมก็คือ แอร์เย็นเร็วแค่ไหน เย็นสบายทั่วถึงหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อขับกลางแดด

           ในสนามทดสอบมาตรฐาน ค่ายรถยนต์จะเปิดโอกาสให้คุณได้ทดสอบการขับที่บอกสมรรถนะของรถได้มากขึ้น ควรทดลองขับไปตามสเต็ป  คือ

          - ขับผ่านลูกระนาดในความเร็วต่ำ เพื่อเช็คระบบการดึงกลับของพวงมาลัย 

          - ทดสอบการเข้าโค้งที่ความเร็ว 50 กม./ชม. เพื่อพิสูจน์ช่วงล่าง และเพิ่มความเร็วที่ 70 กม./ชม. ลองหักหลบสิ่งกีดขวางในระยะกระชั้นชิดเพื่อดูความแม่นยำของระบบพวงมาลัยไฟฟ้าและดูการทรงตัวของรถ

          - ดูการตอบสนองของเครื่องยนต์เมื่อเพิ่มความเร็ว ฟังเสียงและจังหวะเกียร์ว่าดึงเกินไปหรือไม่ ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. ความเร็วรอบต่ำกว่า 2,000 รอบ/นาที บอกถึงความประหยัดและแรงบิดที่ดี

          - ฟังเสียงในห้องโดยสาร ขณะรถแล่นด้วยความเร็ว ทั้งเสียงเครื่องยนต์และเสียงปะทะลม

          - ในระยะทางยาว ทดลองไล่ความเร็วจากระดับต่ำไปสูง เพื่อดูการทำงานของเกียร์ว่าสัมพันธ์กันดีกับการทำงานของเครื่องยนต์หรือไม่ ควรจะนิ่มนวลไม่กระชาก 

 

           4.ทันเกมเทคโนโลยี

           ทุกวันนี้ รถยนต์ยังอัดแน่นด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยในการขับขี่ให้ปลอดภัยและสะดวกสบาย การทำงานของระบบหลักๆ คือการแจ้งเตือนที่มาจากการตรวจวัดที่แม่นยำด้วยเรดาร์และเซนเซอร์ ผสานกับส่วนควบคุมที่มีการส่งข้อมูลตลอดเส้นทางเพื่อกำหนดการทำงานของส่วนต่างๆ 

          เทคโนโลยีส่วนใหญ่เน้นการรับมือกับสถานการณ์ที่ต้องการความปลอดภัยสูงสุด เช่น ระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง ระบบเตือนการชนด้านหน้า ระบบช่วยเบรกที่ความเร็วต่ำ ระบบตรวจจับรถขณะออกจากซองจอด ระบบเหล่านี้ทำงานโดยอัตโนมัติ เรียกว่าทำงานก่อนที่ผู้ขับขี่จะพบความผิดปกติเสียอีก 

          นอกจากนี้ยังมีระบบฉลาดๆ ที่ช่วยให้ทำการขับรถง่ายกว่าเดิม เช่น ระบบช่วยจอดอัจฉริยะ ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัจฉริยะ ระบบสั่งงานด้วยเสียงเพื่อเชื่อมต่อระบบสื่อสารและความบันเทิงภายในรถกับดีไวซ์ต่างๆ

           เวลาทดลองขับเราจึงอยากแนะให้คุณดูรายละเอียดพวกนี้ด้วย เพราะรถยนต์ทุกวันนี้ไม่ใช่เพียงพาหนะที่พาคุณไปถึงจุดหมาย แต่ถูกคิดมาเพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์ แต่ใครจะคิดได้รัดกุมและต้องใจเราที่สุด การได้ทดลองขับจริงจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

 

 


[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook