ชวนหนุ่มสาวออฟฟิศบริหารกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดศีรษะ

ชวนหนุ่มสาวออฟฟิศบริหารกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดศีรษะ

ชวนหนุ่มสาวออฟฟิศบริหารกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดศีรษะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการปวดศีรษะ อันเนื่องมาจากภาวะความเครียดและความกดดันในการทำงานของคนเมืองในปัจจุบัน เริ่มกลายเป็นเรื่องปรกติสำหรับหนุ่มสาวในวัยทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มที่ในแต่ละวันต้องใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จะพบว่าพอตื่นเช้าขึ้นมามักจะเริ่มมีอาการมึนศรีษะ ไม่สดชื่น

เมื่อเริ่มทำงานจะเริ่มรู้สึกปวดบริเวณ คอ ขมับทั้งสองข้าง หรือหน้าผาก บ้างก็มีอาการปวดตื้อๆ บางครั้งอาจจะตาพร่า และปวดบริเวณกระบอกตา และเมื่อเริ่มมีอาการหนักขึ้นจะมีอาการปวดถี่ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปวดศรีษะทุกวัน และเริ่มมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

แพทย์อายุรเวท วิภาพร สายศรี จาก คลินิกรักษาโรคปวดศีรษะดอกเตอร์แคร์ กล่าวว่า อาการปวดศีรษะอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

- อาการปวดศีรษะแบบมีพยาธิ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากเชื้อโรค หลอดเลือดในสมองอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ เนื้องอกในสมอง ซึ่งพบได้เพียง 10% ของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะซึ่งอาการปวดแบบนี้ สามารถรักษาได้ด้วยยา และการผ่าตัด

- อาการปวดศีรษะแบบไม่มีพยาธิสภาพ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดไมเกรน ปวดกระบอกตา ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ โดย อาการปวดดังกล่าวเป็นอาการปวดที่เกิดจากการที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณ ศีรษะได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากมีการเกร็งและกดทับของกล้ามเนื้อการปวดศีรษะ แบบนี้พบได้บ่อยมากกับกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ อาทิ โปรแกรมเมอร์ นักบัญชี สถาปนิก และผู้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

เนื่องจากพฤติกรรมการทำงานทำให้ กล้ามเนื้อบริเวณ บ่า ต้นคอ ต้องเกร็งต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งเกิดกล้ามเนื้อ หดตัวจนเป็นก้อนเล็กๆ ที่เรียกว่า Trigger Point เป็นจำนวนมาก ทำให้การกินยาแก้ปวด หรือ ยาคลายกล้ามเนื้อไม่มีผลต่อการรักษา

"พฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งกิจกรรม ที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างการใช้คอมพิวเตอร์จากการ ทำงานหรือเล่นเกมส์, การขับรถระยะไกล, ความเครียด ความวิตกกังวล หรือ แม้แต่การก้มหรือเงยหน้าเป็นเวลานาน" ผู้เชี่ยวชาญด้านการปวดศีรษะกล่าว

ส่วนวิธีการป้องกันอาการปวดศีรษะเรื้อรังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ ติดต่อกันเกินกว่า 2 ชั่วโมง และควรยุติกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณบ่า และคอทันทีที่ รู้สึกเกร็ง ที่สำคัญควรบริหารกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ ด้วยการยืดกล้ามเนื้อหลังการ ใช้คอมพิวเตอร์ทุกครั้ง ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอลล์ ปิดท้ายด้วยการพักผ่อน และทำสมาธิ เมื่อมีความเครียด เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

โดย แพทย์อายุรเวท วิภาพร สายศรี จาก คลินิกรักษาโรคปวดศีรษะดอกเตอร์แคร์ ได้ให้เทคนิคการบริหารกล้ามเนื้อคอเพื่อคลายความตึงเครียดระหว่างการนั่งปฏิบัติงาน ด้วย 5 ท่าบริหารง่ายๆ สามารถทำได้บนเก้าอี้ทำงานด้วยการบริหารกล้ามเนื้อคอ

ท่าบริหารที่แนะนำจะเน้นเฉพาะกล้ามเนื้อมัดหลักได้แก่ มัดกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid และ trapezius ซึ่งเป็นมัดกล้ามเนื้อทีส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ

 

ท่าที่ 1 หันศีรษะไปทางด้านซ้ายช้า ๆ ใช้มือซ้ายช่วยดึงค้างไว้นับ 1-10 วินาที จากนั้นสลับทำด้านขวา

 

ท่าที่ 2 ก้มศีรษะพยายามให้คางชิดอกมากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที

 

ท่าที่ 3 เงยหน้าขึ้นช้า ๆ ไปด้านหลังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ 10 วินาที

 

ท่าที่ 4 เอียงศีรษะไปทางด้านขวา ใช้มือขวาช่วยดึง พยายามให้ศีรษะชิดไหล่มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นสลับทำด้านซ้าย

 

ท่าที่ 5 หันศีรษะไปทางด้านซ้าย 45 องศา ใช้มือขวาช่วยดึงพร้อมก้มลงช้าๆให้มากที่สุดค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นสลับทำด้านขวา

ปัจจุบันคลินิกรักษาโรคปวดศีรษะดอกเตอร์แคร์ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกลไก การทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบการทำงานของเลือด และ Trigger Point อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการปวดศีรษะ และได้พัฒนาเทคนิคการรักษาโรคปวดศีรษะและโรคไมเกรน ที่เรียกว่า DMT(Doctor Care Manipulation Technique)

ซึ่งเป็นเทคนิคการรักษา ที่มุ่งขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของ เลือดและออกซิเจน ที่ขึ้นไปเลี้ยง บริเวณศีรษะและสมอง เมื่อการไหล เวียนของเลือดเป็นปกติ อาการปวดศีรษะทั้ง เฉียบพลันและเรื้อรังก็จะบรรเทาและดีขึ้นเป็นลำดับโดยไม่ต้องรับประทานยา โปรแกรมการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 2-6 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพกล้ามเนื้อและระยะ เวลาที่มีอาการของผู้ป่วย

ผู้สนใจสามารถโทรนัดหมายเพื่อขอตรวจและปรึกษาอาการ ไมเกรนและปวดศีรษะเรื้อรัง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ 02 6777 552-3 หรือ ดูรายละเอียด การรักษาแบบ DMT ได้ที่ www.drcareclinic.com

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook