ปลาดิบ อันตรายที่ซ่อนอยู่ในความอร่อย

ปลาดิบ อันตรายที่ซ่อนอยู่ในความอร่อย

ปลาดิบ อันตรายที่ซ่อนอยู่ในความอร่อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมนูปลาดิบคงเป็นสิ่งที่หลายคนโปรดปราน แต่ทราบหรือไม่ว่าการทานปลาดิบนอกจากความอร่อยแล้วยังมีอันตรายแฝงอยู่หลายอย่าง ลองมาดูผลเสียกันเลยดีกว่า

ชนิดของปลาดิบ

ปลาดิบถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปลาดิบน้ำจืด และปลาดิบน้ำเค็ม โดยปลาสองชนิดนี้ก็มีเชื้อโรคที่ติดมากับเนื้อปลาที่แตกต่างกันไป ปลาดิบน้ำจืดจะมีพยาธิบางชนิดแอบแฝงอยู่ ได้แก่ พยาธิตัวจิ๊ด และพยาธิใบไม้ลำไส้ เป็นต้น แต่โดยทั่วแล้วคนส่วนใหญ่กลับคิดว่าปลาน้ำเค็มไม่มีพยาธิ แต่ในปลาน้ำเค็มก็อาจพบตัวอ่อนของพยาธิอะนิซาคิส แต่ในปลาน้ำเค็มจะมีการพบพยาธิน้อยกว่าปลาน้ำจืด มีความรุนแรงน้อยกว่า ปลาที่ใช้ในการประกอบอาหารญี่ปุ่นจะเป็นปลาน้ำเค็มเป็นส่วนใหญ่

พยาธิอะนิสซาคิสที่อยู่ในปลาน้ำเค็ม ถึงแม้ว่าพบได้น้อย มีความรุนแรงน้อยกว่า แต่ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ จะพบได้มากได้ในตัวปลาบางชนิด เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาทูแขก ปลาลัง ปลาคอด ปลาแซลมอน และปลาเฮอริ่ง เป็นต้น ตัวอ่อนเหล่านี้สามารถติดต่อสู่คนได้ พยาธิเหล่านี้จะอยู่ภายในช่องท้องของปลาทะเล โดยพยาธิชนิดนี้จะใช้หนามขนาดเล็ก และใช้ปลายแหลมในการไชผ่านเนื้อเยื้อต่าง ๆ

อาการผิดปกติที่เกิดจากพยาธิอะนิซาคิส

พยาธิอะนิซาคิสในขณะที่เป็นตัวอ่อนสามารถติดต่อสู่มนุษย์ ปากของพยาธิชนิดนี้จะมีหนามขนาดเล็กและปลายหางแหลม ในขณะที่มีการคลื่นที่ไชในกระเพาะอาหารและลำไส้ของคน จะทำให้เกิดแผลขนาดเล็ก จนส่งผลทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ จึงทำให้ผู้ที่มีพยาธิชนิดนี้อยู่ในกระเพาะอาหารมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้

การวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยจะทำโดยการส่องตรวจกระเพาะอาหาร ถ้าหากพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ก็จะใช้กล้องคีบตัวพยาธิออก พยาธิชนิดนี้จะไม่ออกมากับอุจจาระ เพราะมันจะเกาะแน่นติดกับกระเพาะอาหารและลำไส้ ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้สำหรับการรักษาพยาธิชนิดนี้ แต่การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า วาซาบิมีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิชนิดนี้ แต่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาอยู่

วิธีกินปลาดิบให้ปลอดภัย

  • การทำปลาดิบจะต้องใช้ปลาทะเลเท่านั้น หากใช้ปลาน้ำจืดในการทำ จะทำให้เกิดโรคพยาธิตัวจิ๊ด และพยาธิใบไม้ในลำไส้ได้
  • ควรแช่แข็งปลาที่อุณหภูมิ – 35 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 15 ชั่วโมง นำมาผ่านความร้อน 60 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5 นาที ก่อนนำมาประกอบอาหาร จะช่วยฆ่าพยาธิได้
  • ควรแน่ใจว่ามีการปรุงให้ถูกสุขอนามัย มีความสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาดิบเกิดการติดเชื้อ

การทานปลาดิบจะต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะปลาบางชนิดมีพยาธิแฝงอยู่ในตัวปลา หากทานเข้าไปจะทำให้ร่างกายได้รับตัวอ่อนของพยาธิเข้าไป จนส่งผลเสียต่อร่างกายได้อย่างไม่รู้ตัวนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook