รักยุคใหม่...ต้องกล้าท้าเลิกและกล้าหาใหม่!!!

รักยุคใหม่...ต้องกล้าท้าเลิกและกล้าหาใหม่!!!

รักยุคใหม่...ต้องกล้าท้าเลิกและกล้าหาใหม่!!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพิ่งผ่านพ้นเดือนแห่งความรักไปไม่นาน เชื่อว่าหลายคู่อาจกำลังเตรียมวางแผนสละโสด หรือจัดทริปฮันนีมูน แต่ไม่ว่าจะเป็นคู่รักแบบไหน กุญแจสำคัญที่จะทำให้คู่รักประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย คือ การวางแผนการเงิน วันนี้ เรามีภารกิจใหม่ๆ แบบอินเทรนด์ที่ทำให้แผนการเงินสนุก ท้าทาย และมีสีสันกว่าเดิม 

ภารกิจท้า “เลิก”

เลิก! คือเลิกค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย เช่น กินข้าวนอกบ้านแทบทุกวัน ดูหนังในโรงภาพยนตร์เกือบทุกเรื่อง ช็อปปิ้งของที่ไม่จำเป็นจริงๆ รวมถึงท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศทุกวันหยุด

ลองตั้งกฎสำหรับคู่ของขึ้นมา หากใครทำผิดกฎต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีกองกลางเป็นการลงโทษ แนะนำว่า ถ้าอยากให้ตัวเลขดีดสูงเร็วเท่าไร ลองเพิ่มความสนุกท้าทายผ่านการเล่นเกมส์ “ความซื่อสัตย์” เช่น ถ้าคู่คุณบ้าช้อปปิ้ง ลองตั้งกฎให้ซื้อของฟุ่มเฟือยได้เดือนละไม่เกิน 5,000 บาท หากทำผิดกฎ ต้องนำเงินไปลงกองกลางเท่ากับจำนวนเงินที่ใช้เกินที่กำหนดไว้ 

ภารกิจท้า “หาใหม่”

ลองหาอะไรใหม่ๆ เป็นไอเดียทำกิจกรรมร่วมกัน แล้วตั้งเป้าว่าเราต้องทำมันให้ได้ เช่น ตั้งเป้าว่าจะไปวิ่งอาทิตย์ละ 2 วัน ถ้าทำไม่ได้ จะถูกปรับ 500 บาท หรือชวนกันลดน้ำหนักให้ได้ 2 กิโลกรัมภายใน 2 เดือน ถ้าทำไม่ได้ ถูกปรับ 1,000 บาท และถ้าน้ำหนักขึ้น ปรับเงินตามจำนวนขีดของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น คูณด้วย 1,000 บาท เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้นมา 2 ขีด ก็คูณ 1,000 บาท เท่ากับว่าคุณจะถูกปรับ 2,000 บาทเลยทีเดียว ทริคนี้ก็ช่วยทำให้ภารกิจนี้ เพิ่มเงินได้ดีทีเดียว

เปิดอกคุยเรื่องเงิน

ขั้นตอนแรกอาจจะน่าเบื่อหน่อย แต่ก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ข้ามไม่ได้ เพราะถ้าคุณทั้งคู่ไม่เปิดอกคุยเรื่องเงินแบบจริงจัง เป้าหมายที่จะเป็นคู่รักกระเป๋าหนักคงไม่มีวันเป็นไปได้ ดังนั้น ถ้าอยากให้การเงินของคุณทั้งคู่บรรลุเป้าหมายก็จง “เปิดอกคุยเรื่องเงิน” รายได้เท่าไร รายจ่ายเท่าไร มีหนี้สินอะไรบ้าง ปัญหาการเงินในตอนนี้ นิสัยการใช้เงิน แผนการใช้เงินในอนาคต เรียกได้ว่าแบไต๋ทุกเรื่องการเงินให้หมดเปลือก

ถ้าคิดที่จะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว อย่าคิดว่ากระเป๋าใครกระเป๋ามันต่างคนต่างจัดการกันเอง เพราะเรื่องเงินๆ ทองๆ กับการใช้ชีวิตร่วมกันอาจสร้างปัญหาเล็กๆ ที่สะสมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต คุณจำเป็นต้องรู้ว่าคู่ของคุณมีนิสัยการใช้เงินอย่างไร เพื่อช่วยกันวิเคราะห์หาแนวทางป้องกันปัญหาทางการเงิน และวางแผนการออมให้เหมาะกับรายรับและรายจ่ายของทั้งคู่

ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

ขั้นตอนนี้เบสิค แต่เป็นประโยชน์อย่างมาก แน่นอนว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไป การจดบันทึกอาจเป็นเรื่องน่าเบื่อ ลองหาแอพพลิเคชั่นเจ๋งๆ ที่ช่วยทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้จัดการด้านการเงิน ติดตามการใช้จ่ายของคุณ และมีระบบแจ้งเตือนค่าใช้จ่ายประจำเมื่อถึงกำหนดที่ต้องชำระ และสามารถดูภาพรวมรายรับ-รายจ่ายตั้งแต่รายวัน, รายสัปดาห์และรายเดือนได้ เช่น Mobills : Budget Planner เป็นแอพที่ใช้งานง่าย รวมถึงยังสามารถใช้งานแบบออฟไลน์ได้อีกด้วย, AndroMoney สามารถใช้งานร่วมกับแอพฯ ฝากไฟล์อื่น ๆ เช่น Google Docs และ Dropbox ได้ด้วย Mint: Budget, Bills, Finance สามารถชำระบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านแอพฯ ได้โดยตรง

คราวนี้คุณทั้งคู่จะรู้ว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไร และหมดไปกับค่าใช้จ่ายเรื่องไหน คุณอาจพบว่าพวกคุณใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยวเสียเป็นส่วนใหญ่ บางคู่อาจจะหมดเงินไปกับการกินอาหารนอกบ้านทุกอาทิตย์ เมื่อมองเห็นภาพรวมพฤติกรรมการเงินของคุณทั้งคู่แล้ว ทำให้ง่ายต่อการวางแผนการเงินในขั้นตอนต่อไป

เปิดบัญชีกลาง

ตามหลักทั่วไปของการใช้ชีวิตคู่คือ คุณจะต้องมีบัญชีกองกลางสำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน นำค่าใช้จ่ายที่ควรอยู่ในบัญชีกองกลางเช่น ค่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง รวมถึงค่าท่องเที่ยวที่คุณวางแผนจะไปด้วยกัน ฯลฯ คำนวณรายจ่ายในแต่ละเดือน แล้วบวกเพิ่มเข้าไปอีก 10% ของรายจ่าย เนื่องจากรายจ่ายบางอย่างไม่คงที่ทุกเดือน จากนั้นนำเงินจำนวนนั้นมาหารครึ่งเพื่อลงเงินกองกลางทุกเดือน คราวนี้คุณทั้งคู่ก็จะรู้แล้ว ว่าต้องลงเงินคนละเท่าไหร่ และเหลือเงินสำหรับใช้ และเก็บเท่าไหร่

ใช้เงินทำงานให้งอกเงย  

ถ้าคุณสามารถผ่านขั้นตอนวางแผนการเงินร่วมกันมาจนถึงขั้นตอนสุดท้ายได้แล้ว แสดงว่าคุณพร้อมสำหรับการสร้างอนาคตร่วมกันแล้วล่ะ

เพราะการออมเงินในขั้นตอนนี้คือบันไดก้าวสำคัญของการทำให้เงินเก็บของคุณงอกเงย เพียงคุณกำหนดสัดส่วนของเงินเก็บ บางคู่อาจเก็บ 10% ของรายได้ทั้งคู่ หรืออาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้เงินและรายรับรายจ่ายของคุณทั้งคู่ ส่วนรูปแบบการลงทุนก็มีให้เลือกมากมาย หากคู่ไหนพร้อมที่เสี่ยง ก็มีการลงทุนหลายอย่างที่มีความเสี่ยงน้อย ไปถึงความเสี่ยงสูง เช่น กองทุนที่เน้นการลงทุนหุ้นขนาดเล็ก-กลาง เลือกที่มีมีแนวโน้มการเติบโตสูงในอนาคต กองทุนปันผล ลงทุนในกองทุมรวมตราสารหนี้ก็น่าสนใจ แต่ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาการลงทุนที่เหมาะสม

แต่สำหรับคู่ที่เริ่มต้นการออม และยังไม่อยากเสี่ยงกับการลงทุน เพียงแค่ต้องการฝากเงินให้งอกเงย เห็นดอกเบี้ยสะสมไปเรื่อยๆ ขอแนะนำ ME by TMB ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป 4 เท่า ที่สำคัญ คือ เบิกเงินมาใช้ฉุกเฉินได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ แต่ถ้าคุณวางแผนอนาคตระยะยาว น่าจะทำประกันชีวิตควบคู่ไปกับการลงทุนรูปแบบอื่นๆ ด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook