เตรียมตัวเป็นคุณแม่ในวัย 35 เพื่อลูกน้อยที่ปลอดภัย

เตรียมตัวเป็นคุณแม่ในวัย 35 เพื่อลูกน้อยที่ปลอดภัย

เตรียมตัวเป็นคุณแม่ในวัย 35 เพื่อลูกน้อยที่ปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อายุ 35 แล้ว จะยังสามารถตั้งครรภ์มีลูกที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้หรือไม่ เป็นคำถามที่ผู้หญิงหลาย ๆ คนสงสัย เพราะในวัยนี้เป็นวัยที่ภาวะการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงเรานั้น ไม่ค่อยสมบูรณ์สักเท่าไหร่ ผู้หญิงหลายคนที่ตั้งครรภ์กันในวัยนี้ มีภาวะแทรกซ้อน เช่น แท้ง คลอดก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ ทารกผิดปกติ ความดันสูง เบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาน แต่ทั้งนี้ ก็มีคำแนะนำในการเตรียมตัว เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่เช่นกัน ดังนี้

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์

1. จากสถิติพบว่า  เมื่อมีอายุเกิน 35 ปี การตั้งครรภ์ จะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น และเด็กทารก ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่สมบูรณ์ หรือมีความผิดปกติมากขึ้น และความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ที่อายุเพิ่ม ดังนั้น เราต้องเตรียมความพร้อม ด้วยการรับคำปรึกษา และรักษาจากแพทย์ เพื่อจะได้ทราบประเมินโอกาสและความเสี่ยงต่าง ๆ เป็นการวางแผนล่วงหน้า

2. เข้าพบแพทย์ตามการนัดหมายเป็นประจำ เพื่อหารือปัญหาสุขภาพ การดำเนินชีวิต แผนการตั้งครรภ์ และเป็นการตรวจความพร้อมของร่างกายในเบื้องต้น

3. รวบรวมประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว และแจ้งให้แพทย์ทราบ ว่าทีผ่านมา ทั้งตนเอง และครอบครัว เคยมีปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง เคยตั้งครรภ์มาก่อนหรือไม่ เคยผ่านการผ่าตัดหรือไม่ มีโรคประจำตัวอะไร ใช้ยาอะไรอยู่บ้าง มีการเสพติดอะไรหรือไม่ ควบคุมอาหาร เลือกรับประทานอาหารอย่างไร รวมไปถึงการออกกำลังกาย และการชีวิตในสังคม

4. แพทย์อาจจะสั่งให้รับประทานวิตามินบางอย่าง ประมาณ 3 เดือน ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น โฟลิค เพราะจะช่วยลดลดความเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการที่ไม่ปกติของทารกได้

5. ควรปรับวิถีการดำเนินชีวิต ทั้งคู่สามีและภรรยา เช่นเลิกดื่มเหล้า เลิกสูบบุหรี่

6. น้ำหนักเป็นเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงเช่นกัน ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่มีน้ำหนักมาก หรือน้อยเกินไป

7. ใช้ชีวิตประจำวันอย่างคำนึงถึงเรื่องสุขภาพ เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยคืนละ 8 ชั่วโมง รับประทานอาหารสด สะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 4-6 วัน ผ่อนคลาย ไม่ทำให้ตนเองอยู่ในภาวะเครียด เพราะสิ่งเหล่านี้ จะมีผลต่อโอกาสที่จะตั้งครรภ์

8. ใช้เวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ ดูแสงเสียงจากธรรมชาติ จะเป็นผลดีต่อร่างกาย จิตใจ และอารมณ์

ในระหว่างการตั้งครรภ์

1. พบแพทย์ทุกครั้งที่มีการนัดหมาย เพื่อรับการดูแลรักษา ตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติ ที่อาจส่งผลต่อทารกเป็นระยะ

2. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะเมื่ออายุ 35 แล้ว ต้องมีการตรวจคัดกรองความผิดปกติเป็นประจำ

3. เชื่อในสัญชาติญาณ หากมีความรู้สึกไม่ปกติด ให้ไปพบแพทย์ หรือไปโรงพยาบาลทันที

4. ไม่ควรไปร้านเสริมสวยบ่อย เพราะในร้านเหล่าซาลอนมีสารเคมีมาก ไม่ควรทำสีผม หรือใช้สารเคมีกับร่างกาย

5. ดูแลเรื่องอาหารให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งหากเกิดขึ้นมา ก็จะส่งผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิดมาด้วย

6. ในการเข้าตรวจเช็คครรภ์นั้น ควรได้พบกับผู้เชี่ยวชาญในทุกครั้ง และหากมีปัญหา มีข้อข้องใจ หรือมีความผิดปกติ ก็ต้องรีบขอคำปรึกษา

7. กิน นอน ออกกำลังกาย และผ่อนคลาย ให้เป็นเวลา

8. อาจจะเข้าคลาสสำหรับผู้ตั้งครรภ์ เช่นโยคะ หรือเดินออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาที

9. ในไตรมาสแรก ให้สังเกตตัวเอง ทำอะไรให้ช้าลง นอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น เวลานอนควรนอนตะแคง ไม่นอนหงาย หาเวลานอนพักช่วงกลางวัน บางคนอาจมีอาการแพ้ ก็ให้หลีกเลี่ยงของที่มีกลิ่นแรง อาหารทอด และไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง เปลี่ยนเป็นรองเท้าส้นแบบ หรือผ้าใบ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้สวมใส่สบาย เพราะเมื่อใกล้คลอด อาจจะมีอาการเท้าบวม หลีกเลี่ยงภาวะที่ก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ อาจจะมีความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้น ให้เลือกเลือกเสื้อผ้า แต่งกายให้เหมาะสม

10. ในไตรมาสที่สอง ถือว่าเป็นช่วงสบาย ๆ ก็ให้รักษากิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ทำมาในไตรมาสแรก

11. ในไตรมาสที่สาม  เป็นช่วงใกล้คลอดแล้ว ใน 4 สัปดาห์สุดท้ายนี้ หากยังทำงานอยู่ ก็ให้ปรึกษาแพทย์ว่าหากทำงานต่อไปจะเพิ่มภาวะเสี่ยงหรือไม่ บางคนอาจจะขอเลิกงานเร็วกว่าปกติ แต่ก็สามารถเล่นโยคะ ออกกำลังกายเบา ๆ ต่อไปได้ ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ

Credit : wikihow.com

Photo : istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook