"โนบรา" เสรีภาพที่พึงกระทำได้ของสตรีเพศ

"โนบรา" เสรีภาพที่พึงกระทำได้ของสตรีเพศ

"โนบรา" เสรีภาพที่พึงกระทำได้ของสตรีเพศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คำว่า “สิทธิส่วนบุคคล” มักถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่เสมอ เมื่อใดก็ตามที่มีการเรียกร้องเกี่ยวกับประเด็นสังคมต่าง ๆ ที่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังเช่นกรณี “โนบรา” ที่กำลังถกเถียงอยู่ในทวิตเตอร์เวลานี้

การไม่ใส่เสื้อชั้นในที่เรียกกันว่า No Bra หรือ Braless นั้น เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมานานแล้วว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สตรีเพศพึงกระทำได้ แต่กลับถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพเพียงเพราะเหตุผลไม่กี่อย่าง


“กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ”

หนึ่งในนั้นคือเหตุผลที่ระบุว่าเป็นการ “กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ” ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนไม่ต่างจากการแต่งตัวเซ็กซี่ของผู้หญิงที่ถูกมองว่าเป็นการยั่วยุให้ผู้ชายเกิดอารมณ์ทางเพศได้ ซึ่งเรื่องนี้เคยตกเป็นประเด็นดราม่าอยู่บ่อยครั้ง จากกรณีที่มีข่าวการข่มขืนกระทำชำเราหรือล่วงละเมิดทางเพศ แต่ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อกลับถูกกล่าวหาว่าแต่งตัวโป๊จนทำให้ผู้ต้องหาไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้

แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่าความต้องการทางเพศมีผลมาจากสิ่งเร้าภายนอกด้วยเช่นกัน แต่ต้องยอมรับว่าการรณรงค์ให้ผู้หญิงแต่งตัวมิดชิดเพื่อลดปัญหาการคุกคามทางเพศนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด

เพราะแท้จริงแล้วเกิดจากความกำหนัดของผู้ชายที่ไม่สามารถหักห้ามความรู้สึกของตัวเองได้จนกลายเป็นปัญหาสังคมตามมา ต่อให้แต่งตัวเรียบร้อยเพียงใดก็ถูกคุกคามทางเพศได้ ประเด็นเรื่องการไม่ใส่เสื้อชั้นในจึงถูกมองว่าไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศแต่อย่างใด


การเคลื่อนไหวทางสังคม
ที่ผ่านมาเคยมีความเคลื่อนไหวทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องโนบรามาแล้ว เพื่อเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย หนึ่งในนั้นก็คือการรณรงค์ให้ผู้หญิงเปลือยอกได้อย่างเสรี โดยองค์กรสตรี Go Topless ที่รณรงค์ให้วันที่ 26 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันเปลือยอกสากล” หรือ Go Topless Day เพื่อเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยผู้หญิงสามารถเดินเปลือยอกได้อย่างเปิดเผย

เช่นเดียวกับแคมเปญ Free the nipple ที่รณรงค์ให้มีการเปลือยอกอย่างเสรี เพราะมองว่าหน้าอกเป็นเพียงสิ่งหนึ่งของร่างกาย ไม่ต่างจากผู้ชายที่สามารถเปลือยอกได้อย่างอิสระ

สำหรับในบ้านเรานั้น การเปลือยอกไม่ใช่สิ่งที่สามารถกระทำกันได้ในที่สาธารณะ และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็การถกเถียงเรื่องการโนบราไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นสำคัญ

แต่สิ่งที่ผู้หญิงหลายคนต้องการสื่อเรื่องโนบรา คือการออกจากบ้านโดยไม่ใส่เสื้อชั้นในได้อย่างเสรีโดยไม่รู้สึกว่าเป็นความผิด เพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่พึงกระทำได้โดยไม่เดือดร้อนใคร ตราบใดที่ยังอยู่ในขอบเขตและกาลเทศะที่เหมาะสม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook