ถ้าลูกยังเล็ก 2-3 ขวบ “ลงโทษ” อย่างไรให้ได้ผล โดยไม่ต้องตี

ถ้าลูกยังเล็ก 2-3 ขวบ “ลงโทษ” อย่างไรให้ได้ผล โดยไม่ต้องตี

ถ้าลูกยังเล็ก 2-3 ขวบ “ลงโทษ” อย่างไรให้ได้ผล โดยไม่ต้องตี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีการลงโทษเด็กด้วยการ “ตี” ไม่ว่าจะตีเบา ตีแรง ตีก้น ล้วนแต่เป็นการใช้ความรุนแรงที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูก แต่กลับยิ่งทำให้ลูกต่อต้าน และอาจจะมีผลกับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูกในอนาคตได้ ฉะนั้น วันนี้ HappyMom.Life จะมาเคลียร์กันว่า ถ้าลูกดื้ออย่างไม่มีเหตุผล หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่สามารถลงโทษลูกแบบไหนได้บ้าง ที่เป็นการสอนให้เขารู้ว่าสิ่งที่เขาทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงควบคุมการกระทำความผิดเล็กๆ น้อยๆ ของเขา

เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ไม่มีเหตุผลเลย ที่จะลงโทษลูก

ไม่มีเหตุผลอะไรเลย ที่จะลงโทษลูกที่มีอายุอยู่ในช่วง 1-3 ขวบ เพราะลูกในวัยเตาะแตะมีโอกาสน้อยมากที่จะทำสิ่งใดที่สมควรได้รับมากกว่าการลงโทษเพียงเล็กน้อย ฉะนั้น หากคุณพ่อคุณแม่จะทำโทษลูก จะต้องระลึกไว้เสมอว่า การลงโทษนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น  

  • เพื่อให้ได้ผล หากลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ดี การลงโทษควรทำในทันที อย่าเลือนเวลาออกไป ไม่อย่างนั้น การเชื่อมโยงกันระหว่างการกระทำไม่ดีกับผลของพฤติกรรมจะหายไปจากความคิดของเด็ก ซึ่งจะทำให้ลูกไม่เข้าใจว่าเขาทำผิดอะไร ทำไมถึงถูกทำโทษ
  • ความรุนแรงของโทษ ต้องได้สัดส่วนกับการกระทำผิด
  • อย่าขู่ที่จะทิ้งเด็กแล้วเดินหนีไปเด็ดขาด ไม่เพียงแต่จะทำให้ลูกอึดอัด ไม่เข้าใจ แต่ยังทำให้พ่อแม่ทำผิดคำพูดด้วย 

 

 

วิธีการลงโทษ แบบไม่ต้อง “ตี”

1. งดแสดงความรัก ลูกต้องการความรักและการยอมรับจากคุณที่สุด และเช่นกัน ลูกจะไม่มีความสุขถ้าถูกเพิกเฉย ซึ่งคุณสามารถลงโทษลูกด้วยวิธีนี้ได้ อาจจะเป็นเวลาสั้นๆ 30-60 วิ และอธิบายสั้นๆ ให้ลูกรู้ว่าคุณไม่สบายใจกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูก เช่น “เราไม่ตีคนอื่น” เป็นต้น

2. ขึ้นเสียง ทำเสียงแข็ง แต่ไม่ควรใช้บ่อยเกินไปและควรทำในยามฉุกเฉินเท่านั้น ไม่อย่างนั้น เสียงแข็งของคุณที่ลูกเคยเชื่อฟัง จะถูกลดทอนความขลังลงไป และหลังจากทำเสียงแข็งต้องพยายามไม่โกรธนาน เพราะธรรมชาติของเด็กวัยเตาะแตะ จิตใจของเขาจะกลับสู่ภาวะปกติภายในไม่กี่นาที

3. ริบสิทธิพิเศษหรือของเล่น ควรบอกลูกวัยเตาะแตะก่อนว่า เขาต้องหยุดพฤติกรรมไม่ดี และต้องบอกว่าจะลงโทษเขาอย่างไร เช่น “ถ้าลูกไม่หยุดปาของเล่น ลูกจะไม่ได้ของเล่นอีก” “เพราะลูกแบ่งของเล่นคนอื่นไม่ได้ ก็จะไม่ได้เล่นทั้งคู่” สิ่งสำคัญคือ “ขู่” แล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องรักษาคำพูดด้วย ไม่อย่างนั้น ลูกจะเรียนรู้ว่าคุณไม่ได้ปฎิบัติจริง เขาก็จะทำอีกหรือมีพฤติกรรมไม่ดีบ่อยๆ 

**อย่าพยายามขู่ทำโทษที่ใหญ่ขึ้น เช่น “ถ้าลูกไม่หยุด ลูกจะไม่ได้ไปเซเว่นวันนี้” แต่ลูกยังไม่หยุด “หยุดเดี๋ยวนี้ ถ้ายังไม่หยุดอีก จะไม่ได้ไปเซเว่นทั้งอาทิตย์” แบบนี้ เป็นการกำหนดความผิดที่ใหญ่เกินไปสำหรับเด็ก

4. ขอเวลานอก เทคนิคนี้ได้ผลที่สุดกับเด็กอายุ 2 ขวบ เริ่มจากเตือนก่อนว่าพฤติกรรมไม่ดีใดบ้างที่จะส่งผลต่อ “เวลานอก” เมื่อเกิดการกระทำนั้นขึ้น ลูกต้องไปนั่งเก้าอี้เด็กซน หรือ ไปยังห้องของเขาทันที เวลานอกควรสั้นและเชื่อมโยงกับความผิด เช่น “ลูกกลับมาเล่นได้เมื่อสงบลงแล้ว”

นอกจากนี้ การตีก้นเพื่อลงโทษ สำหรับเด็กเล็กแล้ว กุมารแพทย์ ก็ไม่แนะนำให้ทำอีกต่อไป เพราะถ้าหากสามารถเลือกวิธีอื่นได้ ก็ควรเลี่ยงการทำโทษด้วยการตี เพราะแม้ว่าจะตีก้นเบาๆ ก็เป็นการใช้ความรุนแรงควบคุมความผิดเล็กๆ น้อยๆ ของลูก ที่ไม่ส่งผลดีต่อลูกทั้งสิ้น และยังทำให้คุณพ่อคุณแม่เองรู้สึกผิดไปด้วยเมื่อต้องลงโทษลูกโดยการ “ตี”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook