วัยเกิน 35ปี ตั้งครรภ์เสี่ยงลูกพิการ

วัยเกิน 35ปี ตั้งครรภ์เสี่ยงลูกพิการ

วัยเกิน 35ปี ตั้งครรภ์เสี่ยงลูกพิการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กล่าวในการประชุมวิชาการครั้งที่ 4 ประจำปี 2555 ""โครงการป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย"" ว่า ปัจจุบันมีทารกพิการแต่กำเนิดทั่วโลกกว่า 8 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีทารกแรกเกิด 800,000 คนต่อปี พบพิการแต่กำเนิดร้อยละ 3-5 หรือ 24,000-40,000 คนต่อปี

"ความพิการแต่กำเนิดมีหลายภาวะ แต่ส่วนใหญ่จะพบ 5 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มอาการดาวน์ พบ 1 ต่อ 1,000 ราย 2.กลุ่มหลอดประสาทไม่ปิด พบ 1 ต่อ 800 ราย 3.กลุ่มปากแหว่งเพดานโหว่ พบ 1 ต่อ 1,000 ราย 4.กลุ่มแขนขาพิการแต่กำเนิด พบ 1 ต่อ 1,000 ราย และ 5.กลุ่มกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์ (Duchenne muscular dystrophy: DMD) พบ 1 ต่อ 10,000 ราย ซึ่งสาเหตุครึ่งหนึ่งมาจากพันธุกรรม นอกนั้นมาจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น บุหรี่ เหล้า เพศสัมพันธ์ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อจากเพศสัมพันธ์ย่อมมีโอกาสลูกพิการแต่กำเนิด ขณะเดียวกันหากตั้งครรภ์อายุมากก็มีโอกาสเสี่ยงด้วย โดยอายุที่เหมาะสมในการตั้งครรภ์ของเพศหญิงคือ 25-35 ปี หากตั้งครรภ์อายุน้อยก็มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดอีก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี เพียงแต่ต้องรู้จักดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และหมั่นตรวจครรภ์อย่างต่อเนื่อง" นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการฯกล่าว

ปัญหาของประเทศไทยคือ กลุ่มเด็กพิการแต่กำเนิดยังไม่มีตัวเลขชัดเจน เนื่องจากไม่มีระบบคัดกรอง หรือจดทะเบียนผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ แต่ล่าสุดนักวิชาการโรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ได้จัดทำโครงการป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดใน 5 กลุ่มโรค โดยทำคู่มือปฏิบัติการระดับชุมชน และระดับโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook