เกร็ดเล็กๆ ที่ทำให้คุณดู Everest สนุกขึ้นอีกเป็นกอง

เกร็ดเล็กๆ ที่ทำให้คุณดู Everest สนุกขึ้นอีกเป็นกอง

เกร็ดเล็กๆ ที่ทำให้คุณดู Everest สนุกขึ้นอีกเป็นกอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

maxresdefault (1)

เชื่อว่าหลายๆคน คงได้ไปดูมาแล้ว ยิ่งถ้าเป็นนักเดินทางด้วยแล้ว ห้ามพลาดอย่างเด็ดขาด

ยิ่งความอลังการของฉากแล้ว คะแนนเต็มเท่าไรก็เทหมดหน้าตักแน่นอน

แต่ด้วยความที่เรื่องดำเนินค่อนข้างเร็วมาก คนที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่แถวนี้ หรือไม่เคยไปเนปาลมาก่อน อาจจะงงๆได้เล็กน้อย

ผมจึงขอทำเกร็ดเล็กๆ เอาไว้ให้อ่าน จะได้เข้าใจ และสนุกกับหนังเรื่องนี้มากขึ้นนะครับ

ความสูงของยอด Everest ที่วัดจาก GPS เป๊ะๆเลยคือ 8,848 เมตรหรือ 29,029 ฟุต

ด้วยความสูงระดับเดียวกับเพดานบินของเครื่องบินพาณิชย์ มันจึงทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ๆมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างแน่นอนครับ

everest-movie-700x372

มีคำ 2 ครับที่อยากให้รู้ครับ ก่อนจะดูหนังเรื่องนี้ จะได้เข้าใจถึงปูมหลังของตัวละครแต่คนละมากขึ้น

The Seven Summits :

ยอดเขาที่สูงที่สุดใน 7 ทวีป ทั่วโลก ไล่ตั้งแต่ เอเชีย อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ แอฟริกา ยุโรป แอนตาร์คติค ออสเตรเลีย

7summits_v2

The Eight-Thousanders : 

ยอดเขาที่มีความสุขเกิน 8000 เมตร จำนวน 14 ยอดที่มีอยู่บนโลกใบนี้ จัดว่าเป็นยอด Death zone ทั้งหมดครับ

2000px-Comparison_of_highest_mountains.svg

หลังจากที่เข้าใจแล้ว เราก็มาดูตัวละครแต่ละตัวกัน ก็จะเห็นได้เลยว่า กว่าที่พวกเขาจะมาถึง Everest นั้น พวกเขาไปบู๊ ไปพิชิต ที่ไหนกันมาก่อนแล้ว

ตัวละครสำคัญมากๆ

Rob Hall

Rob Hall

พระเอกของเรื่อง ผู้ก่อตั้ง Adventure Consultants หัวหน้าทีมพาคณะปีนเขาในครั้งนี้

ประสบการณ์โชกโชน พิชิต Seven summits มาครบแล้วทั่วโลก และพิชิต The Eight-Thousanders ไปอีก 6 ยอดจากจำนวน 14 ยอด

และในปี 1996 ได้บันทึกไว้ว่าเป็นคนที่ไม่ใช่ชาวเชอร์ปาที่ขึ้นยอดเอเวอร์เรสต์มากที่สุดในโลกคือ 5 ครั้ง

เรียกว่าประสบการณ์เหลือเฟือจนต้องมาแบ่งบันคนรอบข้างจริงๆ

Scott Fischer

Scott

พระรองของเรื่อง ผู้ก่อตั้ง Mountain Madness อีกหนึ่งทีมที่จะขึ้นไปพิชิตยอดเขา Everest ในครั้งนี้เช่นเดียวกัน

นายคนนี้ก็จัดว่าเป็นอีกเทพของนักปีนเขา เพราะปีน Everest, K2, Lhotse, Kilimanjaro มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยที่ไป Everest, K2  และ Lhotseโดยไม่ใช้ออกซิเจนซะด้วย

ซึ่งในการปีน K2 นั้น Fischer ปีนคู่กับ Ed Viesturs ซึ่ง Ed เนี่ยก็มาปีน Everest ในปี 1996 ด้วยแต่เป็นทีม IMAX มาถ่ายหนัง

 

Anatoli Nikoliavich Boukreev

Anatoli

เป็นนักปีนสัญชาติคาซัคเขาคนเดียวที่มาจากฝั่งสหภาพโซเวียดเดิม

เขาพิชิต พิชิต The Eight-Thousanders ไปแล้ว 10 ยอดจากจำนวน 14 ยอด แต่ที่มากกว่านั้นคือ ไม่ได้ใช้ Oxygen เลยแม้แต่ในช่วง Death zone

จัดเป็นตัวโหดของฝั่งรัสเซียจริงๆครับ

Dogh Hansen

Doug

บุรุษไปรษณีย์ เคยขึ้นเกือบ summit ในปี 1995 มาแล้ว แต่ไปไม่ถึง

และในปี 1996 นี้เองเขาก็มาร่วมทีมกับ Rob Hall อีกครั้ง เพื่อทำตามความฝันให้สำเร็จ

Dr. Beck Weathers

BEck

หมอพยาธิวิทยา ที่มีการปีนเขาเป็นกิจกรรมที่เขารัก เขาผ่านยอดเขาสูงๆมาหลายแห่งทั่วโลกแล้ว และ Everest ก็คือเป้าที่รออยู่สำหรับเขา

Yasuko Namba

Yasuko

หญิงชาวญี่ปุ่นที่พิชิต The Seven Summits มา 6 ยอดแล้ว เหลือ Everest เป็นที่สุดท้าย

และถ้าเธอทำได้ เธอจะกลายเป็นคนที่ 2 ที่พิชิต The Seven Summits สำเร็จ (คนแรกคือ Junko Tabei)

และยังจะกลายเจ้าของสถิติโลกคือผู้หญิงที่อายุมากที่สุดที่ขึ้น Everest ได้ด้วยอายุ 46 ปีอีกด้วยครับ

Ang Dorjee Sherpa

Ang Dorjee

หัวหน้าทีมไกด์ชาวเชอร์ปาของ Adventure consultants ร่วมงานกับ Rob Hall มาหลายสนาม

เขาขึ้นยอด Everest มาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งนี้เขากลับมาอีกครั้งเพื่อจะพานักปีนเขาที่เหลือให้ไปถึงยอดให้ได้


 

กว่าจะไปถึงยอดเขาทำอะไรกันบ้าง

ต่อมาในหนัง เรื่องดำเนินค่อนข้างเร็วมาก จะเห็นว่ามี base camp, camp 1, camp 2, camp 3, camp 4, Hilary step, South summit มันคืออะไรกัน ทำไม่ต้องขึ้นๆลง

คำตอบ เนื่องจากความสูงที่ระดับมากกว่า 3000 เมตรขึ้น ไม่ใช่พื้นที่ๆมนุษย์ทั่วไปอยู่ ยกเว้นแต่คนเชอร์ปาที่เขาเป็นคนพิเศษของที่นี่

การเริ่มต้น ทุกๆคนจะต้องมาเริ่มต้นที่ Everest base camp (EBC) กันก่อน

ทีนี้ ที่เราเห็นเขาขึ้นๆลง ทำไมไปไม่ถึงยอดซักที เหตุผลคือเรื่อง “Acclimatization” ครับ

Acclimatization คือการที่เราให้เวลาร่างกายปรับตัวเข้ากับความสูงที่เปลี่ยนไป โดยมีหลักการที่ต้องทำง่ายๆขึ้น ขึ้นไปสูงก่อนแล้วก็ลงมาปรับตัวที่ต่ำกว่า แล้วก็ขึ้นไปยังที่เดิมแต่สูงขึ้น ทำซ้ำไปซ้ำมาครับ จนร่างกายเริ่มปรับตัว ปรับสรีรวิทยาของระบบต่างในร่างกายครับ

อันนี้อาจจะเป็นตัวอย่างคร่าวๆ สำหรับการทำ Acclimatization

วันที่ 1-6 : Everest base camp

วันที่ 7-8 : Everest base camp > Camp 1 > Everest base camp

วันที่ 11-13 : Everest base camp > Camp 2 > Everest base camp

วันที่ 17 : Everest base camp > Camp 2

วันที่ 19 : Camp 2 > Camp 3

วันที่ 20 : Camp 3 > Camp 2 > Base camp

วันที่ 25-30 : Base camp > Camp 1 > Camp 2 > Camp 3 > ยอดเขา

ลองดูวีดีโอนี้แล้ว อาจจะเห็นภาพมากขึ้นครับ ว่านักปีนเขาทำกันอย่างไร

 

 

credit : Alan Arnette https://www.youtube.com/watch?t=102&v=diQtFPbBFCw

จากในภาพยนตร์ เราจะเห็นว่าทุกทีม ต้องการวันขึ้นยอดวันเดียวกันที่ 10 พฤษภาคม หมด ดังนั้นทุกคนก็ต้องไปออกแบบแผนการเดินขึ้นกันเอาเองครับว่าจะแวะพักอย่างไร ที่ไหนกี่วัน ไรแบบนี้

สถานที่สำคัญในเรื่อง

everest-graphic-620

กว่าจะขึ้นไปถึงยอด Everest ได้ ต้องผ่านอะไรกันบ้าง ตามมาดูกันเลย เนื่องจากในเรื่องไม่ได้ลงรายละเอียดสถานที่ไว้เลย สำหรับคนที่ไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับการขึ้นยอด Everest อาจจะงงเป็นไก่ตาแตกได้ครับถึงแม้สุดท้ายจะดูเข้าใจในตอนจบก็ตามที

Everest base camp (5400 เมตร/17700 ฟุต)

ฐานทัพของกองทัพนักปีนเขา ผู้จัดการทีมต่างๆ แพทย์ประจำทีมก็จะอยู่กันที่ตรงนี้ เป็นพื้นที่ตุนเสบียงสำหรับการผลัดเปลี่ยน ในช่วงฤดูของการขึ้นยอดเขา พื้นที่ลานกว้างใหญ่แห่งนี้เป็นที่ชุมนุมของผู้ท้าทายความฝันบนความเสี่ยงแห่งความตายจากทั่วทุกมุมโลก

จากในหนังเราจะเห็นผู้จัดการทีม Helen และคุณหมอ Caroline จะคอย standby อยู่ที่นี่ คอยติดต่อส่งข่าวสารกับโลกภายนอก และรักษาคนเจ็บที่ถูกนำตัวกลับมา

Khumbu Icefall (5500-6100 เมตร/18000-20000 ฟุต)

maxresdefault

หนึ่งในพื้นที่ๆน่ากลัวที่สุดของการพิชิตยอด มันคืออุปสรรคแรกของการผ่านไปยัง camp 1 ก้อนน้ำแข็งที่เปลี่ยนรูปร่างอยู่ตลอดเวลาร่วมกับความชันในการปีนป่ายขั้นสูงสุด ทำให้ไม่มีเส้นทางที่แน่นอน บางครั้งไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการขึงสะพานเพื่อข้ามผ่านหุบที่มองไม่เห็นเหว การไม่ปฏิบัติตามกฎนั่นอาจหมายถึงชีวิต

ล่าสุดเดือนเมษายน 2014 นักปีนเขา 16 คนพึ่งทิ้งชีวิตของพวกเขาไว้ที่นี่

ในปัจจุบันมีข่าวว่าด้วยความอันตรายทำให้ทางการเนปาลกำลังจะปิดเส้นทางที่ผ่าน Khumbu Icefall แต่ให้ไปเดินทางผ่านธารน้ำแข็งด้านบนที่อาจจะปลอดภัยกว่าแต่กินเวลาการเดินทางมากกว่าแทน

thumbnail_22102

จากในหนัง เราจะเห็นฉากที่เขาทำสะพานกันแล้ว Beck กำลังจะพยายามเดินบนสะพานที่ขึงด้วยเชือก แล้วสุดท้ายพลัดตกลงไปแต่โชคดีที่เกาะไว้ทัน Rob จึงเข้ามาช่วยได้ทันเวลาพอดี

Camp 1 (5943 เมตร/19500 ฟุต)

landscape-1442863457-everest

พื้นที่ลานกว้างขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่สำหรับทำ Acclamatization ความอันตรายเริ่มย่างกรายมาทุกฝีเก้า กลุ่มอาการของ Mountain sickness จะเริ่มมาหลอกหลอนสำหรับผู้คนที่โชคร้าย การตั้งเต็นท์ตรงนี้ก็คือการปักเสาอยู่บนก้อนน้ำแข็งที่เปลี่ยนรูปร่างตลอดเวลา เวลานอนต้องคอยฟังเสียงหิมะ เสียงลมอยู่เสมอ เพราะถ้าเกิดแล้วเราไม่ทันป้องกัน นั่นอาจจะหมายถึงวินาทีสุดท้ายของนักปีนเขาคนนั้น

จากในหนัง จะแสดงเพียงแค่ฉากสั้นๆของทีมนักปีนเขาที่เดินทางผ่านไป

Camp (6492 เมตร/21300 ฟุต)

IMG00022

หลังจากผ่านการเดินทางอย่างทรหดที่ Camp 1 มาได้ จุดนี้คือจุดที่เราจะพบกับตีนของ Lhotse’wall (ยอดเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก) จุดนี้ก็เป็น camp เพื่อเอาไว้ทำ acclimatization เช่นกัน จุดนี้เราจะมาอยู่เหนือมวลเมฆแล้วครับ บรรยากาศมันจึงโคตรอลังการแต่อันตรายอย่างสุดขีด

Camp (6800 เมตร/22300 ฟุต)

เป็นจุดที่อากาศเริ่มเบาบางอย่างมากแล้ว นักปีนเขาโดยทั่วไปที่ฝึกร่างกายมาดี จะเริ่มใช้ Oxygen ที่เตรียมมากันที่ตรงนี้

Camp (8000 เมตร/26000 ฟุต)

home_poster

ยินดีต้อนรับผู้ที่ท้าทายความกล้าทุกคน ตอนนี้เราได้เข้ากันสู่ Death zone กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยปริมาณ Oxygen ในอากาศที่ลดลงเหลือเพียง 33% เมื่อเทียบกับที่น้ำทะเล ระบบขับถ่ายเริ่มไม่ทำงาน ร่างกายเอาพลังงานที่สะสมเดิมมาใช้มากกว่าที่จะเสียพลังงานไปกับการย่อยของใหม่ ระบบต่างๆในร่างกายเริ่มงงว่าทำไมถึงพาร่างกายมาทรมานแบบนี้ สติสัมปชัญญะเริ่มเปลี่ยนไป ทุกๆวินาทีที่มีอะไรผิดพลาดนั่นอาจหมายถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

ตัว Camp 4 นี้ตั้งอยู่ตรงเนินระหว่างยอด Everest กับ Lhotse ที่เรียกว่า South Col ซึ่งมักจะเป็นที่โดนลมแรงถล่มเป็นประจำ นักปีนเขาจะใช้จุดนี้เป็นจุดพักสุดท้าย ก่อนจะพิชิตยอด Everest ในวันถัดมาจากในหนังจะเห็น Rob คุยกับ Helen ถึงสภาพอากาศที่กำลังจะเกิดขึ้น โดย Helen เตือนถึงความเสี่ยง แต่จากการประเมินโดย Rob จากสถานการณ์จริงแล้ว คิดว่าไปต่อได้ ทุกอย่างจึงดำเนินการต่อ

 

The Balcony (8412 เมตร/27300 ฟุต)

 5

นักปีนเขาจะเริ่มตื่นนอนกันตั้งแต่เที่ยงคืน เพื่อเริ่มออกเดินทางกันตั้งแต่ตีหนึ่งหรือตีสอง ต้องรีบให้เร็วที่สุด แถมยังต้องเช็คอากาศอย่างทุกๆวินาที สภาพอากาศด้านบนนั้นถ้าคำนวณพลาดนั่นคืออันตรายแก่ชีวิต

เมื่อออกเดินทางจาก Camp 4 หรือ South Col แล้ว พวกเขาจะมาถึง The Balcony

จากในเรื่องเราจะเห็น Beck มาหยุดที่จุดนี้ ไปต่อไม่ไหวแล้ว

Southeast Ridge

IMG_7080

เมื่อมาถึง The Balcony พวกเขาก็ต้องปีนป่ายกันต่อไปจนถึง South summit ความชันระดับเทพ มากกว่า 60 องศา

จากในหนังตรงนี้คือจุดที่เชือกผูกหายไป จนทีมนักปีนเขาต้องมาผูกกันใหม่

Hillary step

อุปสรรคสุดท้ายก่อนจะขึ้นพิชิตยอด ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ผู้พิชิตยอดคนแรก เซอร์ เอ็ดมันด์ ฮิลลารี่

4655817722_1d07f917bc_b

Credit : https://www.flickr.com/photos/radson/4655817722

Everest (8848 เมตร/29029 ฟุต)

 everest

เห็นบรรยากาศสวยๆแบบนี้ แต่สภาพอากาศคือปางตายนะครับ อุณหภูมิตรงยอดนี่เฉลี่ย -30 องศาเซลเซียสนะครับ แต่ในหน้าร้อนอาจจะร้อนกว่านี้ได้บ้าง แต่ถ้าเป็นตอนกลางคืนก็อาจจะถึง -60 องศาเซลเซียสเลยก็ได้ครับ

และตรงช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมนี่ เป็นช่วงที่หมดหน้าแล้ว และมรสุมลูกใหม่ยังมาไม่ถึง มันจึงกลายเป็นเดือนที่คึกคักที่สุด อย่างที่เห็นกันในหนัง มีทีมมาปีนเขาแน่นเอี๊ยดเต็มไปหมดครับ

โดยปกตินักปีนเขาจะมาให้ถึงให้เร็วที่สุด แล้วมาฉลองกันช่วงสั้นๆ บนยอดที่มีพื้นที่ราวๆ 30 ตารางฟุต และรีบกลับลงไปโดยเร็วที่สุด เพราะตอนช่วงลงจากยอดไปที่ Camp 4 เป็นช่วงที่อันตรายที่สุด เพราะเรามักจะใช้พลังงานทุกอย่างไปกับขาขึ้นจนไม่ได้เผื่อพลังงานและ oxygen สำหรับขากลับเอาไว้

3

จากในหนัง ทีมของ Rob มาถึงที่ยอดช้ากว่าที่กำหนดไว้เยอะ และการที่ Rob รอ Doug Hansen ทำให้แผนของเขายิ่งช้ากว่าเดิมไปมาก และในที่สุดเขาก็ลงไปยังด้านล่างไม่ทันก่อนที่พายุหิมะลูกใหญ่จะมาถล่มเขา ณ ตรงนั้น

 jake-gyllenhaal-and-josh-brolin-facing-deadly-storm-in-first-everest-trailer

South summit (8686 เมตร/28500 ฟุต)

จุดที่พระเอก Rob Hall พยายามใช้พลังกายเฮือกสุดท้ายในชีวิตเพื่อดิ้นรนหนีความตาย

everest5

ที่เห็นเขาป่วยๆในหนังกัน เขาเป็นอะไรกันเหรอ

c_mackenzie

นอกจากจะยิ่งสูง ยิ่งหนาวแล้ว ยิ่งสูง ยิ่งหายใจไม่ออกด้วยครับ

คนไทยเราอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ไม่เคยเข้าใจ

ที่พื้นที่ความสูงตั้งแต่ base camp ขึ้นไป จะมี oxygen ในอากาศแค่ประมาณ 55% ของระดับน้ำทะเลเท่านั้น

อะไรที่คุณทำแล้วไม่เหนื่อยที่ประเทศไทย แต่พออยู่ที่นั่นแค่เดิน 100 เมตรก็เหนื่อยแล้วครับ

แล้วที่แถวๆยอดๆ ที่เขาตายๆกันละ มี oxygen ในอากาศเท่าไร คำตอบคือ 33% เท่านั้นเองครับ

อาการเริ่มต้นก็เรียกว่า “Mountain sickness” ปวดหัว นอนไม่หลับ ไม่สบายตัว ทานอาหารไม่ลง อาการอะไรก็ตามที่ผิดปกติถ้าเกิดบนภูเขาเราเรียกอาการนี้หมด

ทีนี้ถ้าเป็นรุนแรงขึ้น จะเรียกว่า “High altitude pulmonary edema” หรือภาวะน้ำท่วมปอดนั่นเองครับ หายใจเหนื่อยมากขึ้น ออกซิเจนไม่พอในเลือด จะมีอาการไอออกมาเป็นเสมหะสีชมพู

หรืออาจจะเป็น “High altitude pulmonary edema” หรือภาวะสมองบวม มีอาการสับสน สูญเสียการทรงตัว และหมดสติลงในที่สุด

Mountain sickness รักษาเพียงแค่ลงมาที่ต่ำกว่าและให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอก็จะดีขึ้นได้

แต่สองโรคหลังจำเป็นต้องได้รับสเตียรอยด์ ถ้าในหนังเราจะเห็น Scott Fisher ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าตัวในแคมป์ 3 ด้วยครับ

Everest-2015-poster

Rob hall ได้ถามคนทุกคนในทีมตอนที่พบกันครั้งแรกใน Kathmandu ว่า

"ทำไมพวกคุณต้องมาปีนยอดเขา Everest กันด้วย"

ถ้าเป็นคุณ จะตอบคำถามนี้ว่าอย่างไร


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook