ภาษามือ, พิธีการยาวนาน , แจกทองปลอม? : สีสันสุดแปลกและฮาไม่เหมือนใครของวงการมวยไทย

ภาษามือ, พิธีการยาวนาน , แจกทองปลอม? : สีสันสุดแปลกและฮาไม่เหมือนใครของวงการมวยไทย

ภาษามือ, พิธีการยาวนาน , แจกทองปลอม? : สีสันสุดแปลกและฮาไม่เหมือนใครของวงการมวยไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มวย” นับเป็นอีกหนึ่งกีฬายอดฮิตของคนไทยที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะนี่คือสิ่งที่อยู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน

ไม่ว่าจะเป็น มวยไทยอาชีพ หรือ มวยสากลอาชีพ ยามใดที่มี กำปั้นชาวไทยลงทำการแข่งขัน ผู้คนก็ให้ความสนใจ ไปชมถึงขอบเวที หรือเปิดทีวีดูผ่านการถ่ายทอดสด

เพราะนอกจากชั้นเชิง ความสามารถของนักมวยคนไทย ที่สร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างกับ นักชกชาติอื่นแล้วๆ

สีสันนอกสนาม และวัฒนธรรม บางอย่างของวงการมวยไทย ที่ไม่เหมือนใครในโลก ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ที่สร้างความแปลกตาให้กับผู้ชม โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ส่วนจะมีสีสันอะไรที่แปลกและฮาเข้าตากรรมการบ้าง เรารวบรวมมาไว้ที่นี่

นักมวยไม่ใช้ชื่อจริง
นี่อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกในสายตาคนไทย เพราะเป็นที่รู้กันดีกว่า นักมวยบ้านเรานั้น ทั้ง มวยไทยอาชีพ และมวยสากลอาชีพ จะไม่ใช้ชื่อจริงตามบัตรประชาชนของตนเองมาใช้ในการชก

15
แต่ถ้าเอาไปเทียบกับกีฬาอื่นที่มีการใช้ชื่อ นามสกุลจริง ของนักกีฬาคนนั้นๆ หรือในสายตาของชาวต่างชาติที่ดูมวยไทย การตั้งขึ้นมาใหม่ของ มวยไทย ก็จัดเป็นอะไรที่อันซีนเหมือนกัน

สำหรับการตั้งชื่อนั้น ไม่มีศาสตร์และสูตรสำเร็จในการตั้งชื่อ เพราะบางคนก็ตั้งให้ดูดุดันน่าเกรงขาม บางคนก็เอาใจสปอร์เซอร์ผู้สนับสนุน หรือแม้แต่บางคนก็เอาฮา เพื่อให้เป็นที่จดจำของแฟนหมัดมวย อย่างเช่น “ทนเอาหน่อย ต่อยใช้หนี้”, “หอยคัน ศิษย์รถจิ๊บ” หรือจะเป็น “ของดี มีคุณภาพ” ก็ถูกนำมาใช้เป็นชื่อนักมวยมาแล้ว

เอาง่ายๆ ไล่ชื่อมวยดังๆ พ.ศ.นี้ไม่ว่าจะเป็น  “ตะวันฉาย พีเคแสนชัยมวยไทยยิม”, “แสงมณี แสงมณีมวยไทยยิม”, “หนึ่งล้านเล็ก จิตรเมืองนนท์”, “รถถัง จิตรเมืองนน”, รุ่งกิจ ว.สังข์ประไพ หรือ “เสือคิม ศิษย์ ส.ท.แต๋ว”

เชื่อว่า เซียนมวยบางคน อาจยังไม่รู้จักชื่อจริงของนักชกเหล่านี้เลย แม้แต่นักชกมวยสากลระดับแชมป์โลก  ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ เขามีชื่อจริงว่า วิศักดิ์ศิลป์ วังเอก

ภาษามือ
หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า ผู้คนที่เข้าไปดูมวยในสนามเขาชูไม้ชูมืออะไรกัน บางคนก็ชูนิ้วโป้งขึ้น บ้างก็ชูนิ้วก้อย หรือไม่ก็ยกขึ้นมือขึ้นมาสองข้าง ซึ่งหากไม่เป็นคอหมัดคอมวย หรือไม่ได้ดูมวยเป็นชีวิตจิตใจ ก็แทบไม่มีทางรู้สัญญาณมือเหล่านี้ได้เลย เมื่อนี่คือ ภาษามือ ที่เป็นรู้กันของเหล่านักพนันมวยในสนาม

53623344_10214012209365239_77
ปฏิเสธไม่ได้ว่า มวยไทย มีเรื่องของการพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพื้นที่สนามมวยที่มีการขออนุญาตก็สามารถ “พนันมวย” ได้ นั้นก็ทำให้นักพนันไม่ว่าจะเป็น ขาประจำ ขาจร หรือเซียนมวย ต่างก็หลั่งไหลเข้าสู่สนาม

และด้วยผู้คนจำนวนที่รวมกันอยู่ในนั้น ทำให้การสื่อสารด้วยเสียงเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงได้เกิดเป็นภาษามือขึ้น เพื่อใช้ในเรื่องนี้โดยเฉพาะ

ไม่มีหลักฐานหรืออะไรบ่งบอกคนคิดสัญลักษณ์นี้ขึ้นมา รวมไปถึงไม่มีการสอนในหลักสูตรการศึกษาไหนๆ แต่นี่คืออีกหนึ่งสีสันข้างสนามวงการมวย ถึงขนาดมีหลายคนมักเตือน ขาจร ที่เข้าสู่สนามมวย ให้เก็บไม้เก็บมือให้มิดชิด อย่ายกมือสุ่มสี่สุ่มห้าเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจถูกเซียนมวยมาสะกิดให้จ่ายเงินหลังมวยจบได้

45851545_2183184885283624_414
ส่วนสัญลักษณ์มือแต่ละท่านั้นก็แสดงความหมายแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ต้องการต่อให้คว่ำมือ หากจะรองก็หงายมือ หรือแม้แต่จำนวนเงินในการพนันก็มีแสดงชัดเจน หลักพันชูนิ้วโป้ง หลักหมื่นชูกำปั้น ขณะที่ราคาต่อรองนั้นก็จะมีสัญลักษณ์อันเป็นที่รู้กัน ซึ่งคนนอกวงการแทบไม่มีทางรู้ได้เลย

ขอบคุณผู้มีอุปการคุณ
มวยดีๆ จะไม่มีทางเกิดขึ้นให้แฟนหมัดมวยได้รับชมได้เลย หากไม่มีสปอนเซอร์เข้ามาสนับสนุน ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้จัดว่าเป็น ผู้มีอุปการคุณ สำหรับการจัดการแข่งขันชกมวยในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นมวยไทย หรือมวยสากลอาชีพ

53766665_10214012190404765_54
“มวย” ไม่เหมือนกับ การจัดคอนเสิร์ต หรือรายการทีวีช่องต่างๆ ที่มักจะหาเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์เพียงไม่กี่เจ้า แต่เน้นเม็ดเงินก้อนโต ส่วน โปรโมเตอร์มวย เน้นปริมาณเสียมากกว่า เก็บจากตั้งแต่เจ้าราคาไม่สูงมาก แต่เน้นเอาให้ได้ทั่วถึงกันทุกคนทุกผลิตภัณฑ์

เมื่อ “ผู้มีอุปการคุณ” เสียเงินไปแล้ว ก็ต้องอยากได้อะไรกลับคืนไปบ้าง ไม่มีอะไรการันตีว่ายอดขายของสินค้านั้นๆจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเข้ามาสนับสนุนการแข่งขันชกมวย

แต่สิ่งที่ได้รับในทันทีก็คือผู้ชมการถ่ายทอดสดทั่วประเทศได้เห็น แบรนด์สินค้านั้นๆ แถมเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้เอาหน้าเอาตาออกสู่สายตาประชาชนอีกด้วย และที่แฟนหมัดมวยเห็นจนชินตาก็คือ ก่อนที่ระฆังจะดังขึ้นอันเป็นการส่งสัญญาณการชกบนเวที

กล้องถ่ายทอดสดจะต้องจับภาพมาที่ข้างเวที อันเป็นแหล่งรวมตัวของสปอนเซอร์รายต่างๆที่เตรียมยืนลุกขึ้น เมื่อ โฆษกสนามหรือผู้บรรยาย ประกาศเรียกชื่อเพื่อให้ยืนโชว์ตัวพร้อมกับถือป้ายโฆษณาแบรนด์สินค้าตัวเอง บางรายก็เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือบางครั้งก็จ้างใครที่ไหนไม่รู้มายืนจับป้าย

บางรายการเชิญผู้สนับสนุนขึ้นไปโชว์ตัวบนเวทีจนแทบไม่มีที่ยืน จนบางครั้งเทรนเนอร์หรือพี่เลี้ยงนักมวยถูกเบียดออกไปยืนนอกจอก็เคยมีมาแล้ว

พิธีการอันแสนยาวนาน
อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของวงการมวยบ้านเรา ก็คือ พิธีการอันแสนยาวนานก่อนที่จะมีการแข่งขันชกมวยเกิดขึ้น ที่ส่วนใหญ่เป็นการแข่งขันชกมวยสากลอาชีพ แม้ว่าปัจจุบันจะระยะเวลาจะย่นระยะมาบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังนานอยู่ดีเมื่อเทียบกับการชกในต่างประเทศ

34321080_2053484501586997_901
การแนะนำตัวนักมวย ไม่ได้นานอะไรมากนัก แต่ที่ทำให้เกิดความล่าช้า คือ การแนะนำตัวผู้สนับสนุน ผู้หลักผู้ใหญ่ต่างๆ ไหนจะมีการมอบของที่ระลึกให้กับนักมวยก่อนการชกอีก ที่โปรโมเตอร์ มักจะให้ผู้สนับสนุน และผู้ใหญ่ที่เชิญมา พาเหรดขึ้นมาโชว์ตัวออกสู่สายตาสาธารณชน

กว่าที่นักมวยจะได้ชกก็กินเวลาไป 10 นาที  หรือถ้ารายการไหนที่ผู้หลักผู้ใหญ่มากันเยอะๆ เวลาก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นักชกต่างชาติ เจอพิธีการแบบนี้เข้าไป บางรายก็ยืนรอเหงื่อแตกเสียพลังงานไปเยอะเลย หรือบางคนวอร์มร่างกายมาดีๆ มีช็อตไปดื้อๆเหมือนกัน

มอบทอง “ปลอม”
ว่ากันว่า ผู้สนับสนุนที่ต้องการเอาหน้าออกสื่อ มีทั้งของจริงและของปลอม ไม่ต่างไปจาก “ทองคำ” ที่นำมามอบให้กับนักมวยทั้งก่อนชกและหลังชกเสร็จ มีทั้งทองจริงและทองเก๊ นั้นก็ทำให้ยุคปัจจุบันไม่ค่อยมีการมอบทองกันมากมายเหมือนยุคก่อน

49203621_2261127974151935_293
มีข่าวออกตามหน้าหนังสือพิมพ์หลายครั้งว่า อดีตนักมวยดัง พอถึงเวลาตกอับต้องการใช้เงินก็มักจะนำทองที่ได้จากการชกมวยไปขาย แต่ก็ต้องช้ำใจเมื่อมารู้ตอนหลังว่า ทองที่ได้มานั้น มากกว่าครึ่งเป็นทองปลอม

แม้แต่บางครั้งก็มีการโกงน้ำหนักทองคำ เช่น บางทีมอบทอง 5 บาทแต่ให้โฆษกประกาศ 10 บาท คนที่ดูถ่ายทอดสดอยู่ทางบ้านอาจจะอิจฉานักมวยว่าต่อยครั้งหนึ่งได้รับทองมากมาย แต่ที่จริงแล้ว น้ำหนักไม่เป็นไปตามที่ออกสื่อ แถมยังต้องลุ้นว่าจะได้ทองเก๊หรือไม่

ตัวอย่างที่โดดดังที่สุดจนเป็นข่าวใหญ่โตตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็ในรายของ แสน.ส.เพลินจิต อดีตแชมเปี้ยนโลกชาวไทย นำทองคำที่เก็บสะสมมานานนับ 10 ปีมาขายเพื่อไปรักษาอาการป่วย แต่กลับพบว่าเป็นทองปลอมมากกว่าครึ่ง ซึ่งครั้งหนึ่ง เขาเคยได้รับทองคำจากการชกในไฟต์เดียวมากกว่า 500 บาท มาแล้ว

ซึ่งเคสแบบนี้ นึกไม่ออกจริงๆว่า เกิดขึ้นในวงการมวยที่ไหนได้บ้างในโลก… ฮ่าๆ

กลางแจ้งบ่ายสามบ่ายสี่
การแข่งขันชกมวยสากล ไม่ว่าจะสถาบันเล็ก-ใหญ่ โปรโมเตอร์ก็มักจะเลือกต่างจังหวัดเป็นสถานที่ชกเพื่อเรียกเสียงเชียร์จากแฟนหมัดมวย โดยมีเวทีมวยชั่วคราวเป็นสังเวียนการชก และเวลายอดฮิตสำหรับการชกก็คือช่วงเวลาประมาณ บ่าย 3 บ่าย 4 (15.00-16.00 น.)

000_14h5do
การที่เวทีมวยมีเพียงหลังคาผ้าใบปกคลุม อาจจะป้องกันแสงแดดได้บ้าง แต่ไม่สามารถป้องกันอุณหภูมิความร้อนได้ ยิ่งถ้าชกกันในฤดูร้อนเป็นสภาวะที่ทรมานไม่น้อย ลำพังนักมวยไทยก็พอทดได้

แต่นักชกต่างแดนที่เดินทางมานั้น หากปรับตัวไม่ได้ก็มีสิทธิ์แพ้ได้เลย ถึงขนาดแฟนหมัดมวยมักพูดกันติดตลกว่า ที่นักมวยไทยชนะส่วนหนึ่งก็มาจากคู่ต่อสู้ไม่ชินกับสภาพอากาศนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook