นักวิชาการห่วง หญิงไทยใส่ส่าหรีสีขาว ทำท่าเลียนแบบคังคุไบ อาจทำให้ชาวอินเดียเข้าใจผิด

นักวิชาการห่วง หญิงไทยใส่ส่าหรีสีขาว ทำท่าเลียนแบบคังคุไบ อาจทำให้ชาวอินเดียเข้าใจผิด

นักวิชาการห่วง หญิงไทยใส่ส่าหรีสีขาว ทำท่าเลียนแบบคังคุไบ อาจทำให้ชาวอินเดียเข้าใจผิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภายหลังภาพยนตร์ Gangubai Kathiawadi หรือ หญิงแกร่งแห่งมุมไบ ได้รับความนิยมบนโลกออนไลน์ของไทย เกิดกระแสการแต่งกายเลียนแบบ และโพสต์ท่าเชิญชวนลูกค้า ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความกังวลใจต่อนักวิชาการ

ล่าสุด ดร.ปิติ ศรีแสงนาม จากศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า

จากกระแส #คังคุไบ ด้วยความห่วงกังวล

GangubaiKathiawadi คือภาพยนตร์ที่จุดประกายให้หลายๆ คน เริ่มต้นดูภาพยนตร์อินเดีย หรือ หนัง #Bollywood ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่พวกเราชาวไทยจะได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจชาวอินเดียให้มากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้กับพวกเราชาวไทยอีกมากมาย เพราะเราจะเข้าใจมิติสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ รูปแบบชีวิต ของคนอินเดียที่เป็นจริงมากขึ้น และลบภาพจำเดิมๆ ประเภท ยากจน สกปรก ตัวเหม็น ขี้โกงออกไปได้ และมองเห็นโอกาสค้าขาย ลงทุน เรียน ทำงาน ทำมาหากิน

แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ปรัชญาสำคัญของการสร้างหนัง Bollywood คือ ภาพยนตร์คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำให้ชาวอินเดียได้หลีกลี้ออกไปจากโลกความเป็นจริงอันโหดร้าย เข้าสู่โลกแห่งภาพยนตร์ และนี่คือ หน้าที่ความรับผิดชอบทางสังคม (Social Responsibility) ของผู้กำกับ ในการที่จะต้องสร้างหนังให้สามารถเติมเต็มความสุขให้กับผู้ชมอย่างเต็มอิ่ม ทุกคนคาดหวังที่จะเดินออกจากโรงหนังด้วยความสุข และนั่นทำให้หนัง Bollywood เกือบทั้งหมดจบลงแบบ Happy Ending

หนังอินเดียจะไม่มีวันจบแบบ Avengers Infinity War ที่จบแบบหดหู่ ค้างเติ่ง คนหายไปครึ่งจักรวาล และคนดูห่อเหี่ยว ค้างคาใจ กลับไปบ้าน

#คังคุบาอี ก็เช่นกันภาพยนตร์ ต้องทำให้เรื่องมีสีสัน มี drama หลายๆ ประเด็นถูก romanticized จบแบบปลดปล่อยอารมณ์ ข้อความที่ทำให้คิด และการผลิต production ที่สวยงามยิ่งใหญ่ รวมทั้ง Easter eggs ด้านสังคมวัฒนธรรมจำนวนมากที่ผู้กำกับ Sanjay Leela Bhansali สอดแทรกเอาไว้

เหล่านี้ อาจจะทำให้พวกเราลืมไปว่า คังคุไบ คือ แม่เล้า ทำมาหากินโดยการค้ามนุษย์ และควบคุมองค์กรอาชญากรรมใต้ดินของย่านหนึ่งในมหานครมุมไบ เธอไม่ใช่นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และไม่ได้เป็นวีรสตรีในชีวิตจริง แบบในหนัง

ในอินเดียภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายในปี 2021 แน่นอนว่าเป็นภาพยนตร์ที่กระแสตอบรับดี แต่ก็ไม่ได้ถึงขนาดเกิดกระแสฟีเวอร์ในอินเดีย เหมือนในประเทศไทย คนอินเดียดูหนังแล้วก็รู้จักเธอมากยิ่งขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้ลบภาพออกไปได้ว่าเธอคือ โสเภณี

และสิ่งที่ผมห่วงกังวลมากที่สุดก็คือ ชั่วโมงนี้ในประเทศไทย ทั้งบุคคลธรรมดา บุคคลมีชื่อเสียง ต่างก็ออกมาใส่ส่าหรีสีขาว แตะ bindi สีแดงขนาดใหญ่กลางหน้าผาก และที่สำคัญคือออกมา post ท่าทางแบบเธอในการเชิญชวนลูกค้า ลงในสื่อ online มากมายเต็มไปหมด

ในอินเดียคนที่ใส่ส่าหรีขาว ที่มีนัยถึงความบริสุทธิ์มีอยู่ 3 กลุ่ม คือ นักการเมือง หญิงหม้ายที่รักษาพรหมจรรย์ และคนที่มีประวัติไม่ค่อยดี โดยนักการเมืองจะใช้ส่าหรีสีขาว ที่มีคลิบแถบสีประจำพรรคการเมือง ในขณะที่คนที่มีประวัติไม่ค่อยดี จะนิยมสีขาวบริสุทธิ์

ในขณะที่ท่าทางยกแขนชูหนึ่งข้าง อีกข้างกวักมือเชิญชวนลูกค้า และยืนแอ่น ยกขาเอียง point เท้า คือถ้าเชิญชวนเรียกลูกค้าของหญิงโสเภณีที่มีบรรยายในคัมภีร์ กามสูตร อายุกว่าพันปี

ดังนั้น หากกระแสยังเกิดต่อไป และกลับกลายเป็นว่าคนไทยที่ไปเที่ยวอินเดีย ซึ่งขณะนี้เขาเปิดประเทศให้ไปท่องเที่ยวได้แล้ว แล้วพวกเราก็ด้วยความสนุกและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จัดหาชุดส่าหรีสีขาวบริสุทธิ์ ไปยืนถ่ายภาพตามสถานที่ต่างๆ อย่างสนุกสนาน ด้วยท่าทางดังกล่าว ลองนึกดูนะครับ ว่าคนอินเดียที่พบเห็นแล้วเขาไม่รู้หรอกว่า นี่คือกระแสฟีเวอร์จากภาพยนตร์ แต่พวกเขาเข้าใจสัญญะเหล่านี้ในแบบที่มันเป็นจริงคือการเชิญชวนให้ซื้อบริการ อะไรจะเกิดขึ้น

ต้องอย่าลืมนะครับว่า ในอดีตภาพจำของสตรีเอเชียหลายๆ ประเทศก็มีภาพจำจากคนต่างชาติเรื่องการค้าบริการอยู่แล้ว ผมไม่อยากให้ภาพเหล่านี้บนสื่อออนไลน์ หรือในสถานการณ์จริงๆ ในสถานที่ท่องเที่ยว ยิ่งทำให้เกิดการตอกย้ำซ้ำทวนภาพจำที่เลวร้ายแบบนั้นลงไปอีก

ดังนั้นเราต้องรู้เท่าทันในสื่อที่เราเสพให้มากกว่านี้ครับ อย่าผิวเผิน สนุกคะนอง จนเกิดภาพจำผิดๆ กับหญิงไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook