ไม่ใช่คดีแรก! ผู้เชียวชาญโต้ทนายตั้ม "ซินโครตรอน" เชื่อถือได้ ลุงพลไม่ใช่หนูทดลอง

ไม่ใช่คดีแรก! ผู้เชียวชาญโต้ทนายตั้ม "ซินโครตรอน" เชื่อถือได้ ลุงพลไม่ใช่หนูทดลอง

ไม่ใช่คดีแรก! ผู้เชียวชาญโต้ทนายตั้ม "ซินโครตรอน" เชื่อถือได้ ลุงพลไม่ใช่หนูทดลอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผช.ผอ.สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ยืนยันคดีลุงพลไม่ใช่คดีแรก เชื่อถือได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ เคยไขคดีฆาตกรรมในต่างประเทศมาแล้ว

จากกรณีที่ นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม ได้โพสต์เฟซบุ๊กข้อความว่า "เครื่องซินโครตรอน ใช้บอกว่ามีอนุภาค หรือสารประกอบในเส้นผมได้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่เอามาใช้ระบุว่าเส้นผมนั้นเป็นของบุคคลใด (personal identification) โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คืออาจมีการใช้กว้างๆ ระดับเผ่าพันธุ์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน โดยอนุมานว่าน่าจะได้รับสารจากสิ่งแวดล้อมเดียวกัน เข้าใจว่าการทดสอบนั้นเขาใช้กันครับ แต่ไม่มีใครเขาใช้มาพิสูจน์หรือยืนยันอะไรกันแบบนี้ คดีนี้จึงเป็นครั้งแรกในโลกที่ใช้ระบุตัวบุคคล ลุงพลจึงเป็นหนูทดลองในเรื่องนี้! คำถามที่ถามไปคราวก่อน DNA ที่พบในเส้นผม ตำรวจยืนยันได้อย่างไรว่าเป็นของป้าแต๋น ณ เวลานี้ก็ยังไม่มีคำตอบ!!"

เพื่อความชัดเจน ทีมข่าวได้เดินทางไปพบกับ ผศ.ดร.ศุภกร รักใหม่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่ง ผศ.ดร.ศุภกร ได้เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ลักษณะของการตรวจด้วยแสงซินโครตรอน จะไม่เหมือนการตรวจดีเอ็นเอ จะเป็นการตรวจข้อมูลทางกายภาพอื่นๆ เพื่อนำไปประกอบในการสืบคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องมีข้อมูลหลากหลาย  โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสืบสวนว่าใครทำอะไรอยู่ตรงไหน เกิดอะไรได้ขึ้น จากนั้นจะนำข้อมูลในด้านต่างๆ มาประกอบจนได้ข้อสรุป แต่ข้อสรุปดังกล่าวจะถูกต้องและน่าเชื่อถือได้ขนาดไหนก็อยู่ที่ดุลยพินิจของศาล ทางสถาบันซินโครตรอน ก็มีหน้าที่ให้ข้อมูลส่วนหนึ่งที่จะนำประกอบในสำนวน

สำหรับสถาบันซินโครตรอนในประเทศไทย เคยได้ร่วมทำงานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพิสูจน์ข้อมูลต่างๆ หลายครั้ง แต่สำหรับ คดีน้องชมพู่ ถือเป็นคดีแรกที่มีการพิสูจน์เกี่ยวกับการที่มีผู้เสียชีวิต แต่การใช้เทคนิคซินโครตรอน ในการคลี่คลายคดีไม่ได้ใช้ในคดีนี้เป็นครั้งแรก ทั่วโลกมีการใช้เทคนิคซินโครตรอนในการคลี่คลายคดีหลายครั้ง อย่างเช่นคดีฆาตกรรมในประเทศญี่ปุ่นและประเทศออสเตรเลีย มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้เป็นปกติ เพียงแต่ไม่ได้มีการใช้บ่อย เนื่องจากบางคดีทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหลักฐานใช้ตรวจพิสูจน์ในห้องแล็บได้เองและมีข้อมูลเพียงพอแล้วก็ไม่ต้องไปใช้เทคโนโลยีซินโครตรอน

เหตุผลที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีซินโครตรอนบ่อยครั้ง เนื่องจากว่ามีความยุ่งยากและมีใช้กันเพียงไม่กี่เครื่อง และเครื่องซินโครตอนไม่ได้มีใช้ในทุกประเทศ มีใช้เพียงบางประเทศ และส่วนใหญ่มีประเทศละ 1 เครื่อง มีเพียงประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาที่มีหลายเครื่อง 

สำหรับการใช้ซินโครตอนจะมีคิวในการใช้ ถ้าเป็นเรื่องที่เร่งด่วน ประชาชนให้ความสนใจ หรือเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจร้องขอและเป็นประโยชน์กับประชาชน ทางสถาบันก็จะยอมลัดคิวให้ ส่วนมูลค่าของเครื่องซินโครตรอน ที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผศ.ดร.ศุภกร เปิดเผยว่ามีมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท มีขนาดเท่าสนามฟุตบอล โดยจะมีการสร้างเครื่องซินโครตรอนเพิ่มขึ้นอีก 1 เครื่อง ที่มีคุณภาพดีกว่านี้ และมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องนี้ ถึง 3 เท่าในพื้นที่ของจังหวัดระยอง โดยเครื่องซินโครตรอนที่กำลังจะสร้างขึ้นถือว่าเป็นเครื่องระดับแนวหน้าของโลก มีขีดความสามารถที่สูงกว่าสามารถดูโครงสร้างที่ซับซ้อนได้มากขึ้น 

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ ไม่ใช่คดีแรก! ผู้เชียวชาญโต้ทนายตั้ม "ซินโครตรอน" เชื่อถือได้ ลุงพลไม่ใช่หนูทดลอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook