ศาลฎีกายกฟ้อง "ชายชุดดำ" กรณีชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 หลังติดคุกกว่า 4 ปี

ศาลฎีกายกฟ้อง "ชายชุดดำ" กรณีชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 หลังติดคุกกว่า 4 ปี

ศาลฎีกายกฟ้อง "ชายชุดดำ" กรณีชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 หลังติดคุกกว่า 4 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง "คดีชายชุดดำ" กรณีชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 ชี้คำให้การพยานโจทก์น้ำหนักน้อย

ที่ห้องพิจารณา 916 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ คดีหมายเลขดำ อ.4022/2557 ที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กิตติศักดิ์ สุ่มศรี, ปรีชา อยู่เย็น, รณฤทธิ์ หรือนะ สุริชา, ชำนาญ หรือเล็ก ภาคีฉาย และ ปุนิกา ชูศรี เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธ เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 8 ทวิ 55, 72, 78 และข้อหาพาอาวุธปืนไปในเมือง ที่ชุมชน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2553 จำเลยทั้ง 5 กับพวกที่ยังหลบหนี และพวกที่ถึงแก่ความตายไปแล้ว ได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยร่วมกันพาอาวุธ เครื่องกระสุน และวัตถุระเบิด ที่สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินให้เกิดความเสียหายได้ อาทิ เครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม 79 ปืนเอ็ม 16 ปืนเอชเค 33 หรือ ปืนอาก้า

ซึ่งนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไปตามบริเวณแยกคอกวัว ถนนตะนาว ถนนประชาธิปไตย แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กทม. ซึ่งเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ทั้งในเวลาเกิดเหตุมีการชุมนุมกันของประชาชนจำนวนมาก ซึ่งวันเวลาเกิดเหตุ เจ้าพนักงานยึดได้อาวุธสงครามของกลาง กระทั่งวันที่ 11 ก.ย. 2557 เจ้าพนักงานติดตามจับกุมพวกจำเลยทั้ง 5 ส่งพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินคดีคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2560 พิพากษาว่า กิตติศักดิ์ จำเลยที่ 1 และปรีชา จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธ เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 8 ทวิ 55, 72,78 ให้จำคุกคนละ 8 ปี และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง ที่ชุมชน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกคนละ 2 ปี รวมจำคุกคนละ 10 ปี ส่วนจำเลยที่ 3-5 พิพากษายกฟ้อง

ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 ให้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุกจำเลยที่ 1-2 คนละ 10 ปี ยกฟ้องจำเลยที่ 3-5 แต่ให้ขังไว้ระหว่างฎีกา โดยศาลอ่านคำพิพากษาผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ให้กิตติศักดิ์ จำเลยที่ 1 ฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ส่วนจำเลยอื่นไม่ได้ยื่นฎีกา

พยานโจทก์น้ำหนักน้อยเห็นควรยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาบรรยายพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์-จำเลยนำสืบโดยละเอียด บางส่วนของคำพิพากษาอธิบายถึงบันทึกถ้อยคำให้การ ซึ่งมีลักษณะลอกเลียนกันมาเกือบเหมือนกันทุกถ้อยคำ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งบรรยายถึงพยานโจทก์ที่ระบุเห็นผู้ตะโกนด่าพยานจากรถตู้เป็นจำเลยที่ 1 ซึ่งปกติความสามารถในการจดจำบุคคลจะลดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่พยานเบิกความในคดีไต่สวนการตายของ "ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ" ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น พยานกลับจำตำหนิรูปพรรณของชายบนรถตู้ไม่ได้ ต่างกับที่เบิกความว่าเป็นจำเลยที่ 1 จึงมีน้ำหนักน้อย

พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงมีความสงสัยตามสมควร ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ให้ศาลอาญาออกหมายปล่อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook