ทายาทซัมซุง ไม่รอด! ศาลจำคุก 30 เดือน คดีติดสินบนอดีตประธานาธิบดี-เพื่อนสนิท

ทายาทซัมซุง ไม่รอด! ศาลจำคุก 30 เดือน คดีติดสินบนอดีตประธานาธิบดี-เพื่อนสนิท

ทายาทซัมซุง ไม่รอด! ศาลจำคุก 30 เดือน คดีติดสินบนอดีตประธานาธิบดี-เพื่อนสนิท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลฎีกากรุงโซลของเกาหลีใต้ พิพากษาจำคุก นายอี แจ-ยง ทายาทบริษัทซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ โค เป็นระยะเวลา 30 เดือน จากความผิดเกี่ยวกับการให้สินบนอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นางสาวพัก กึน-ฮเย

นอกจากนายอีแล้ว ผู้บริหารอีก 2 คนของซัมซุง คือ นายชเว จี-ซอง และนายจาง ชุง-กี ก็ถูกพิพากษาให้จำคุกเช่นเดียวกับนายอี

เดิมทีศาลฎีกากรุงโซลเคยพิพากษาจำคุกนายอีไปแล้วเมื่อปี 2560 เป็นระยะเวลา 5 ปี แต่เมื่อเดือน ก.พ. 2561 หรือถูกจำคุกไปเกือบ 1 ปี นายอีก็ถูกปล่อยตัวและได้รับการพักโทษเอาไว้

ต่อมาเมื่อปี 2562 ศาลฎีกากรุงโซลก็มีมติให้พิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง จนเป็นที่มาของคำตัดสินจำคุกล่าสุด

เอกสารของศาลระบุว่า นายอี วัย 52 ปี คนนี้ มอบม้าตัวหนึ่งและสินบนรูปแบบอื่นๆ ให้กับเพื่อนคนหนึ่งของนางสาวพัก อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เมื่อปี 2558 เพื่อแลกกับการอนุมัติให้กองทุนบำนาญ ที่รัฐบาลดูแลอยู่ ยินยอมให้บริษัทลูก 2 บริษัทในเครือซัมซุงควบรวมกิจการกัน ซึ่งจะทำให้นายอีมีสิทธิ์มีเสียงในการควบคุมซัมซุงมากขึ้น

ส่วนมูลค่าสินบนที่นายอีมอบให้กับนางสาวพักและเพื่อนสนิทนั้น เอกสารของศาลระบุว่าอยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านวอน (816 ล้านบาท)

คำพิพากษานี้มีขึ้นหลังจากศาลฎีกาสูงสุดเกาหลีใต้ตัดสินจำคุกนางสาวพักเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากข้อกล่าวหาหลายข้อกล่าวหา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการรับสินบนจากบริษัทซัมซุง

นอกจากคดีนี้แล้ว นายลียังมีอีกคดีหนึ่งที่ยังต้องต่อสู่ในศาล เกี่ยวกับการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำของบริษัท

การจำคุกนี้ ทำให้ซัมซุงขาดผู้นำที่ชัดเจนเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 4 ปี ซึ่งครั้งนี้ยังเกิดขึ้นในช่วงที่ซัมซุงกำลังพยายามอย่างหนักในการต่อสู้กับผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

นายอีขึ้นมาเป็นผู้นำของบริษัทในทางปฏิบัติ หลังจากพ่อของนายอี ซึ่งก็คือ นายอี กอน-ฮี มีอาการเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อปี 2557 และเพิ่งเสียชีวิตเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว

ซัมซุงเป็นอาณาจักรธุรกิจที่ใหญ่มาก เพราะมีตั้งแต่หน่วยงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นธุรกิจหลัก เรื่อยไปจนถึงธุรกิจสวนสนุกและชีวเวชภัณฑ์ ซึ่งการตัดสินใจเรื่องสำคัญทุกเรื่องจำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบของนายอี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook