เตือน กทม. เจอน้ำประปาเค็ม 10-18 ม.ค. ผู้ป่วยโรคไต หัวใจ ความดัน เบาหวาน เลี่ยงดื่ม

เตือน กทม. เจอน้ำประปาเค็ม 10-18 ม.ค. ผู้ป่วยโรคไต หัวใจ ความดัน เบาหวาน เลี่ยงดื่ม

เตือน กทม. เจอน้ำประปาเค็ม 10-18 ม.ค. ผู้ป่วยโรคไต หัวใจ ความดัน เบาหวาน เลี่ยงดื่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 เตือน กทม. เจอน้ำประปาเค็ม 10-18 ม.ค. ผู้ป่วยโรคไต หัวใจ ความดัน เบาหวาน เลี่ยงดื่ม

รายงานจากการประปานครหลวงแจ้งว่า เนื่องจากภัยแล้ง และน้ำทะเลที่หนุนสูง ในช่วงนี้จะทำให้น้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำประปามีความเค็ม และอาจทำให้น้ำประปาในพื้นที่ กทม.และพื้นที่ใกล้เคียงมีรสชาติเค็ม ระหว่างวันที่ 10 -18 ม.ค.นี้

โดยบางพื้นที่จะมีค่าความเค็มที่เกินมาตรฐาน ซึ่งโดยมากจะเป็นช่วงเวลากลางวัน โดยมีคำแนะนำว่า แม้น้ำประปายังบริโภคได้ แต่ผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในช่วงเวลาดังกล่าว

ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แนะนำวิธีการรับมือน้ำประปาเค็มไว้ว่า วิธีการที่ดีที่สุด คือ การติดตั้งเครื่องกรองน้ำแบบ อาร์โอ RO (reverse osmosis) ซึ่งเป็นเครื่องกรองน้ำที่มีความละเอียดสูง กรองน้ำด้วยระบบออสโมซิสผันกลับ จะลดเกลือแร่ต่างๆ ที่ปนมากับน้ำประปาและทำให้มีรสเค็มได้

ซึ่งผู้บริโภคอาจจะคุ้นเคยกับระบบ RO ที่ตู้กดน้ำดื่มแบบหยอดตังค์ แต่ความจริงแล้ว เครื่องกรองน้ำที่จำหน่ายแบบติดตั้งตามบ้าน ก็มีรุ่นที่เป็นระบบ RO นี้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบัน มีการพัฒนาแผ่นเยื่อกรองให้สามารถกรองน้ำได้เป็นจำนวนมากในแต่ละวันได้แล้ว

ทั้งนี้ การรับมือกับน้ำประปาเค็ม จึงไม่ใช่การนำน้ำไปต้ม เพราะยิ่งต้มจะยิ่งมีรสเค็มกว่าเดิม เนื่องจากเป็นการระเหยน้ำออกไปให้เกลือมากขึ้น

กรมอนามัย ได้เผยแพร่ข้อมูลไว้ว่า ความเค็มจากน้ำประปาอาจเพิ่มโซเดียมเข้าสู่ร่างกายต่อวันในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ แต่อาจจะส่งผลต่อกลุ่มเสี่ยงแก่ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ป่วยโรคทางสมอง ไต หัวใจ ความดันสูง เบาหวาน ผู้สูงอายุ เด็ก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook