ผวา! นักวิจัยฮ่องกงพบผู้ป่วยโควิด-19 ซ้ำเป็นคนแรกของโลก WHO เตือนอย่าเพิ่งรีบสรุป

ผวา! นักวิจัยฮ่องกงพบผู้ป่วยโควิด-19 ซ้ำเป็นคนแรกของโลก WHO เตือนอย่าเพิ่งรีบสรุป

ผวา! นักวิจัยฮ่องกงพบผู้ป่วยโควิด-19 ซ้ำเป็นคนแรกของโลก WHO เตือนอย่าเพิ่งรีบสรุป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยมหาวิทยาลัยฮ่องกง พบชายวัย 33 ปี ป่วยโรคโควิด-19 สองครั้งในปีนี้

- 26 มี.ค. พบการติดเชื้อรอบแรก ผู้ป่วยมีไข้ เจ็บคอ ไอ และปวดศีรษะ นาน 3 วัน ใช้เวลารักษาตัว 14 วัน

- 15 ส.ค. พบการติดเชื้อรอบสอง เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยซึ่งเป็นพนักงานไอที เดินทางกลับจากสเปนผ่านทางอังกฤษ ผลตรวจเชื้อที่ด่านคัดกรองสนามบินฮ่องกงให้ค่าเป็นบวก เจ้าหน้าที่จึงนำตัวส่งโรงพยาบาลอีกครั้ง แต่รอบนี้ไม่มีอาการ

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเรื่องนี้ นักวิจัยมหาวิทยาลัยฮ่องกงและโรงพยาบาลหลายแห่งในฮ่องกง วิเคราะห์ตัวอย่างที่เก็บจากคนไข้ 10 วัน หลังมีอาการจากติดเชื้อรอบแรกกับตัวอย่างที่เก็บจากคนไข้ 1 วันหลังเข้าโรงพยาบาลจากติดเชื้อรอบสอง ผลวิเคราะห์ทางพันธุกรรม พบว่า การติดเชื้อรอบแรกเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ SARS-CoV-2 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์จากสหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ ส่วนการติดเชื้อครั้งที่สองเป็นสายพันธุ์จากสวิตเซอร์แลนด์และอังกฤษ

ผลศึกษาที่จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Infectious Diseases ระบุว่า กรณีของชายฮ่องกงรายนี้สะท้อนว่า

1. การติดเชื้อซ้ำอาจเกิดขึ้นได้แม้เพิ่งหายป่วยจากติดเชื้อครั้งแรกไม่กี่เดือน เนื่องจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 อาจคงอยู่ในคนเหมือนกับไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคหวัดธรรมดา แม้ว่าคนป่วยจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือผ่านวัคซีนก็ตาม

2. คนที่เคยติดเชื้อไวรัสใหม่นี้แล้วยังควรได้รับวัคซีนอยู่ดี เมื่อถึงเวลาที่มีวัคซีนใช้ ทั้งยังควรปฏิบัติตนตามมาตรการคุมระบาดขั้นพื้นฐาน เช่น ใส่หน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่าง

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าควรศึกษาเพิ่มเติม อย่างเช่น ดร.มาเรีย ฟาน เคิร์กโฮฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของโครงการฉุกเฉินด้านสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ยังไม่ควรสรุปจากผู้ป่วยคนเดียว เนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสมแล้วกว่า 24 ล้านคน จำเป็นต้องศึกษาประเด็นนี้กับผู้ป่วยจำนวนมากและในช่วงเวลาหนึ่ง และจากประสบการณ์กับไวรัสโคโรนาอื่นๆ ในคน หรือ เมอร์ส และซาร์ส ก็เป็นที่รู้กันว่าร่างกายจะมีแอนติบอดี้ระยะหนึ่งก่อนหายไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook