สาธารณสุข แนะพ่อแม่เล่นกับลูกลดปัญหาสมาธิสั้น-โรคซึมเศร้า ยกระดับสติปัญญาเด็กไทย

สาธารณสุข แนะพ่อแม่เล่นกับลูกลดปัญหาสมาธิสั้น-โรคซึมเศร้า ยกระดับสติปัญญาเด็กไทย

สาธารณสุข แนะพ่อแม่เล่นกับลูกลดปัญหาสมาธิสั้น-โรคซึมเศร้า ยกระดับสติปัญญาเด็กไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (10 มกราคม 63) ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต และผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล ร่วมเปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 ที่สถาบันราชานุกูล พร้อมชมการแสดงความสามารถของเด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครอง และเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญากว่า 500 คน เข้าร่วมกิจกรรม

การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพี่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ความสำคัญในการเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยตนเอง

ทั้งนี้ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ระบุว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประชากรไทยทุกช่วงวัย เพื่อเป็นพลังต่อการเจริญเติบโตของประเทศ ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินการด้านพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เป็นช่วงแรกของชีวิตเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการมีนโยบายอย่างต่อเนื่อง พร้อมกำหนดให้การดำเนินการในด้านนี้ เป็นความรับผิดชอบในระดับเขตสุขภาพและจังหวัด ผ่านคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็ก (MCh Board) โดยไม่ได้กำหนดกิจกรรม แต่กำหนดเป็นเป้าหมายไว้ 2 ประการ คือ การลดอัตราการตายของมารดา ซึ่งเป็นไปตาม MDG (millennium development goal) และเด็กมีพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.8 และในปี 2563 นี้ กระทรวงสาธารณสุขยังคงดำเนินการต่อเนื่องในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็ก โดยการจัดระบบบริการอนามัยแม่และเด็กที่ได้มาตรฐานสากล และสร้างการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมคลอบคลุม ทั้งเด็กปกติ เด็กป่วย และเด็กด้อยโอกาส

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ กล่าวต่อว่า เมื่อเด็กมีความพร้อมทางพัฒนาการและสติปัญญา กับการได้รับการศึกษาที่ดี ก็จะมีโอกาสได้งานที่มีรายได้สูง มีโอกาสก้าวข้ามความยากจนได้สำเร็จ ซึ่งจะนำประเทศไทยบรรลุเป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติด้วย

สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมสุขภาพจิต เร่งยกระดับสติปัญญาเด็กไทย ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกแก่ศูนย์เด็กเล็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และครูโรงเรียนอนุบาล เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนและผลักดันการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ครบครอบคลุมทั้ง 77 จังหวด

ขณะที่ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวด้วยว่า กรมสุขภาพจิตได้มีการสำรวจระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) และระดับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็กไทยทุก 5 ปี โดยระดับสติปัญญาของเด็กไทยเพิ่มขึ้นจาก 95.82 จุดในปี 2554 เป็น 98.23 จุด ในปี 2559

“สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งเป้าหมายพัฒนาระดับ IQ เด็กไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ในปี 2564”

อย่างไรก็ตาม ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กไทย (EQ) ที่เป็นจุดต้องพัฒนา ได้แก่ ความมุ่งมั่นพยายาม การควบคุมอารมณ์ และการปรับตัวต่อปัญหา โดยในปี 2559 มีเด็กรอยละ 16.7 มีระดับอีคิวที่ต่ำกว่าปกติ

นอกจากนี้ นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวอีกว่า กรมสุขภาพจิตมีเจตนารมณ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนไทย 4.0 เพื่อเป็นพลังพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นคนมีลักษณะสติปัญญาดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดแง่บวก และคิดทำประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม (Creation, Positive, Response to Society : CPR) คือ คิดเป็น คิดดี คิดให้ และเป็นสุข มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กไทยให้มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง

ขณะเดียวกัน พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงแม้จะพบกับความล้มเหลว ก็ยังสามารถเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป และเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ อย่างมีความสุข สนุกกับชีวิต มีแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และแบ่งปันให้ผู้อื่นในสังคม

ด้าน แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า สถาบันราชานุกูล ได้พัฒนาคู่มือจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็กไทยคิดเป็น คิดดี คิดให้ ด้วยสายใยพันผูก ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้พัฒนาการเรียนรู้ของลูกผ่านการเล่นกับลูก โดยไม่จำเป็นต้องจัดหาของเล่น หรืออุปกรณ์การเล่นที่ราคาแพงหายาก

ดังนั้น ในวันนี้เป็นการเปิดเพจเฟซบุ๊กในชื่อ “ลูกเล่น by ราชานุกูล” (Facebook : ลูกเล่น by ราชานุกูล) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารแบบออนไลน์ของประชาชนกับทีมสหวิชาชีพผู้มีความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก โดยนำเสนอแนวทางการเล่นและการเลี้ยงดูลูกให้เป็นเด็กไทยแบบ “คิดเป็น คิดดี คิดให้” (CPR) ในรูปแบบคลิปวิดีโอที่สนุกสนานได้ความรู้ พร้อมเคล็ดลับจากกูรูพ่อแม่ที่น่าสนใจมาแลกเปลี่ยนกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook